Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3247
Title: การศึกษาภาวะหลอดลมไวเกินในผู้ป่วยเด็กที่หายใจมีเสียงหวีด ร่วมกับการติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ
Other Titles: Bronchial hyperresponsiveness in children with wheezing associated respiratory infection
Authors: สิทธิวุฒิ ฟูตระกูล, 2514-
Advisors: นวลจันทร์ ปราบพาล
จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: fmednph@md2.md.chula.ac.th
jitladda@hotmail.com
Subjects: ทางเดินหายใจ -- โรค
หลอดลม -- โรค
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงความชุกของภาวะหลอดลมไวเกินในผู้ป่วยเด็ก ที่หายใยมีเสียงหวีดร่วมกับการติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ และศึกษาลักษณะทางคลินิกที่สัมพันธ์กับภาวะหลอดลมไวเกิน ใช้การวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ หอผู้ป่วยในภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากรเป็นผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี ที่หายใจมีเสียงหวีดร่วมกับการติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ และเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่าง 1 มิถุนายน 2542 ถึง 10 มีนาคม 2543 บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติภูมิแพ้ของผู้ป่วยและครอบครัว การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม โดยผู้วิจัยสอบถามจากบิดามารดาของผู้ป่วยหรือผู้เลี้ยงดู ตรวจร่างกายและบันทึกอาการแสดงต่างๆ ให้คะแนนตาม clinical score โดยดูอัตราการหายใจ retraction, air entry และ wheezing รวมทั้งบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ และปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจน โดยใช้เครื่อง pulse oximeterและวัดสมรรถภาพปอดก่อนและหลังพ่นยาขยายหลอดลม โดยวิธี tidal breathing เพื่อบันทึกค่าตัวแปรต่างๆ โดยที่ถ้าค่า VPTEF/VE และ TPTEF/TE เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20 หรือ TEF25/PTEF เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20 จะให้การวินิจฉัยว่ามีภาวะหลอดลมไวเกิน นำจำนวนผู้ป่วยที่ให้ผลบวกจากการทดสอบสมรรถภาพปอด มาคำนวณค่าความชุกและเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิก ระหว่างกลุ่มที่มีภาวะหลอดลมไวเกินกับกลุ่มที่ไม่ตอบสนอง ต่อยาขยายหลอดลมโดยใช้ Chi-square test หรือ Fisher exact test และ Student t-test ค่า p<0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี ที่หายใจมีเสียงหวีดร่วมกับการติดเชื้อเฉียบพลัน ของระบบหายใจจำนวนทั้งหมด 76 คน ที่ได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดก่อนและหลังการพ่นยาขยายหลอดลม เพื่อวินิจฉัยภาวะหลอดลมไวเกินพบว่า มีผู้ป่วยที่ให้ผลการตรวจสมรรถภาพปอดที่ตอบสนองต่อ ยาขยายหลอดลมจำนวน 27 ราย คิดเป็นความชุกของภาวะหลอดลมไวเกินได้ร้อยละ 35.5 และพบว่าประวัติหอบหืดในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมารดา และประวัติการสูบบุหรี่ของคนในบ้านเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อการเกิดภาวะหลอดลมไวเกิน สรุปได้ว่า ความชุกของภาวะหลอดลมไวเกินในเด็ก ที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี ที่หายใจมีเสียงหวีดร่วมกับการติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ มีค่าเท่ากับร้อยละ 35.5 และพบว่าประวัติหอบหืดในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมารดา และประวัติการสูบบุหรี่ของคนในบ้าน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดลมไวเกิน
Other Abstract: To study the prevalence of bronchial hyperresonsiveness (BHR) in children with wheezing associated respiratory infection ; and to identify clinical features that are associated with BHR. Design : Cross-sectional analytical study. Setting : Pediatric in-patient ward, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok. Patients : Children up to 5 years of age who had wheezing associated with respirator infection and were admitted at the Pediatric Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Method : The parents or care givers of all the recruited wheezing children were asked about their demographic data and clinical history. The physical examination and clinical score, obtained by measurement of respiratory rate, chest retraction, air entry and character of wheezing were recorded. Heart rate and oxygen saturation were also measured. The pulmonary function test (tidal breathing) was performed to measure various parameters before and after salbutamol nebulization. If VPTEF/VE and TPTEF/TE >= 20% or TEF25/PTEF >= 20% after nebulization therapy, BHR would be ]diagnosed. The number of BHR positive group was used to calculate the prevalence and their clinical features were compared with those of the BHR negative group. The categorical data were analysed for statistical significance (p<0.05) by Chi-square test or Fisher exact test, or Student t-test, as appropriate. Result : 76 wheezing children underwent pulmonary function tests before and after salbutamol nebulization. With the above criteria, 27 cases (35.5%) had BHR. History of passive smoking and familial history of asthma especially maternal history of asthma were significantly associated with BHR. Conclusion : The prevalence of BHR in children with wheezing associated respiratory infection, up to five years old, was 35.5%. Passive smoking and familial history of asthma especially in mother were significantly associated with BHR.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กุมารเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3247
ISBN: 9743338551
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sitthivuddhi.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.