Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32364
Title: ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
Other Titles: Mental health problem of older persons in Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for older persons
Authors: พัชญา คชศิริพงศ์
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์
Advisor's Email: chsrs@redcross.or.th, Siriluck.S@Chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- สุขภาพจิต
ผู้สูงอายุ -- การสงเคราะห์
สถานสงเคราะห์คนชรา
Older people -- Mental health
Old age assistance
Adult day care centers
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของปัญหาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแคที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาและพำนักอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2553 ถึง ตุลาคม 2553 จำนวน 99 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต Thai GHQ-28 แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้ chi-square test, Fisher's exact test, multiple logistic regression และ Pearson’s correlation ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงร้อยละ 67.7 อายุเฉลี่ย 77.41 ปี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.6 มีระยะเวลาที่พำนักในบ้านบางแคน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี พบปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 22.2 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ อายุมากกว่า 70 ปี, ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี, การมีโรคประจำตัว, การไม่มีผู้มาเยี่ยม, ความพึงพอใจต่อบ้านบางแคน้อยมากถึงปานกลางและความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำหรือปานกลาง และพบว่าการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง(r=0.599) กับความผาสุกทางจิตวิญญาณ และคะแนนจากแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับการเห็นคุณค่าในตนเองและความผาสุกทางจิตวิญญาณ (r=-0.437 และ -0.320) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการวิจัยสรุปได้ว่าปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแคพบได้ร้อยละ 22.2 การทราบถึงปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องและตระหนักในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและให้การดูแลในปัจจัยด้านจิตสังคมดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
Other Abstract: The aim of this research study is to determine the prevalence of mental health problem and factors associated with mental health problems of the elderly at Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons. Cross-sectional descriptive study was conducted and ninety-nine subjects who stay in Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons were recruited during August 2010 to October 2010. The instruments consisted of demographic data questionnaires, Thai-General Health Questionnaire 28 and The Self-Esteem scale. Descriptive statistics, Chi-square test, Fisher’s Exact test, Multiple Logistic Regression and Pearson’s Correlation Coefficient were used for data analysis About 67.7% of the samples were female. Their mean age was 77.41± 7.32 years ; their duration of stay at the center less than 5 years was 64.6%. The research findings were as follows: 1) 22% of the sample had mental health problem; 2) factors significantly associated with mental health were age more than 70 years, graduated below bachelor degree, having health problem, having no visitor, very low to medium level of satisfaction with Ban Bangkhae, low or medium level of self-esteem(p < 0.05); 3) self-esteem was significantly correlated to Spiritual Well-Being in positive direction (r=0.599) 4) The Thai-GHQ scores were significantly correlated to Spiritual Well-Being and self-esteem in negative direction (r= - 0.437, r= - 0.320) at p < 0.01 Twenty-two percent of older persons in Ban Bang Khae Social Welfare Development Center had mental health problems. Finding the factors associated with mental health problem, realizing to help and concern about psycho-social factors are important in the care of mental health of the elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32364
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1520
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1520
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patchaya_ko.pdf917.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.