Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3243
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorราตรี สุดทรวง-
dc.contributor.advisorอารีรัตน์ อนันต์นนท์ศักดิ์-
dc.contributor.authorเพ็ญพักตร์ หนูผุด, 2517--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-10-12T06:46:54Z-
dc.date.available2006-10-12T06:46:54Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743329633-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3243-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractศึกษาผลการฝึกบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก (trunk muscle isometric exercise) ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและรูปร่าง ศึกษาในบุคลากรหญิงของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 25-40 ปี ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index) ไม่เกิน 25 ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนในช่วง 6 เดือนก่อนเข้าโปรแกรมฝึกบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก ที่ประกอบด้วยท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง ทดสอบผลความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวกลุ่มงอลำตัว (trunk flexor) และกลุ่มเหยียดลำตัว (trunk extensor) ขณะกล้ามเนื้อหดตัวชนิดไอโซเมตริก (isometric) และไอโซคิเนติค (isokinetic) โดยบันทึกค่าแรงสูงสุดที่กระทำในเชิงมุม ขณะกล้ามเนื้อหดตัวอยู่กับที่ (peak isometric torque) ที่ 0 องศาและ 30 องศา ค่าแรงสูงสุดที่กระทำในเชิงมุมขณะกล้ามเนื้อหดตัวด้วยความเร็วคงที่ ตลอดช่วงการเคลื่อนไหว (peak isokinetic torque) ที่ความเร็ว 60 องศาและ 120 องศาต่อวินาที วัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง (suprailiac) ซึ่งเป็นบริเวณที่ออกกำลังกับบริเวณใต้ท้องแขน (triceps) ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่ได้ออกกำลัง รวมทั้งขนาดเส้นรอบวงของเอวและสะโพกก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2 4 6 และ 8 นำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ที่มีมิติเดียว (one-way repeated measurement) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เพื่อศึกษาผลความแตกต่างจากการฝึก ระหว่างก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2 4 6 และ 8 หากพบว่ามีความแตกต่างก็จะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของตูกี (เอ) [Tukey (a)] การศึกษาครั้งนี้ พบว่าประชากรที่สามารถเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมได้ตลอด 8 สัปดาห์มี 27 คน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มงอลำตัวและกลุ่มเหยียดลำตัว ขณะกล้ามเนื้อหดตัวชนิดไอโซเมตริกและไอโซคิเนติทุกการทดสอบ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการฝึก 2 สัปดาห์และสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้ตลอดช่วงที่มีการฝึก 8 สัปดาห์ (p<0.05) จากผลความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง และขนาดเส้นรอบวงของเอว ซึ่งเป็นบริเวณที่ออกกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการฝึก 2 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ตามลำดับ (p<0.05) ส่วนขนาดเส้นรอบวงของสะโพกลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หลังการฝึก 8 สัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าการฝึกบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิด isometric สามารถปรับปรุงรูปร่างของผู้หญิงได้ โดยไม่ทำให้ขนาดของกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น แต่จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงกระชับขึ้น และโปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้สำหรับผู้ที่ต้องฝึก เพื่อป้องกันอาการปวดหลังและสามารถปรับปรุงท่วงท่าได้ด้วยตัวเองen
dc.description.abstractalternativeTo study the effect of isometric trunk muscles exercise program on trunk muscles strength and physique. Thirty women who are the staff of Chulalongkorn Hospital, agel 25-40 years old, body mass index (BMI) not higher than 25 kg/m2 and not exercise for 6 months before enter this program were studied. This study analyzed the difference trunk flexor and extensor strength when do the isometric and isokinetic contraction before and after training at 2, 4, 6 and 8 weeks. The peak isometric torque at 0 ํ and 30 ํ and peak isokinetic torque at 60 ํ and 120 ํ per second were recorded. Skinfold measurement at suprailiac, the exercise area and triceps, the non-exercise area, together with hip circumference were measured. One-way repeated measurement was performed in all tests to study the difference between before and after training at 2, 4, 6 and 8 weeks. If the significant differences were found, the test would perform the coupling difference by Tukey (a) method. Twenty-seven population could continue this programethroughout 8 weeks. All of the tests of trunk flexor and extensor strength in isometric and isokinetic contraction increased significantly (p<0.05) after training at two weeks and the muscle strength increased throughout eight weeks training. The skinfold thickness at suprailiac site and waist circumference the exercised area, decreased significantly (p<0.05) after two and eight weeks, respectively. Although hip circumference was decrease, it was not significantly after training for eight weeks (p<0.05). Conclusion, this trunk muscle isometric program can improve physique in women by increasing the fitness and firmness of muscle without muscle hypertrophy. And this program can also implement to the one who would like to prevent low back pain and to improve posture oneself.en
dc.format.extent14949284 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการออกกำลังกายen
dc.subjectไอโซเมตริก (กายบริหาร)en
dc.subjectการฝึกกำลังกล้ามเนื้อen
dc.subjectกำลังกล้ามเนื้อen
dc.titleผลของการบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและรูปร่างen
dc.title.alternativeThe effects of isometric trunk muscle exercises on trunk muscle strength and physiqueen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์การกีฬาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAreerat.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
penpak.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.