Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3253
Title: การวิเคราะห์ผลประโยชน์และระดับการพึ่งพิงของครัวเรือนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม
Other Titles: Analysis of community's benefits from and dependency on an industrial estate
Authors: อิศรา แสงศรี, 2522-
Advisors: อิศรา ศานติศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Isra.S@Chula.ac.th
Subjects: นิคมอุตสาหกรรม -- ไทย -- ระยอง
ครัวเรือน
นิคมอุตสาหกรรม
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
มาบตาพุด (ระยอง)
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมมาบดาพุดมีส่วนสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย แต่ในขณะเดียวกันได้ส่งผลกระทบต่อจังหวัดระยองและครัวเรือนในพื้นที่โดยรอบทั้งทางด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ ในด้านหนึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของครัวเรือนในพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดดีขึ้น รายได้ต่อหัวของประชากรมากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีต้นทุนที่ต้องเสียไปจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเช่นกัน ทั้งในรูของสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมตลอดจนปัญหาสังคมที่ติดตามมา อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทั้งสองด้านจะมีค่ามากน้อยเพียงใด ยังไม่มีการศึกษาใดที่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจน การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่แท้จริงทั้งทางด้านบวกและด้านลบที่มีต่อจังหวัดระยองและครัวเรือนโดยรอบ การกระจายผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงการวิเคราะห์การประมาณการเกิดจริงของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ซึ่งจะทำให้ทราบถึงคุณภาพชีวิตที่แท้จริงของประชากรในจังหวัดได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนการประมาณระดับการพึ่งพิงนิคมอุตสาหกรรมของครัวเรือนโดยรอบเพื่อให้ทราบถึงความจำเป็นในการยอมรับต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ โดยใช้เทคนิค Linear Expenditure System เพื่อประมาณรายจ่ายผูกพันซึ่งหมายถึงระดับการบริโภคขั้นต่ำที่จำเป็นต่อการยังชีพของสินค้าแต่ละชนิด ผลการศึกษาพบว่า นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดส่งผลกระทบต่อครัวเรือนโดยรอบทั้งทางด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือครัวเรือนได้รับรายได้ทั้งทางตรงคือจากการขายแรงงาน และทางอ้อมคือจากการให้เช่าที่พักอาศัยและการจำหน่ายสินค้าให้กับแรงงานที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกันครัวเรือนก็ต้องแบกรับภาระต้นทุนต่างๆ ที่เกิดจากการมีนิคมอุตสาหกรรมเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นครัวเรือนในพื้นที่ก็ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการมีนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด เนื่องจากมีการลงทุนจากนอกพื้นที่และการอพยพเข้ามาทำงาน บางส่วนของผลประโยชน์ที่เกิดจากนิคมอุตสาหกรรมจึงถูกระจายออกนอกพื้นที่ทั้งในรูปของผลตอบแทนทุนและผลตอบแทนแรงงาน แต่เมื่อพิจารณาถึงระดับการพึ่งพิงนิคมอุตสาหกรรมของครัวเรือนโดยรอบแล้วพบว่ามีระดับค่อนข้างสูง รายได้ที่ได้รับจากนิคมอุตสาหกรรมยังคงมากกว่ารายจ่ายผูกพันของครัวเรือนในทุกตำบล ทำให้ผลประโยชน์ที่ได้รับมีอิทธิพลเพียงพอที่จะลดความกังวลในความเดือนร้อน ที่เกิดจากปัญหาและความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการมีนิคมอุตสาหกรรมในพิ้นที่ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสังคมต่างๆ
Other Abstract: Industrial development in Rayong province as well as the foundation of Map Ta Put Industrial Estate play an important role on the Thai economy and account for Thailand's economic growth. Besides, these improvements bring about both positive and negative impact on their community. On one side, such an improvement induces the income source, direct and indirect income, of the community resulting in their better living standard. On the other side, there are also costs of industrial development including environmental, natural resource, and other social problems. However, there is no previous study that can determine the net benefit for the society; therefore, it is important to analyze the advantages and disadvantages of industrial development on their community as a whole. This study focuses on the impact of the Industrial Estate development on Rayong and its surrounding community, the distribution of benefits arisen from the Industrial Estate, and the analysis of overestimated Rayong's GPP. All of these investigations can imply real welfare the community receives. Moreover, this study estimates the community's dependency rate on the Industrial estate, which can imply the level of increased social costs caused by the industrial development that people in the community are willing to pay. In doing so, this study purposes to estimate the committed level of household expenditure, using Linear Expenditure System (LES) The empirical results indicate that the emergence of Map Ta Put Industrial Estate both positively and negatively affects the community. Their people receive both direct revenue from wages and indirect revenue from rental and grocery sales to labors living in this area. Nevertheless, the community has to deal with costs of industrial development. Moreover, the community cannot draw the whole benefit from the Industrial Estate because some benefit was distributed to people outside in forms of capital and labor returns. However, the level of the community's dependency to the Industrial Estate is high. Revenue contributed by the Industrial Estate is still more than the committed level of expenditure, resulting in the net benefit of the society that relieves the anxiety on problems and losses, such as environmental and social problems, accelerated by the Industrial Estate development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3253
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.253
ISBN: 9741761813
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.253
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Issara.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.