Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3226
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ลัคนา เหลืองจามีกร | - |
dc.contributor.author | กอบกาญจน์ ทองประสม | - |
dc.contributor.author | วณี ทวีทรัพย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาเภสัชวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2006-10-12T02:43:36Z | - |
dc.date.available | 2006-10-12T02:43:36Z | - |
dc.date.issued | 2531 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3226 | - |
dc.description.abstract | การเปรียบเทียบการใช้ฟลูโอซิโนโลน อเซทโทไนด์ โซลูชั่น (fluocinolone acetonide solution-FAS) กับไทรแอมซิโนโลม อเซทโทไนด์ ในออราเบส (Triamcinolone acetonide in orabase-T.A.O.) ในการรักษาผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาลักษณะของผู้ป่วยไลเคน พลานัส ทั้งหมดจำนวน 80 คน ในส่วนนี้ พบว่า ผู้ป่วย 80 คนนั้นเป็นผู้หญิง 66 คน เป็นผู้ชาย 14 คน อายุเฉลี่ยของกลุ่ม 44.51 ปี ระยะเวลาการเกิดโรคอยู่ระหว่าง 1-120 เดือน มีเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2 รายที่มีรอยโรคไลเคนที่ผิวหนังร่วมด้วย ผู้ป่วยเหล่านี้พบมีไลเคน พลานัสในช่องปาก ชนิดเรติคิวลาร์ (reticular) อย่างเดียว 5 เปอร์เซ็นต์ ชนิดอโทรปิก (atrophic) 33.75% และชนิดอิโรซีฟ (erosive) 61.25% ตำแหน่งในช่องปากที่พบรอยโรคมากที่สุดได้แก่ บริเวณกระพุ้งแก้มด้านใน รองลงไปได้แก่ เหงือก ริมฝีปาก เพดานปาก และลิ้นตามลำดับ ลักษณะเด่นเฉพาะทางคลินิกของไลเคน พลานัสในช่องปาก คือการมีเส้นลายขาวบางปะปนอยู่ในรอยโรคของผู้ป่วย ลักษณะเช่นี้สามารถใช้เป็นข้อพิจารณาให้การวินิจฉัยโรคได้ถึง 96% แต่เพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรคทางคลินิก และตรวจหาเซลมะเร็งที่อาจเกิดร่วมด้วยจึงควรตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคไปดูลักษณะทางพยาธิ และการติดสีของสารอิมมูโนฟลูโอเรสเซ (immunofluorescent statining) การพบเชื้อรา 21 ใน 23 รายของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจหาเชื้อรา ไม่ได้เพิ่มปัญหาในการรักษารอยโรคไลเคน พลานัส นอกจากทำให้มีการติดเชื้อราเฉียบพลันขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังได้รับยาสเตรียรอยด์และการติดเชื้อรานั้นก็สามารถรักษาให้หายได้ในระยะเวลาสั้นๆ โรคทางระบบอื่นที่พบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่ โรคเบาหวาน ไทรอยด์ โรคกระเพาะ ไขข้ออักเสบ ความดัน โลหิตสูง Trait ของโรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) และกามโรค ส่วนที่ 2 ของการศึกษา เป็นการศึกษาผลของยาในเวลา 1 เดือน ผู้ป่วยที่ได้รับการศึกษามีจำนวน 46 ราย ซึ่งประกอบด้วย อิโรซีพ 22 ราย อโทรปิก 20 ราย และเรติคิวลาร์ 4 ราย ผู้ป่วยที่อยู่ในเกณฑ์นับว่าหายจากโรคไลเคน พลานัส หลังใช้ยา F.A.S. มีจำนวนทั้งหมด 19 ใน 25 ราย (76%) และ 10 รายใน 21 ราย (48%) ที่ใช้ T.A.O. ความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยที่หายหลังจากใช้ยาทั้งสองชนิดไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อแบ่งจำนวนผู้ป่วยออกตามความรุนแรงของรอยโรค ดังนั้น ผลการศึกษาส่วนนี้จึงเป็นเพียงแสดงให้ทราบว่า นอกจากไทรแอมซิโนโลน อเซทโทไนด์ ในออราเบส แล้วยังมีฟลูโอซิโนโลน อเซทโทไนด์ โซลูชั่น 0.1% ที่สามารถนำมาใช้รักษาบันเทาอาการของไลเคน พลานัสในช่องปากโดยที่ยังไม่ปรากฏผลเสียข้างเคียงทางคลินิกที่รุนแรงให้เห็นในระยะเวลาที่ติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 1 ปี แต่อย่างไรก็ดีการพิจารณาเลือกใช้ยากับผู้ป่วยแต่ละรายย่อยขึ้นกับสาเหตุหลายอย่าง รวมทั้งความหนา ความชื้นของเยื่อบุผิวตรงที่เกิดรอยโรคลักษณะและชนิดของรอยโรค ความพึงพอใจในรูปแบบ และความเข้าใจในวิธีการใช้ยาของผู้ป่วยและสิ่งที่ควรนึกอยู่เสมอคือ ไม่ว่าจะเป็นสเตียรอยด์เฉพาะที่ชนิดใด ย่อมมีโอกาสทำให้เกิดผลเสียข้างเคียงกับผู้ใช้ได้ทั้งทางระบบและเฉพาะที่ | en |
