Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32580
Title: | แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของหอศิลป์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Guidelines for promoting the art galleries as tourism attraction in Bangkok metropolis |
Authors: | ฐิตินันท์ เตชไกรชนะ |
Advisors: | สมบัติ กาญจนกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Sombat.K@Chula.ac.th |
Subjects: | หอศิลป์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- กรุงเทพฯ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ศิลป์ Art museums -- Thailand -- Bangkok Tourism -- Thailand -- Bangkok Heritage tourism Art museums |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของหอศิลป์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครโดยหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ศึกษาระดับปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลจากนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คนจากหอศิลป์ทั้งหมด 8 แห่งๆละ 50 คน ประกอบด้วย 1) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 2) หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร 3) พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหอศิลป์ 4) หอศิลป์จามจุรี 5) หอศิลป์วชิราวุธ 6) หอศิลป์เพาะช่าง 7) หอศิลป์พีระศิลป์ อนุสรณ์ และ 8) หอศิลป์สวนดุสิต โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ถดถอยแบบพหุคูณที่มีระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ และอาชีพ ไม่มีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้ง 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านการศึกษาและกิจกรรม และปัจจัยด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ มีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ส่วนปัจจัยส่งเสริมด้านบุคลากรอยู่ในระดับมาก(X̅ = 3.92) ด้านการศึกษาและกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.67) และด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.43) ส่วนความสนใจในภาพรวมของพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากร้อยละ 41.8 สรุปแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวมี 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร สร้างทักษะเพิ่มองค์ความรู้สร้างจิตสำนึกในด้านบริการแก่เจ้าหน้าที่ จัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระดับหัวหน้าหน่วยงานของหอศิลป์ 2) ด้านการศึกษาและกิจกรรมสนับสนุนด้านกิจกรรมพัฒนาความรู้ศิลปะส่งเสริมนักเรียนที่มีความถนัดเข้าค่ายศิลปะอย่างสม่ำเสมอ ควรจัดหาทุนวิจัยด้านศิลปะ 3) ด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ผ่านภาคีที่เกี่ยวข้อง สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหอศิลป์เอกชนและรัฐบาล จัดทำสื่อเว็บไซต์แต่ละหอศิลป์จัดทำวารสารการบริการข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศเทคโนโลยีที่ทันสมัยสู่นักท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น 4) ด้านนโยบายและบริการอื่นมีการตรวจสอบ ปรับปรุง หอศิลป์ให้คงคุณภาพมาตรฐาน การรักษาสภาพชิ้นผลงานศิลปะอย่างถูกวิธี ผู้บริหารควรมีนโยบายเชิงรุกเพิ่มสัดส่วนผู้เข้าชม จัดหารายได้เพิ่มจากกิจกรรมขยายแหล่งเงินทุนนอกเหนือจากงบประมาณที่ได้รับจากภาครัฐ |
Other Abstract: | The purposes of this study were to find ways to promote tourism to the city's art galleries by studying the relationship between personal information, factors promoting art tourism and travel behavior of tourists. Information were obtained from 400 art gallery visitors in 8 art galleries including 1) Bangkok art and culture center, 2) Art center Silpakorn University, 3) The national Gallery, 4) Jamjuree Art Gallery, 5) Vajiravudh Collage Art Gallery, 6) Poh Chang Art Gallery, 7) National museum Silpa Bhirasri Memorial and 8) Suan Dusit Art Gallery. The questionnaire and interview were tools to collect data. The statistics used in data analysis were the average, percentage and standard deviation. This study analyzed the relationships by using multiple linear regression model with statistical significant at level 0.05. The results were as follow: The relationship between personal information consist of gender, age and occupation showed no significant level in the travel behavior while the relationship between the three areas consisted of tourism promotion factor, personal factor and education and activity factor showed significance in the travel behavior. The promoting individual factor were at a high level (X̅ = 3.92 ) while the educational services and activity factor (X̅ = 3.67 ) and the publishing and public relation factor were at the moderate level (X̅ = 3.43). The interest of the travel behavior were at high level (41.8%). The guidelines for the promotion of tourism consisted of 1) Improvement of human skill to increase knowledge and awareness of the staff and the exchange of ideas in the agency's galleries. 2) Education service and activity support to encourage students to develop skills and knowledge as well as funding support and research in the arts. 3) Promotion and public relations through the concerned network among private and public galleries by information technology. 4) Policies and services monitoring, maintenance of the art pieces, the administrator’s proactive policy to increase the proportion of the visitor and raising fund other than budget from the government. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32580 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.370 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.370 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thitinun_ ta.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.