Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32295
Title: | การประยุกต์แนวคิดการตลาดเพื่อสังคมในการเผยแผ่ธรรมะ กรณีศึกษา : พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี |
Other Titles: | The application of social marketing concept : the case of Phra Maha Wudhijaya Vajiramethi's dharma preaching |
Authors: | ฉวีมณฑ์ สุขไพบูลย์ |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ว.วชิรเมธี พุทธศาสนา -- การเผยแผ่ การตลาดเพื่อสังคม -- แง่ศาสนา ธรรมะ V.Vajiramedhi Buddhism -- Missions Social marketing -- Religious aspects Dharma (Buddhism) |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดเพื่อ สังคมกับการเผยแผ่ธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และศึกษาปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนทางออก ที่พึงประสงค์ของการเผยแผ่ธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก การศึกษา วิเคราะห์เอกสารต่างๆ และการสัมภาษณ์บุคคลผู้ใกล้ชิด กลุ่มลูกศิษย์ของพระมหาวุฒิชัย วชิร เมธี ตลอดจนกลุ่มผู้ติดตามผลงานทั้งที่ชื่นชมและไม่ชื่นชมการเผยแผ่ธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักคิดในการเผยแผ่ธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี สะท้อนให้เห็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเชิงรุก (Active Buddhism) โดยมีเป้าหมายคือการให้พุทธศาสนิกชนนำธรรมะมาใช้ใน ชีวิตประจำวัน โดยใช้ยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่ที่เรียกว่า “เข้าใกล้ เข้าใจ เข้าถึง” 2. การเผยแผ่ธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ซึ่งใช้ยุทธศาสตร์ “เข้าใกล้ เข้าใจ เข้าถึง” ประกอบด้วย ยุทธวิธีในการดำเนินงาน 3 ประการคือ การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาให้มีความทันสมัย การนำเสนอพุทธศาสนาให้เข้าใจง่าย และ การแปรทฤษฎีสู่การปฏิบัติในชีวิตจริง 3. การเผยแผ่ธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี สะท้อนให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้หลักการตลาดเพื่อสังคมใน ขั้นตอนของการสำรวจปัญหาพื้นฐาน การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) การเลือก กลุ่มเป้าหมายในการรับการเผยแผ่ธรรมะ และการกำหนดส่วนผสมทางการตลาด อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ช่องทางและการสื่อสารเพื่อเผยแผ่ธรรมะ ปัญหาและอุปสรรคในการเผยแผ่ธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ได้แก่ ปัญหาจากการตีความบทบาท ที่พึงประสงค์ของพระในสื่อ ปัญหาจากทัศนคติและการรับรู้ของคน ปัญหาคุณสมบัติเรื่องวัยของผู้เผยแผ่ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ปัญหาในเชิงข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ปัญหา ด้านประเด็นในการนำเสนอและปัญหาด้านการรู้เท่าทันผู้แสวงหาผลประโยชน์ ทางออกที่พึงประสงค์ หลักในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ การเพิ่มจำนวนและพัฒนาคุณภาพบุคลากร การเพิ่มช่องทางและ ปรับเปลี่ยนสื่อที่ใช้ในการเผยแพร่ให้มีความเชื่อมโยงถึงกันเพื่อลดข้อจำกัดด้านสื่อ และการใช้สื่อกระแส หลักเพื่อสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อคุณสมบัติ และบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อสังคม |
Other Abstract: | The purposes of this qualitative thesis are 1. To study the application of social marketing concepts with Phra Maha Wudhijaya Vajiramethi's dharma preaching and 2. To find solutions to problems from his dharma’s preaching. Thesis methods include data analysis and interviews with Phra Maha Wudhijaya Vajiramethi, 5 of his disciples and 5 dharma followers who like/dislike his dharma preaching. The results of the study are as follow: 1. The central concept of Phra Maha Wudhijaya Vajiramethi’s dharma preaching is Active Buddhism, which has an aim for Buddhists to apply dharma into practice. The concepts has a strategy called “Approachable, Understandable, Accessible” 2. The strategy has three methods: modernizing the image of Buddhism (Approachable), making dharma intelligible to all (Understandable) and encouraging Buddhists to put dharma into practice (Accessible) 3. The dharma preaching method similar to social marketing concepts are: situation analysis, SWOT analysis, selection of target market and the marketing mix (Product, place and promotion) 4. Main problem from his dharma preaching are: conflicting image of monks in media, people’s perception and attitude toward his qualification (age, intentions) human resources and management problem, media’s performance and limitations, and people seeking advantage from his fame. Solutions to these problems include human resources management, integration and utilization of media as a tool to reduce communication barriers and correct the image and role of monks toward society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32295 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1524 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1524 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chaveemon_su.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.