dc.description.abstractalternative | The comparision of using fluocinolone acetonide solution (F.A.S.) to triamcinolone acetonide in orabase (T.A.O.) in the treatment of oral lichen planus was performed and the content was divided into 2 parts. The first part was a study on characteristics of the total 80 petients whose oral lesions were lichen planus. The total group composed of 66 women and 14 men, the group-mean age was 44.51 years old. Durations of the disease were 1-120 months. Only 2.5 percentages or 2 cases who had haven skin lichen planus beside their oral lesions. The most favorite intra-Oral lesion of the disease was buccal cheek mucosa. The rest sites were gingival, lips, palatal mucosa and tougue, respectively. The clinical manifestations of Oral lichen planus among these patients were thin, white reticular lines associated within lesions. This unique feature could be used as the clinical criteria for oral-lichen-planus diagnosis at 96%. But to confirm such diagnosis and looking for the possibility of associated malignant cells, the tissue biopsies for routine microscopic examination as well as for immunofluorescent study should be done. Fungal organisms in 21/23 patients, did not make any problem to the treatment except the acute fungal infection. The infection was seen in 2 cases who had been treatmenting their oral lichen planus with the topical steroids, and it was cured in a short time by using antifungal nystatin 100,000 units. Other systemic conditions found among these 80 patients were diabetes mellitus, thyroidism, gastrointestinal disorders, arthritis, high blood pressure, trait of thalassemia and venereal diseases. The second part of the study was the comparision on the efficacy of FAS and TAO. In on month period of treatment, done in 46 oral lichen planus cases. These cases were classified as 22 erosive, 20 atrophic and 4 reticular types. The patients who were counted as cured patients were 19 out of 25 cases (76%) in FAS-group and were 10/21 (48%) in TAO group. The differences in numbers of cured patients were not statistically significance, regarding to their disease-severity. The result of this part, therefore, only showed that the FAS. Could be an alternative topical steroid controlling the oral lichen planus. In the other hand, the TAO has been already used for such disease. There was no serious clinical side effects of FAS. Has been remarked in this one-year-follow-up. However, to choose which medicine should be suitable for each lichen planus patient, was very complicate and very important. Many factors lead to be considered, including the thickness and hydration of the epithelium where the lesions were, characteristics of the lesions, the patients's preference in drug-preparation and their understanding in drug-using technics. The most importance should be the recognition of that possibility of topical steroids could be produce adverse side effects, both topically and systemically. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน | en |
dc.format.extent | 10675007 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ปาก--โรค | en |
dc.subject | ไลเคนแพลนัส | en |
dc.subject | ฟลูโอชิโนเซทโทไนด์ | en |
dc.subject | ไทรแอมซิโนโลนอะเซ็ตโตไนด์ | en |
dc.title | การเปรียบเทียบการใช้ฟลูโอซิโนโลน อเซทโทไนด์ โซลูชั่นกับไทรแอมซิโนโลน อเซทโทไนด์ในออราเบสในการรักษาไลเคน พลานัสในช่องปาก : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | The comparision of using flucinolone acetonide acetonide solution to triamcinolone acetonide in orabase in the treatment of oral lichen planus | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Kobkan.T@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Dent - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Lakana(comp).pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.