Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32605
Title: การพัฒนาระบบการรับรองวิทยฐานะปราชญ์ภูมิปัญญาไทยในฐานะผู้สอนระดับอุดมศึกษา
Other Titles: Development of accreditation system for Thai wisdom savants as instructors at higher education level
Authors: วรวรรณ ศรีตะลานุกค์
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pornchulee.A@chula.ac.th
Pansak.P@Chula.ac.th
Subjects: การรับรองวิทยฐานะ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สถาบันอุดมศึกษา -- การรับรองวิทยฐานะ
Accreditation (Education) -- Law and legislation
Universities and colleges -- Accreditation (Education)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อยกระดับภูมิปัญญาไทยสู่สถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการการอุดมศึกษาด้านการใช้ปราชญ์ภูมิปัญญาไทยในฐานะผู้สอนระดับอุดมศึกษา การรับรองวิทยฐานะผู้สอนในระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศ และในประเทศ พัฒนาและตรวจสอบระบบการรับรองวิทยฐานะปราชญ์ภูมิปัญญาไทยในฐานะผู้สอนระดับอุดมศึกษาประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 1-4 จำนวน 190 คน ตามการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542) และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ/ประกันคุณภาพ/มาตรฐานการศึกษา จำนวน 110 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูภูมิปัญญาไทย จำนวน 190 คน และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ/ประกันคุณภาพ/มาตรฐานการศึกษา จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ปราชญ์ภูมิปัญญาไทยที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาแต่มีความเชี่ยวชาญไม่ตรงกับวุฒิการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัย พบว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องมียุทธศาสตร์การจัดการบุคลากรที่เป็นปราชญ์ภูมิปัญญาไทย และระบบการรับรองวิทยฐานะปราชญ์ภูมิปัญญาไทยในฐานะผู้สอนระดับอุดมศึกษา มี 2 ระดับ คือ ระดับสถาบัน และระดับชาติ ระบบการรับรองวิทยฐานะปราชญ์ภูมิปัญญาไทยในฐานะผู้สอนระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ 1) ปัจจัยนำเข้าในระดับสถาบัน ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษาและปราชญ์ภูมิปัญญาไทย และปัจจัยนำเข้าในระดับชาติ ประกอบด้วย รายงานแจ้งผลการรับรองวิทยฐานะปราชญ์ภูมิปัญญาไทยของสถาบันอุดมศึกษาต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2) กระบวนการในระดับสถาบัน ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษาประเมินปราชญ์ภูมิปัญญาไทยเพื่อรับรองวิทยฐานะเป็นผู้สอน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ 1-4 ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ ด้านผลงาน และด้านการสอน สถาบันอุดมศึกษาจัดทำรายงานแจ้งผลการรับรองวิทยฐานะปราชญ์ภูมิปัญญาไทย ต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระบวนการในระดับชาติ ประกอบด้วย คณะกรรมการการอุดมศึกษาทำการตรวจสอบรายงานนั้น ก่อนประกาศยืนยันการรับรองวิทยฐานะปราชญ์ภูมิปัญญาไทยในฐานะผู้สอนระดับอุดมศึกษา 3) ผลผลิตของระบบในระดับสถาบัน คือ ปราชญ์ภูมิปัญญาไทยที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะในฐานะผู้สอนระดับอุดมศึกษา และในระดับชาติ คือ ปราชญ์ภูมิปัญญาไทยได้รับการยืนยันการรับรองวิทยฐานะ และ 4) ข้อมูลป้อนกลับ คือ ผลการปฏิบัติป้อนสู่กระบวนการและปัจจัยนำเข้า ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ ควรจัดทำโครงการวิจัยติดตามการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในระดับอุดมศึกษา และโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาไทยสู่ตลาดสากล โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยสาขานั้นๆ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา
Other Abstract: This research aimed at elevating Thai local wisdom to higher education. The objectives were to study and analyze higher education management in the aspect of using Thai wisdom savants as instructors, to study and analyze instructor accrediting both in other countries and in Thailand, and to develop an accreditation system for Thai wisdom savants as instructors at higher education level. Due to the limited number of the population of Thai Wisdom Savants; thus, the study involved all of them. However, the 88 Vice Chancellors out of 110 were selected. Instruments used were a content analysis, questionnaires and informal interview. Data was analyzed by using descriptive statistics, content analysis, t-test, and factor analysis. Results of the study were that the institutes must develop strategies in using Thai wisdom savants as instructors and that the accreditation system for Thai wisdom savants as instructors at higher education level consisted of 2 accreditation levels-the institutional and national. There were 4 main components in the system: inputs, process, outputs, and feedback. The inputs at the institute level were composed of the institutes and Thai wisdom savants while the input at the national level were the report from the institute accrediting Thai wisdom savants as instructors and the Higher Education Commission. The process were that the institution evaluated Thai wisdom savants by using Standard 1-4 which consisted of personal characteristics, knowledge and expertise, performance, and instructional skills before accrediting them as instructors at higher education level, submitted the evaluation report to the Higher Education Commission for further revision. The Higher Education Commission made decision to confirm the accredited Thai wisdom savants. The outputs were the accredited Thai wisdom savants at both level of the institute and the nation. The feedback were sent to the process and the inputs. Among recommendations suggested were following-ups of Thai wisdom promoted and implemented at higher education level. Furthermore, a consortium among the ministry of education, other ministries related to particular fields of Thai wisdom and the department of intellectual property in research and development to promote Thai wisdom to glogal market was encouraged
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32605
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1210
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1210
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
warrawon_sr.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.