Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32324
Title: ประสบการณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ไม่มั่นใจในการตัดสินใจเลือกแผนการเรียน
Other Titles: Experience of mathayom suksa 4 students with uncertain decision making in educational plan
Authors: ปรัศนีย์ อุ้มเครือ
Advisors: กรรณิการ์ นลราชสุวัจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Kannikar.N@Chula.ac.th
Subjects: การตัดสินใจ
นักเรียนมัธยมศึกษา
Decision making
Students
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาประสบการณ์การเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ไม่มั่นใจในแผนการเรียนที่เลือก ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 คน โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา ผลการศึกษามีดังนี้ นักเรียนได้นิยามการเลือกแผนการเรียนว่าหมายถึง อาชีพที่นักเรียนอยากจะทำ และเป็นอนาคตของนักเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกแผนการเรียนของนักเรียนประกอบด้วย 1) การที่ไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรของแผนการเรียน และการศึกษาต่อในอนาคต 2) การพิจารณาความสามารถทางวิชาการและความสนใจในวิชาหลักของแผนการเรียนและอาชีพที่อยากเป็นของนักเรียน และ 3) ข้อมูลจากครอบครัว อาจารย์และรุ่นพี่ และการมีเพื่อนร่วมเรียน นักเรียนทุกคนต่างตัดสินใจเลือกแผนการเรียนด้วยตนเอง โดยนักเรียนบางส่วนมีความมุ่งมั่นในแผนการเรียนที่เลือก แต่นักเรียนอีกส่วนหนึ่งมีความลังเล อย่างไรก็ตาม เมื่อนักเรียนได้เข้าเรียนไประยะหนึ่งและสอบกลางภาคเรียน นักเรียนรู้สึกไม่มั่นใจในแผนการเรียนที่ตนเลือกเนื่องจาก 1) การเรียนไม่รู้เรื่องและ 2) ผลการเรียนที่ไม่ดี ทำให้นักเรียนรู้สึกไม่มั่นใจ กลัวว่าจะเรียนไม่จบ กลัว กังวลกับการอนาคต ไม่รู้อนาคต ท้อใจ อยากเปลี่ยนแผนการเรียนแต่เปลี่ยนไม่ได้ แต่นักเรียนก็เผชิญกับความไม่มั่นใจของตนเองโดยการคิดทบทวน และยอมรับความเป็นจริงและเดินหน้าต่อไปโดยให้กำลังใจตนเองและตั้งใจเรียนให้มากขึ้น ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการให้การปรึกษาแนะแนวการศึกษาต่อ และให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนในการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนเพื่อนำไปสู่ชีวิตที่มีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This study is aimed to present the experience of Mathayom Suksa 4 students with uncertain decision making in educational plan. Purposively-selected participants were 10 of Mathayom Suksa 4 students at Bangbor Withayakom School. Data were collected through in-depth interviews and analyzed with content analysis method in accordance with phenomenological qualitative methodology. Findings are as the following. For the participants, decision making in educational plan refers to desirable career and the future. Three factors involved in the decision: 1) not knowing information on educational plans and future education; 2) participants’ academic ability and academic interest and desirable occupations; and 3) information from family, teachers and seniors and having friends in the same class. Two main feelings were found when the participants’ decisions were independently made: certain and uncertain. However, after the participants had studied and taken the midterm examinations, they became uncertain of the choices. Being uncertain in the selected educational plans is due to 1) incomprehension of lessons and 2) low academic achievement, leading to being uncertain and worried about not being able to graduate, being frightened of and worried about the future and not knowing the future, being discouraged, and willing to change the educational plans with inability to change. However, participants coped with this situation by reconsidering and accepting the reality and moving on by self-encouraging and studying harder. These findings can be implemented in career counseling services and assistance to students who with career decisions making, leading to effective lives.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32324
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.347
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.347
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pradsanee_au.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.