Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32630
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี-
dc.contributor.advisorสรวิศ เผ่าทองศุข-
dc.contributor.authorกชพร กฤติยานันต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-02T03:56:38Z-
dc.date.available2013-07-02T03:56:38Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32630-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดขนาดเล็กสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำการศึกษาอัตราการบำบัดไนตริฟิเคชันของตัวกรองชีวภาพที่ทำจากวัสดุประเภทพลาสติกรีไซเคิล และศึกษาประสิทธิภาพการแยกตะกอนของชุดอุปกรณ์ที่ใช้ขวดพลาสติกเป็นส่วนประกอบภายใต้สภาวะที่ใช้ระบบลมเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนมวลน้ำแทนการใช้ปั๊มน้ำ ผลการทดลองพบว่าวัสดุพลาสติก 5 รูปแบบ ได้แก่ ขวดน้ำพลาสติกตัดเป็นเส้น (SB) ขวดน้ำพลาสติกตัดเป็นวง (RB) ฝาขวดน้ำดื่ม (WL) พลาสติกล็อคฝาขวด (PL) และแก้วน้ำพลาสติกตัดเป็นเส้น (SG) เมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุตัวกรองชีวภาพเพื่อบำบัดแอมโมเนียในระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถบำบัดแอมโมเนียได้อย่างสมบูรณ์ภายหลังการตรึงเชื้อไนตริไฟอิงแบคทีเรียเป็นระยะเวลาประมาณ 25 วัน โดยมีอัตราการบำบัดแอมโมเนียสูงสุด (Vmax) เท่ากับ 6.79, 5.41, 4.58, 10.73 และ 4.23 มก.ไนโตรเจน/พท.ผิวตัวกรอง-ตร.ม./วัน ตามลำดับ ขวดน้ำพลาสติกตัดเป็นเส้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดแอมโมเนียและไนไตรท์ในระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่วนการศึกษาประสิทธิภาพในการแยกตะกอนอินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงสัตว์น้ำในถังพลาสติก 200 ล. ของอุปกรณ์ดักตะกอนที่ทำจากขวดน้ำพลาสติกรีไซเคิล 5 ล. จำนวน 18 ขวด ที่อัตราการไหล 143, 280 และ 857 ล./ชม. พบว่าชุดอุปกรณ์ดักตะกอนที่ปรับอัตราการไหล 857 ล./ชม. มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือร้อยละ 89.73 สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพของระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดขนาดเล็กในการเลี้ยงปลานิลที่ประกอบด้วยถังตกตะกอนและถังไนตริฟิเคชันที่บรรจุตัวกรองชีวภาพจากการทดลองส่วนที่ 1 และ 2 เมื่อทำการเดินระบบเป็นเวลา 90 วัน โดยไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดการทดลอง ในวันสุดท้ายของการทดลองพบว่า ตัวกรองชีวภาพที่ผ่านการตรึงเชื้อสามารถควบคุมคุณภาพน้ำในถังเลี้ยงปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีปริมาณแอมโมเนียและไนไตรท์เฉลี่ย 0.19±0.02 และ 0.05±0.03 มก.ไนโตรเจน/ล. ปลานิลมีอัตราการเจริญเติบโต 0.44-1.09 ก./วัน มีน้ำหนักเฉลี่ย 73.47 กรัม มีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 3.1-3.9 กก./ลบ.ม. ส่วนถังตกตะกอนที่มีอุปกรณ์ดักตะกอนภายในถังสามารถช่วยลดตะกอนที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาได้เป็นอย่างดี สามารถแยกอนุภาคของตะกอนที่มีขนาด 190-560 ไมโครเมตรออกจากถังเลี้ยงปลาได้ ทำให้ภายในถังเลี้ยงปลาคงเหลือเพียงตะกอนที่มีขนาดอนุภาคเล็กในช่วง 20-65 ไมโครเมตรเท่านั้นen
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to develop a small scale recirculating aquaculture system (RAS) using recycle materials. Five plastic bottle materials i.e. small stripe-cut PET water bottle (SB), ring-cut PET water bottle (RB), water bottle lid (WL), plastic ring separated from bottle lid (PL) and stripe-cut plastic glass (SG) were applied as the nitrification biofilter. The results showed that, after 25 days of incubation, biofilters from all materials could reduce ammonia concentration with complete nitrification process. The maximum ammonia removal rates (Vmax) were 6.79 (SB), 5.41 (RB), 4.58 (PL), 10.73 (WL) and 4.23 (SG) mg-N/m2/day. Sediment removal tank was a 200 L plastic tank packed with 18 pieces of 5 L plastic bottles. With 3 flow rates setting i.e. 143, 280 and 857 L/hr, it was found that 857 L/hr flow rate exhibited the highest sediment removal of 89.73%. The final part was an evaluation of RAS prototype for fish (tilapia) culture. The RAS consisted of 450 L fish tank, 200 L sediment removal tank packed with 18 large plastic bottles, and 200 L biofilter tank packed with 702 small stripe-cut plastic bottles. Fish cultivation was 90 days without external water exchanged. It was found that biofilter made from recycled plastic bottles could maintain good water quality throughout the experiment. Average concentration of ammonia and nitrite were 0.19±0.02 and 0.05±0.03 mg-N/L. Growth of tilapia was 0.44-1.09 g/day with average body weight of 73.47 g and final density of 3.1-3.9 kg/m3. Growth and survival rate of RAS was higher than control tank without water treatment. Sediment removal tank had high efficiency in reducing suspended solid in the water. It could separate sediment with 190-560 microns particle size from the RAS and the residue particle size in the water was 20-65 microns.en
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปลา -- การเลี้ยง-
dc.subjectน้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- วิธีทางชีวภาพ-
dc.subjectFish-culture-
dc.subjectWater -- Purification -- Biological treatment-
dc.titleการพัฒนาระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดขนาดเล็กสำหรับการเลี้ยงปลาน้ำจืดen
dc.title.alternativeDevelopment of Small Scale Closed Recirculating Aquaculture System for Freshwater Fish Cultureen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWiboonluk.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kotchaphon_kr.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.