Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32352
Title: | การนำเสนอรูปแบบการประเมินผลศิลปนิพนธ์สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับปริญญาตรี |
Other Titles: | The proposed model of art thesis evaluation in Visual Communication Art Program at the undergraduate level |
Authors: | อารียา คลังชำนาญ |
Advisors: | อำไพ ตีรณสาร สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของการประเมินผลศิลปนิพนธ์สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ในด้านกระบวนการและเกณฑ์การประเมิน และ 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการประเมินผลศิลปนิพนธ์สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) อาจารย์ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการประเมินผลศิลปนิพนธ์จำนวน 28 คน 2) นักศึกษาที่ผ่านการสอบศิลปนิพนธ์สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ในปีการศึกษา 2535 จำนวน 32 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย อาจารย์ผู้ปฎิบัติการ 7 ท่าน นักวิชาการศิลปศึกษา 2 ท่าน และผู้บริหาร 1 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) รูปแบบการประเมินผลสาขาออกแบบ นิเทศศิลป์ (รูปแบบร่าง) และ 3) แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์หาค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการประเมินผลศิลปนิพนธ์ ในด้านกระบวนการจะใช้คณะกรรมการเป็นผู้ประเมินโดยมีทั้งแบบมีอาจารย์ที่ปรึกษา ร่วมในคณะกรรมการ และแบบไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษา ร่วมในคณะกรรมการ การให้คะแนนเป็นแบบให้คะแนนสะสม คะแนนรวบยอด หรือใช้มติส่วนรวม ส่วนเกณฑ์การประเมินใช้เกณฑ์การพิจารณาตัดสินจากตัวผลงาน ซึ่งกำหนดเกณฑ์การประเมิน เป็นรายการอย่างละเอียดและอย่างที่กำหนดเพียงบางรายการ นอกจากนั้นยังใช้เกณฑ์การพิจารณาตัดสินจากภาพรวมทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมทั้งวิธีการทำงาน ลักษณะการทำงาน และตัวผลงาน ส่วนปัญหาของการประเมินผล เมื่อพิจารณาโดยรวมพบว่า ด้านกระบวนการประเมินมีวิธีการให้คะแนนและตัดสินที่ยังไม่เหมาะสม และมีปัญหาความลำเอียงของผู้ประเมินที่เป็นอาจารย์ที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านเกณฑ์การประเมินมีปัญหาว่า เกณฑ์ที่ใช้อยู่ยังไม่มีความชัดเจน และครอบคลุมเพียงพอ 2) รูปแบบการประเมินผลศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ ประกอบด้วย กระบวนการและเกณฑ์การประเมิน ในส่วนของกระบวนการประเมินมีขั้นตอนการประเมิน: 5 ขั้นคือ ก) ประเมินหัวข้อโครงการศิลปนิพนธ์ ข) ประเมินการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ค) ประเมินแบบร่างและการปรับปรุงพัฒนา ง) ประเมินลักษณะการทำงาน จ) ประเมินผลงาน ผู้ประเมินเป็นแบบมีอาจารย์ที่ปรึกษา ร่วมในคณะกรรมการประเมินผล สำหรับเกณฑ์การประเมินใช้แบบประเมินภาพรวม ซึ่งกำหนดรายการการประเมินอย่างละเอียดครบทุกด้าน โดยใช้คะแนนสะสมและมติส่วนรวมเป็นเครื่องตัดสิน |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study state and problem of the process and criteria of Art thesis in Visual Communication Art Program, and 2) to propose model of Art thesis evaluation in Visual Communication Art Program at the undergraduate level. The samples included 1) 28 university art instructors, 2)32 art students who had already passed art thesis evaluation and 3) 10 experts composed of art evaluators, art educators and a visual art administrator. This research conducted by means of interview, the sketch model of art thesis evaluation and the questionnaire. The data were analyzed by content analysis and frequency calculation. The findings include 1) The state of the thesis evaluation process was done by a committee to evaluate in two ways: including the advisor in committee and excluding the advisor. The scoring process is either cumulative, score summation or the agreement among the committee. The evaluation criteria are from considering the end product by either using itemized list in detail or looking at overall success. The problem of Art thesis evaluation included the inappropriateness of scoring and judging, the bias from the advisor in evaluating, and the uncleared and uncovered of the evaluation criteria. 2) The model of Art thesis evaluation proposed includes the process and the criteria. There are 5 stages in evaluation process: a) the proposed of Art thesis evaluation, b) study and analysis data evaluation, c) sketch design and improvement evaluation, d) working habit evaluation, and e) product evaluation. The advisor is included in the evaluation committee. The evaluation is done by using complete criteria. The evaluation are in the form of overall evaluation which cover all items in all aspects. The grading process comes from score cumulation and the agreement of the committee. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32352 |
ISBN: | 9745841099 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Areeya_ki_front.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_ki_ch1.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_ki_ch2.pdf | 23.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_ki_ch3.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_ki_ch4.pdf | 13.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_ki_ch5.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_ki_back.pdf | 13.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.