Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32205
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธวัศ สัมพันธ์พานิช-
dc.contributor.authorณัฐกาญจน์ ตันติธีระศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-06-17T08:41:08Z-
dc.date.available2013-06-17T08:41:08Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32205-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการศึกษาผลของสาร EDTA ต่อการดูดดึงแคดเมียมและสังกะสีด้วยอ้อย (Saccarum officinarum L.) ที่ปลูกในดินปนเปื้อน ซึ่งนำมาจากพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และทำการ ปลูกในเรือนทดลอง เริ่มด้วยการปลูกอ้อยเป็นเวลา 1 เดือน และทำการเติมสาร EDTA ที่ระดับ ความเข้มข้น 0 (ควบคุม), 0.5, 1 และ 2 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมดิน และเก็บเกี่ยวพืชที่ระยะเวลา 2, 4, 6 และ 8 เดือน เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณแคดเมียมทั้งหมด และสังกะสีทั้งหมดในดิน น้ำชะ และ ปริมาณการสะสมแคดเมียมและสังกะสีในส่วนต่างๆ ของอ้อย 5 ส่วน คือ ใบ ชานอ้อย ท่อนพันธุ์ เดิม ราก และน้ำอ้อย นอกจากนี้ทำการศึกษาการเจริญเติบโตของอ้อย โดยพิจารณาจากน้ำหนัก แห้งของพืช ความสูงของพืชทั้งในส่วนลำต้น และส่วนราก รวมถึงการสังเกตความเป็นพิษจากการ แสดงอาการของอ้อย ผลการศึกษาพบว่า ชุดการทดลองที่ใส่สาร EDTA 1 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมดิน ทำให้อ้อยมีความสามารถในการดูดดึงแคดเมียมไปสะสมในรากได้มากที่สุด คิดเป็น 21.87, 44.68, 57.52 และ 41.97 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ระยะเวลาของการเก็บเกี่ยว ตามลำดับ ตามด้วย ท่อนพันธุ์เดิม ชานอ้อย ใบ และน้ำอ้อย และชุดการทดลองที่ใส่สาร EDTA ที่ระดับความเข้มข้น 2 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมดิน ทำให้อ้อยมีความสามารถในการดูดดึงสังกะสีไปสะสมยังส่วนต่างๆ ได้ มากที่สุด ทั้งนี้พบว่า ใบและชานอ้อยมีการสะสมสังกะสีมากที่สุดที่ระยะเวลา 2 เดือน ส่วนการ สะสมสังกะสีในท่อนพันธุ์เดิม และรากมากที่สุดที่ระยะเวลา 4 เดือน สำหรับในน้ำอ้อย พบว่า การ สะสมสังกะสีจะเพิ่มขึ้น เมื่อระยะเวลาการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การศึกษาประสิทธิภาพใน การดูดดึงแคดเมียม และสังกะสีของอ้อยคิดเป็นร้อยละเทียบกับปริมาณแคดเมียมและสังกะสีที่มี ในดิน พบว่า การเติม EDTA ที่ระดับความเข้มข้น 1 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมดิน ที่ระยะเวลา 6 เดือน อ้อยมีประสิทธิภาพในการสะสมแคดเมียมทั้งต้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับชุดการทดลองอื่นๆ มีค่า เท่ากับ 0.27 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.05) สำหรับการเติม EDTA 1 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมดิน ที่ระยะเวลา 4 เดือน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดดึงสังกะสี ของอ้อยทั้งต้นมากที่สุด เท่ากับ 2.77 เปอร์เซ็นต์en
dc.description.abstractalternativeThis study investigated the effect of EDTA on cadmium and zinc uptake by sugarcane, (Saccarum officinarum L.) grown in contaminated soil from Maesot district, Tak province, Thailand. Sugarcanes were grown in pots for 1 month then EDTA was added at concentration levels of 0 (control), 0.5, 1 and 2 millimole per one kilogram of soil. Plants were harvested every 2, 4, 6 and 8 months. An analysis was made to determine levels of cadmium and zinc in the soil and in five plant parts: leaves, bagasses, underground stem, root and juice. Plants were also analyzed by dry weight, bagasses length, root length and expressions of toxicity. The results showed that EDTA at 1 millimole per one kilogram of soil resulted in maximum cadmium accumulation in the root of sugarcane and registering 21.87, 44.68, 57.52 and 41.97 mg kg-1, at harvest time, respectively. This result was followed by underground stem, bagasses, leaves and juice. EDTA at 2 millimole per one kilogram of soil resulted in maximum zinc accumulation in various parts of sugarcane. At 2 months uptake was highest in leaves and bagasses. The accumulation of zinc in underground stem and root was highest at 4 months. Consequently, the accumulation efficiency sugarcane for cadmium and zinc was raised by EDTA. The results showed that EDTA at 1 millmole per one kilogram of soil produced a maximum cadmium accumulation at 0.27 percent in 6 months (P<0.05). For the experimental time of 4 months the highest efficiency of zinc accumulation by sugarcane was 2.77 percent at EDTA 1 millimole per one kilogram.en
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1461-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอ้อย -- ดินen
dc.subjectการกำจัดสารปนเปื้อนในดินen
dc.subjectดิน -- การปนเปื้อน -- ไทย -- ตากen
dc.subjectแคดเมียม -- การดูดซึมและการดูดซับen
dc.subjectสังกะสี -- การดูดชึมและการดูดซับen
dc.subjectกรดเอทิลีนไดอะมีนเตตราอะซีติกen
dc.subjectSugarcane -- Soilsen
dc.subjectSoil remediationen
dc.subjectSoils -- Contamination -- Thailand -- Taken
dc.subjectCadmium -- Absorption and adsorptionen
dc.subjectZinc -- Absorption and adsorptionen
dc.subjectEthylenediaminetetraacetic aciden
dc.titleผลของอีดีทีเอต่อการดูดดึงแคดเมียมและสังกะสีของอ้อยที่ปลูกในดินปนเปื้อนen
dc.title.alternativeEffect of EDTA on cadmium and zinc uptake by sugarcane grown in contaminated soilen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpantawat.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1461-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natthakan_ta.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.