Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32256
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กุลธิดา โรจน์วิบูลย์ชัย | - |
dc.contributor.author | ณัฐวิทย์ กมลธรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-06-18T07:59:31Z | - |
dc.date.available | 2013-06-18T07:59:31Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32256 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การพัฒนาเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอกสำหรับรถยนต์นั้นมักทำบนโปรแกรมจำลองเครือข่ายซึ่งยังไม่ครอบคลุมปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่บนเครือข่ายจริง ทำให้การพัฒนานั้นต้องทำการพัฒนาในส่วนการทดลองบนเครือข่ายจำลองและพัฒนาในส่วนของการทดลองบนเครือข่ายจริงแยกจากกันทำให้เสียเวลาอย่างน้อยสองครั้ง โปรแกรมจำลองเครือข่ายเวอร์ชั่น 3 จึงเป็นอีกทางเลือกในการทำวิจัยเพราะว่าสามารถทำงานได้ทั้งการจำลองเครือข่ายและการทำงานบนระบบจริงด้วยการพัฒนาเพียงครั้งเดียว อีกทั้งโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมที่สอดคล้องกับหลักการทำงานของโครงสร้างของเครือข่ายทำให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจมาพัฒนาได้โดยตรง วิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการทดลองบนเครือข่ายจริงด้วยโปรแกรมจำลองเครือข่ายเวอร์ชั่น 3 และพบปัญหาการเชื่อมต่อแบบอสมมาตรที่บางโหนดส่งข้อมูลให้กับผู้อื่นไม่ได้ ทำให้การทำงานของโพรโทคอลที่มีการกระจายแบบเชื่อถือได้มีประสิทธิภาพที่ต่ำลง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าปัญหาเกิดจากการที่ผู้ส่งข้อมูลไม่สามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้ และการทำงานในการเลือกผู้กระจายข้อมูลลำดับถัดไปของโพรโทคอลผิดพลาดเพราะโหนดที่ถูกเลือกอาจมีความแรงของสัญญาณต่ำทำให้ไม่สามารถกระจายข้อมูลไปให้กับเพื่อนบ้านโดยรอบได้ แต่ในสถานการณ์ที่มีการเชื่อมต่อแบบอสมมาตรนั้นเป็นไปได้ยากที่จะทำให้การส่งข้อมูลระหว่างโหนดสำเร็จ 100 % จึงเน้นแก้ไขในกระบวนการเลือกผู้กระจายข้อมูลลำดับถัดไปของโพรโทคอล ซึ่งในวิทยานิพนธ์นี้เลือกโพรโทคอล DECA ที่มีการทำงานอย่างง่าย รวดเร็ว และลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลเป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยเสนออัลกอริทึมการโหวตอาร์เอสเอสไอเป็นกระบวนการในการแก้ไขซึ่งโหนดทุกโหนดจะโหวตว่าเพื่อนบ้านโหนดไหนที่มีค่าความแรงของสัญญาณในการส่ง หรือค่าอาร์เอสเอสไอมากที่สุด แล้วแนบไปกับ Beacon message เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนบ้าน เมื่อผู้ส่งต้องการกระจายข้อมูลก็จะเลือกโหนดที่ได้รับการโหวตมากที่สุดเป็นผู้กระจายข้อมูลลำดับถัดไป โดยการแก้ไขนี้สามารถเพิ่มค่าความน่าเชื่อถือของโพรโทคอลได้สูงสุดถึง 17 % และลดค่าใช้จ่ายได้สูงสุดถึง 28 % | en_US |
dc.description.abstractalternative | Many researches of vehicular ad-hoc networks (VANETs) are usually implement on simulator programs but that implementation cannot be reused or tested on a real system. So researchers need to do more works or make new implementation to evaluate their works on the real system. Network Simulator 3 (NS-3) is the new simulator that has been developed with whole new idea. NS-3 supports on both simulation and emulation (real implementation). This can reduce time of implementation because researchers can implement their works only one time then they can use the same source codes to evaluate their works on both simulation and emulation. This thesis implemented VANET on emulation of NS-3 and then found an asymmetric link problem that reduces the performance of reliable broadcasting protocols. After investigation, we found that the problem is caused by a sender who cannot send data to a receiver and a protocol node selection which cannot select an efficient forwarder node within a broadly transmission range and vastly neighbor coverage area. In this thesis, it is impossible to achieve a 100 % of delivery ratio in an asymmetric scenario. Therefore, we focus on the selection of a forwarder node with a long transmission range to cover the maximum number of neighbors. We choose a DECA which is simple, fast and less redundant data, as a case study. Then we propose a RSSI-Voting Algorithm (RVA) as a solution of this problem. The mechanism of RVA is that all neighbors will vote for a neighbor with the highest RSSI level and then attach to beacon messages. Every node exchanges the beacon message and updates information. If sender wants to broadcast a data, it will select a neighbor that gains the highest voting from neighbors as the forwarder node. The simulation results show that our mechanism can improve protocol performance up to 17 % and decrease its retransmission overhead up to 28 %. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.339 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เครือข่ายแอดฮอก | en_US |
dc.subject | ระบบสื่อสารไร้สาย | en_US |
dc.subject | อัลกอริทึม | en_US |
dc.subject | Ad hoc networks (Computer networks) | en_US |
dc.subject | Wireless communication systems | en_US |
dc.subject | Algorithms | en_US |
dc.title | การปรับปรุงการแพร่ข้อมูลแบบเชื่อถือได้บนเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอกสำหรับยานพาหนะที่เชื่อมต่อแบบอสมมาตรด้วยพื้นฐานอัลกอริทึมการโหวตอาร์เอสเอสไอ | en_US |
dc.title.alternative | Improving reliable broadcast over asymmetric vanets based on a rssi-voting algorithm | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kultida.R@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.339 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nattavit_ka.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.