Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32567
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล | - |
dc.contributor.author | อนุตตร โพคะรัตน์ศิริ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-06-28T08:31:19Z | - |
dc.date.available | 2013-06-28T08:31:19Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32567 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | ศึกษาผลของอาหารเสริมฮอร์โมนซีโรโทนินและโปรเจสเตอโรนต่อการพัฒนารังไข่ในกุ้งขาวโดยเปรียบเทียบการทดลองที่ให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงแม่พันธุ์สูตรต่างๆ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูปปกติ อาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน อาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนซีโรโทนิน อาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนซีโรโทนินสลับกับอาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างละ 1 สัปดาห์ และอาหารสำเร็จรูปผสมเพรียงทรายผง อาหารแต่ละสูตรจะใช้กุ้งขาวอายุประมาณ 7 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 35.88±3.35 กรัม ความยาวประมาณ 14-16.5 ซมแบ่งเป็น 5 กลุ่มกลุ่มละ 8 ตัวเพื่อให้อาหารแต่ละสูตรเป็นเวลา 30 วัน ทำการชั่งน้ำหนักเพื่อหาค่าอัตราการเติบโตในแต่ละกลุ่มการทดลอง พบว่าอัตราการเติบโตที่ให้อาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีค่าสูงสุดคือ 7.59±3.64% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นแล้วไม่มีความแตกต่างกันทางนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) หลังจากให้อาหารไป 30 วันแต่ละกลุ่มการทดลองจะแบ่งจำนวนกุ้ง 4 ตัวนำไปตัดก้านตา แล้วให้อาหารไปอีกเป็นเวลา 15 วัน ทำการชั่งน้ำหนักเพื่อหาค่าอัตราการเติบโต และทำการผ่าตัดนำรังไข่มาชั่งน้ำหนักเพื่อหาค่า gonadosomatic index พบว่าในกลุ่มที่ไม่ได้ตัดตา อัตราการเติบโตในกลุ่มที่ให้อาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนซีโรโทนินสลับกับอาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนอย่างละ 1 สัปดาห์มีค่าสูงสุดคือ 7.02±1.33% มีความแตกต่างกันกับกลุ่มที่ให้อาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและกลุ่มที่ให้อาหารสำเร็จรูปผสมเพรียงทราย ส่วนในกลุ่มที่ตัดตาค่าสูงที่สุดอยู่ในกลุ่มที่ให้อาหารสำเร็จรูปผสมเพรียงทรายป่นคือ 3.89±2.59% แต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่า gonadosomatic index กลุ่มกุ้งที่ไม่ได้ตัดตาที่ให้อาหารสำเร็จรูปปกติ มีค่าสูงที่สุดคือ 1.827±0.670 % ส่วนกลุ่มกุ้งที่ตัดตาที่ให้อาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนซีโรโทนินสลับกับอาหารสำเร็จรูปผสมฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนอย่างละ 1 สัปดาห์มีค่าสูงสุดคือ 2.89±1.547% ค่า gonadosomatic index ในแต่ละกลุ่มการทดลองในส่วนที่ไม่ได้ตัดตาและส่วนที่ตัดตาไม่มีความแตกต่างกันทางนัยสำคัญทางสถิติ | en_US |
dc.description.abstractalternative | A study of ovarian development on hormonal effect was conducted with 5 formulated diets; control diet, progesterone mixed diet, serotonin mixed diet, serotonin mixed diet with progesterone mixed diet alternating weekly and dried sand worm mixed diet. Female white shrimp (weight 35.88±3.35 g) from a domestic farm were used for the experiment in a closed recirculating water system. Four replications were run in each treatment. The results showed that at 30 days of experiment, shrimp fed progesterone mixed diet gave the highest growth rate (7.59±3.64%) but not significant difference to other treatments. After feeding 30 days, half of shrimps in each treatment (n=4) were uniablated and fed for 15 days with the same diet to observe ovarian development using gonadosomatic index (GI). The results showed that in none-ablated groups serotonin mixed diet and progesterone mixed diet alternating weekly had the highest growth rate (7.02±1.33%) and significance different between progesterone mixed diet and dried sand worm mixed diet. Control diet gave the highest GI (1.827±0.670 %) but not significant difference to other treatments. In uniablated groups, dried sand worm mixed diet gave the highest growth rate (3.89±2.59%) but not significant difference to other treatments. Serotonin mixed diet with progesterone mixed diet switching weekly gave the highest GI (2.89±1.547%) but not significant difference to other treatments. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1695 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | Whiteleg shrimp -- Feeding and feeds | en_US |
dc.subject | Whiteleg shrimp -- Nutrition | en_US |
dc.subject | Hormones in animal nutrition | en_US |
dc.subject | Litopenaeus vannamei | en_US |
dc.subject | Ovaries | en_US |
dc.subject | Serotonin | en_US |
dc.subject | Progesterone | en_US |
dc.subject | กุ้งขาว -- การเลี้ยง | en_US |
dc.subject | กุ้งขาว -- โภชนาการ | en_US |
dc.subject | ฮอร์โมนในโภชนาการสัตว์ | en_US |
dc.subject | รังไข่ | en_US |
dc.subject | เซอโรโทนิน | en_US |
dc.subject | โปรเจสเตอโรน | en_US |
dc.title | ผลของอาหารเสริมฮอร์โมนซีโรโทนิน และโปรเจสเตอโรนต่อการพัฒนารังไข่ในแม่พันธุ์กุ้งขาว Litopenaeus vannamei | en_US |
dc.title.alternative | Effects of supplementary diet with serotonin and progesterone on ovarian development in white shrimp Litopenaeus vannamei | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ทางทะเล | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | psomkiat@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1695 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
anuttara_po.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.