Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32320
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | ปิยวรรณ จิตสำราญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | เอเชียตะวันออก | - |
dc.date.accessioned | 2013-06-20T02:11:17Z | - |
dc.date.available | 2013-06-20T02:11:17Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32320 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่องและลักษณะการใช้ภาษาภาพยนตร์เพื่อสื่อความหมาย รวมถึงทัศนคติของผู้ชมต่อภาพยนตร์เอเชียตะวันออกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการล้างแค้น โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Textual Analysis) ภาพยนตร์เอเชียตะวันออกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการล้างแค้นในช่วงปี 1999-2011 จำนวน 12 เรื่อง ประกอบกับการใช้วิธีการสำรวจ (Survey Research) ทัศนคติของผู้ชมโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 150 คน ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างการเล่าเรื่องของภาพยนตร์เอเชียตะวันออกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการล้างแค้นประกอบไปด้วย แก่นเรื่องเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นถึงความสูญเสียที่เกิดจากความอาฆาตแค้น โดยนำเสนอผ่านแก่นความคิดต่างๆ เช่น การล้างแค้นและการให้อภัย, ความทรงจำอันเลวร้ายกับการล้างแค้น, ความอยุติธรรมกับการแก้ปัญหาด้วยการล้างแค้น, สังคม.ตัวการสำคัญของความแค้น, ความรักและความแค้น โดยมีโครงเรื่อง คือ ตัวละครเอกเผชิญปัญหาส่งผลให้มีความรู้สึกโกรธแค้น และแสดงออกโดยการล้างแค้นเพื่อต้องการจะแก้ไขปัญหา หลังจากนั้นเรื่องราวก็จะคลี่คลายลงหลังจากที่ตัวละครนั้นได้รับผลเสียจากการล้างแค้น ในการสร้างตัวละครของภาพยนตร์มีการออกแบบให้ตัวละครทั้งสองฝ่ายมีลักษณะแตกต่างกันทั้งทางกายภาพและจิตใจ เพื่อให้คนดูได้รับและเอาใจช่วยในลักษณะของความเป็นพระเอกและตัวร้าย หรือ การสร้างตัวละครให้มีลักษณะเหมือนกันแต่เพียงเกิดเหตุจำเป็น หรือ สถานการณ์บางอย่างบีบคั้น เป็นเหตุให้ตัวละครต้องแสดงออกถึงความชั่วร้ายออกมาเพื่อความอยู่รอดนั้น เหล่านี้ผู้สร้างทั้งหลายมีความตั้งใจที่จะสร้างให้ตัวละครทั้งสองฝ่ายมีความคล้ายคลึงกับความเป็นมนุษย์จริงให้มากที่สุด ลักษณะการใช้ภาษาภาพยนตร์เพื่อสื่อความหมาย ในรูปแบบองค์ประกอบทางภาพและเสียง มีลักษณะการสื่อความหมายดังนี้ ใช้องค์ประกอบการถ่ายภาพยนตร์ เช่น มุมกล้อง ขนาดของภาพ การเคลื่อนกล้องเพื่อนำเสนอลักษณะของตัวละคร ชะตากรรมของตัวละคร มีการย้อนให้เห็นถึงอดีตที่เป็นปมปัญหาทำให้ตัวละครลุกขึ้นมาล้างแค้นโดยการ Flash back ภาพในอดีต การใช้เทคนิคตัดต่อคัทสั้นเพื่อเน้นเล่าเรื่องให้ตื่นเต้นน่าติดตาม สำหรับฉาก แสงและเงารวมถึงการใช้สีในภาพยนตร์ มักสะท้อนถึงลักษณะความผิดปกติของตัวละคร การปิดบังซ่อนเร้นนำเสนอด้านมืดของตัวละคร และองค์ประกอบทางด้านเสียง มักใช้เสียงบทสนทนาหรือเสียงเพลงประกอบ อธิบายชีวิตของตัวละคร ณ ขณะนั้น ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นช่วงที่ตัวละครตกอยู่ภาวะปัญหาโดยสรุปแล้วองค์ประกอบทั้งหมดดังที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่ผูกโยงไปสู่แก่นของเรื่องที่ต้องการให้เห็นถึงโทษที่เกิดจากความแค้น ทัศนคติของผู้ชมภาพยนตร์เอเชียตะวันออกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการล้างแค้นพบว่า ภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างสามารถสร้างการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายในเกณฑ์ที่ดี หมายถึง ผู้ชมมีความเข้าใจสิ่งที่ผู้สร้างต้องการสื่อสารหรือถ่ายทอดสอดคล้องตามผลวิเคราะห์ในส่วนของการเล่าเรื่องและสื่อความหมาย | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are to analyse the narrative structure , the use of Film language for convey meaning. Also, Surveying attitude of audience with the 12 East-Asian movie with the theme of vengeance The method employed in this study is using textual analysis with the movie during 1999-2011.There also survey audience’s attitudes by exploring 150 questionnaires. The results of research are as follows: 1. The narrative of the film in East Asia with a vengeance is about the theme, The ideas presented through themes such as revenge and forgiveness, the bad memories with a vengeance, injustice and solve problems with a vengeance, society is the importance of revenge, love and revenge. The storyline is a main character facing a problem, resulting in a feeling of anger and expressed by a vengeance to solve the problem. The story is unwinding after a character has a negative effect of revenge. For creating the character of the vengeance film is designed to both characters are different, both physically and mentally. To let people know the characteristics of a hero and a villain. Or Both character look like but have certain stress situations. Causes the character to show the world the evil that was to survive. The author intends to create two characters is similar to the real human as possible. 2. The sort of Film language for convey meaning is ; in cinema photography element (sample: camera angles, shot size, camera movement) represent the characteristic and predestination of the character. Moreover ,Using “Flash back” for represent backward to a past-problem incidence result to vengeance and use shortcutting in editing element for emotional. Also, mysterious and dark side of character will be represent by set dressing. Through, audio-visual elements, mostly use dialogue and music represent the moment that the character in climax problem. All of the above relate to theme of vengeance that represent the negative effect or bad result of vengeance on the character. 3. From the survey sample group, the perceptions of the audiences on selected 3 vengeance East Asian’s film have found that have created awareness and good understanding of what the creators want to communicate or convey. Accordance with the analytical results obtained from studied of narrative and meaning convey of the movie. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.345 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การเล่าเรื่อง | en_US |
dc.subject | ภาพยนตร์ -- เอเชียตะวันออก | en_US |
dc.subject | Narration (Rhetoric) | en_US |
dc.subject | Motion pictures -- East Asia | en_US |
dc.title | การเล่าเรื่องและสื่อความหมายของภาพยนตร์เอเชียตะวันออกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการล้างแค้น | en_US |
dc.title.alternative | Narrative and signification of East Asian movie with the theme of vengeance | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Jirayudh.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.345 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
piyawan_ch.pdf | 5.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.