Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32199
Title: การพัฒนาโมดูลชุดฝึกอบรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศตามลักษณะของกลุ่มผู้เรียนสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Development of the tailor- made training modules for enhancing information literacy for undergraduate students
Authors: นรีภัทร ผิวพอใช้
Advisors: อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์
สุชาติ ตันธนะเดชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Arunee.Ho@Chula.ac.th
Suchart.T@Chula.ac.th
Subjects: การรู้สารสนเทศ
สารสนเทศศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การสอนด้วยสื่อ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) วิเคราะห์การรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตในประเทศไทย 3) พัฒนาโมดูลชุดฝึกอบรม 4) ติดตามผลการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยคือ 1) นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 1,200 คน 2) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจการรู้สารสนเทศ แบบทดสอบการรู้สารสนเทศ โมดูลชุดฝึกอบรมการรู้สารสนเทศตามลักษณะของกลุ่มผู้เรียนสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มี 3 แบบ คือ เอกสารชุดฝึกอบรมเว็บไซต์ และซีดีรอม โดยทั้ง 3 แบบประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดประสงค์ การประเมินผลก่อนเรียน กิจกรรม การเรียนที่จัดตามจุดประสงค์ และการประเมินผลหลังเรียน เนื้อหาประกอบด้วย 6 โมดูล ตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศ ผู้วิจัยนำโมดูลชุดฝึกอบรมการรู้สารสนเทศไปใช้ เริ่มจากใช้แบบทดสอบการรู้สารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบกลุ่มมหาวิทยาลัย จำนวน 3 กลุ่ม ตามระดับการรู้สารสนเทศโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ด้วยการใช้สถิติทดสอบ F-test และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe) จำแนกกลุ่มผู้เรียนที่ทดลองใช้โมดูลชุดฝึกอบรมการรู้สารสนเทศด้วยคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ ใช้เอกสารชุดฝึกอบรม สำหรับผู้เรียนที่มีการรู้สารสนเทศระดับต่ำ เว็บไซต์และซีดีรอม สำหรับผู้เรียนที่มีการรู้สารสนเทศทุกระดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนการรู้สารสนเทศในประเทศไทยมีอยู่ 4 ประเภท ประเภทที่ 1 เป็นรายวิชาบังคับให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เรียนทุกคน ประเภทที่ 2 จัดเป็นรายวิชาบังคับในบางคณะประเภทที่ 3 จัดเป็นรายวิชาเลือกในบางคณะ และประเภทที่ 4 มอบหมายให้สำนักหอสมุดดำเนินการ ด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศในประเทศไทยจะเน้นทักษะการรู้สารสนเทศในบางมาตรฐานเท่านั้น มาตรฐานที่ไม่ได้นำมาสอนคือมาตรฐานจริยธรรมสารสนเทศและมาตรฐานการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับการจัดการเรียนการสอนการรู้สารสนเทศในต่างประเทศจะเน้นการเรียนการสอนรูปแบบบทเรียนออนไลน์ โดยมีห้องสมุดเป็นผู้ดำเนินการ 2. ระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับบปริญญาบัณฑิตในประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับดีนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน มีการรู้สารสนเทศอยู่ในระดับดีที่สุด รองลงมาคือนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและนักศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ เมื่อเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 กลุ่มและและจำแนกตามมาตรฐาน พบว่านักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาต่างกลุ่มกันโดยภาพรวมพบว่า การรู้สารสนเทศในมาตรฐานรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดลองใช้โมดูลชุดฝึกอบรมพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this research were to 1) study current circumstances pertaining to information literacy management of undergraduate students in Thailand and other countries; 2) analyze information literacy of undergraduate students in Thailand; 3) develop training modules; and, 4) Follow up the outcome of information literacy of undergraduate students. The sample groups used in the research were 1) 1,200 first year undergraduate students of Autonomous universities, public universities and private universities; 2) 40 first year students of Ubonratchathani University. The tools used in the research were information literacy survey and information literacy test. The information literacy training module for undergraduate students was available in three formats: paper, web site and CD-ROM. The kit in all three formats comprises five sections namely Principle and Rationale, Objectives, Pre-Training Evaluation, Learning Activities, and, Post-Training Evaluation. The content involves six modules developed in accordance with information literacy standards. The training module was used to test the information literacy of and to analyze data pertaining to three sample groups using One-way ANOVA, F-test and Scheffe s paired comparison test. Learners with whom the training kit was used were classified by percentile. The paper version of the kit was tested with learners with low information literacy level while the web site and the CD-ROM versions were tested with learners of all information literacy levels. The findings of the research can be summarized as follows: 1. Information literacy teaching in Thailand can be described by four classifications: 1) compulsory courses for all first year students; 2) compulsory courses for certain faculties; 3) elective courses for certain faculties; and, 4) assignment to the library. Content-wise, Thailand focuses on only certain standards of information literacy. The standards lacking currently are information ethics and lifelong learning. Information literacy teaching in other countries emphasizes the use of online lessons with the library as the operator. 2. The overall information literacy of undergraduate students in Thailand is good. Students of private universities are of the highest information literacy, followed by students of public universities and students of government-supervised universities. Comparing the information literacy of students from all three groups of higher education institutions, it is found that the overall information literacy is indifferent at a statistically significant level of .05 3. The training module trial has revealed that post-training achievement for all three sample groups is higher than pre-training achievement at a statistically significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32199
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1458
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1458
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nareepat_pe.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.