Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32251
Title: | การวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีส่วนเอสทียกขึ้น ด้วยค่าการเปลี่ยนแปลงเอนไซม์โทรโปนินความไวสูง ชนิดทีที่ 2 ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินด้วยอาการเจ็บหน้าอก |
Other Titles: | 2-Hour delta highly sensitive troponin T assay in diagnosis of acute non-ST segment elevation myocardial infarction in chest pain patients at emergency room |
Authors: | ดนณ แก้วเกษ |
Advisors: | จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์ |
Advisor's Email: | cjarkarp@hotmail.com |
Subjects: | กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทรวงอก อาการเจ็บทรวงอก Myocardial infarction Chest Chest pain |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บทนำ : การตรวจหาเอนไซม์โทรโปนินความไวสูงชนิดทีมีความไวในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ไม่มีส่วนเอสทียกขึ้น มากกว่าการตรวจหาด้วยเอนไซม์โทรโปนินแบบเดิมแต่กลับพบปัญหาในการตรวจพบผลบวกลวง และเสียวเวลาการตรวจติดตามค่าซ้ำที่ 6 ชั่วโมงจึงเกิดแนวคิดที่จะใช้ค่าการเปลี่ยนแปลงระดับโทรโปนินความไวสูงชนิดที ที่ 2 ชั่วโมง มาใช้ในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ cross sectional โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยอาการเจ็บหน้าอกภายใน 6 ชั่วโมง ระหว่างเดือนมิถุนายน 2553 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยเจาะเลือดส่งตรวจระดับเอนไซม์โทรโปนินความไวสูงชนิดที ที่ 0, 2 และ 6-8 ชั่วโมง หลังผู้ป่วยมาที่ห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันตามเกณฑ์ของ Universal definition โดยแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ซึ่งไม่ทราบข้อมูลระดับเอนไซม์โทรโปนินความไวสูงชนิดที ที่ 2 ชั่วโมง หลังจากนั้น สร้าง receiver operating characteristic (ROC) curve ของระดับการเปลี่ยนแปลงเอนไซม์โทรโปนินความไวสูงชนิดที ที่ 2 ชั่วโมง เพื่อหาค่าที่มีความไวแสะความจำเพาะดีที่สุดในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผลการศึกษา : ผู้ป่วยจำนวน 110คน ได้เข้าร่วมการศึกษา โดยมีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีส่วนเอสทียกขึ้นจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 13.6โดยมีระยะเวลาเจ็บหน้าอกเฉลี่ย 3ชั่วโมงก่อนมาถึงห้องฉุกเฉิน เมื่อนำมาสร้าง ROC curve พบว่า ค่าการเปลี่ยนแปลงของเอนไซม์โทรโปนินความไวสูงชนิดที ที่ 2 ชั่วโมงที่มากกว่า 0.016 ไมโครกรัมต่อลิตร มีค่าความไวและความจำเพาะดีที่สุดคือมี sensitivity เท่ากับร้อยละ 93specificity เท่ากับร้อยละ 97positive predictive value เท่ากับร้อยละ 92 negative predictive valueเท่ากับร้อยละ 99 และ positive likelihood ratioเท่ากับ 29 โดยมีพื้นที่ใต้ ROC curve (AUC) เท่ากับ 0.95 (95% CI, 0.90 - 1.00) ซึ่งมากกว่าค่าเอนไซม์โทรโปนินความไวสูงชนิดทีครั้งแรก (AUC = 0.80; 95% CI, 0.70 - 0.89) และเทียบเท่ากับค่าเอนไซม์โทรโปนินความไวสูงชนิดทีที่ 6-8 ชั่วโมง (AUC = 0.94; 95% CI, 0.90 - 0.98) สรุปผลการศึกษา : ค่าการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์โทรโปนินความไวสูงชนิดที ที่ 2 ชั่วโมง สามารถใช้วินิจฉัย และแยกการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีส่วนเอสทียกขึ้น ได้ภายใน 2 ชั่วโมง เทียบเท่ากับการรอเจาะเลือดตรวจที่ 6-8 ชั่วโมง |
Other Abstract: | Background: New highly sensitive troponin T (hs cTnT) assay has more sensitivity in diagnosis of acute non ST segment elevation myocardial infarction (NSTEMI) than previous standard troponins, but still faces to the problems of false positive result and time consuming for standard 6-hour serial monitoring. The propose of this study is to determine the ability of 2-hour delta hs cTnT in diagnosis and exclusion of acute NSTEMI and find its optimal cut point. Methods : We conducted a cross-sectional analytic study on patients with chest pain who came to emergency room (ER) within 6 hours at King Chulalongkorn Memorial Hospital during June 2010 to February 2011. Blood samplings for Roche diagnostic hs cTnT assay were collected at 0, 2 and 6-8 hours after the patients arrived at ER. Acute NSTEMI was diagnosed by a cardiologist using universal definition criteria, unaware of 2-hour hs cTnT value. The optimal values of 2-hour delta hs cTnT was chosen from the receiver operating characteristic (ROC) curve for predicting acute NSTEMI. Results : Acute NSTEMI was the adjudicated final diagnosis in 15 patients (13.6%).The ROC curve analysis revealed the most optimal cut off value of 2-hour delta hs cTnT was the level more than 0.016 mcg/L that had sensitivity of 93%, specificity of 97%, positive predictive value of 82%, negative predictive value of 99% and positive likelihood ratio of 29. The diagnostic accuracy of measurements, as quantified by the area under the ROC curve (AUC), was significantly higher with the 2-hourdelta hs cTnT assay (AUC = 0.95; 95% CI, 0.90 to 1.00), as compared with the baseline hs cTnT assay (AUC = 0.80; 95% CI, 0.70 to 0.89) and comparable with the 6-8 hours hs cTnT assay (AUC = 0.94; 95% CI, 0.90 to 0.98). Conclusions : The diagnostic performance of 2-hourdelta hs cTnT assay is excellent, It can substantially improve the early diagnosis of acute NSTEMI without confounding from false positive conditions, comparable with 6-8 hours standard troponin T assay monitoring. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32251 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1476 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1476 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
danon_ka.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.