Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32637
Title: การปรับปรุงกระบวนการรับรองชิ้นส่วนการผลิต : กรณีศึกษา ส่วนประกอบของแผงคอนโซลหน้า
Other Titles: Improvement of production part approval process (ppap): a case study of instrument panel components
Authors: สมยศ กาญจนจิตกร
Advisors: ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Damrong.T@chula.ac.th
Subjects: รถยนต์ -- ชิ้นส่วน
อุตสาหกรรมรถยนต์
การควบคุมคุณภาพ
Automobiles -- Parts
Automobile industry and trade
Quality control
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการรับรองชิ้นส่วนการผลิตสำหรับ ชิ้นส่วนยานยนต์ที่จัดซื้อจากผู้ส่งมอบ โดยพบว่าชิ้นส่วนจากผู้ส่งมอบในปัจจุบันมีข้อบกพร่องด้านคุณภาพเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก หลังจากที่ได้ผ่านการอนุมัติตามกระบวนการรับรองชิ้นส่วนการผลิตของผู้ประกอบการไปแล้ว ดังนั้นจึงได้ศึกษาถึงข้อบกพร่องจากการรับรองชิ้นส่วนในปัจจุบันตามขั้นตอนของการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า และพบว่ายังมีข้อบกพร่องในขั้นตอนต่างๆ คือ การวางแผนและกำหนดโปรแกรม, การออกแบบและพัฒนากระบวนการ, การรับรองผลิตภัณฑ์และกระบวนการ, การจัดเตรียมเพื่อการผลิต, การป้อนกลับ การประเมินและการแก้ไข จากนั้นจึงได้หาสาเหตุและปรับปรุงข้อบกพร่องในแต่ละกระบวนการดังกล่าว โดยการประยุกต์ใช้ Core tool ในระบบ ISO/TS16949 เช่น การวิเคราะห์ระบบการวัด(MSA),การวิเคราะห์ ลักษณะผลกระทบและข้อบกพร่อง(FMEA) เป็นต้น และได้นำข้อกำหนดต่างๆที่ปรับปรุงเหล่านี้มาจัดทำเป็นคู่มือคุณภาพของผู้ส่งมอบเพื่อใช้ในการเสนออนุมัติรับรองชิ้นส่วน จากนั้นผู้วิจัยได้นำเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆที่ปรับปรุงดังกล่าวไปทดลองใช้กับผู้ผลิตส่วน ประกอบของแผงคอนโซลหน้าพบว่าข้อบกพร่องด้านคุณภาพจากผู้ส่งมอบรายดังกล่าว มีแนวโน้มลดลงโดยก่อนปรับปรุงตั้งแต่ม.ค.- ธ.ค. 2553 มีจำนวนชิ้นส่วนบกพร่องเฉลี่ย 22.23 PPM เทียบกับในช่วงหลังปรับปรุงตั้งแต่เดือนเม.ย.–ก.ค.2554 มีจำนวนชิ้นส่วนบกพร่องเฉลี่ย 14.25 PPM (คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลง 35.90 %) อีกทั้งทำให้เกิดผลดีอื่นๆ คือ ทำให้การดำเนินการตามแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด, มีจุดควบคุมพิเศษของชิ้นส่วนไว้สำหรับเฝ้าระวังปัญหาในกระบวนการ, มิติขนาดของชิ้นงานมีการควบคุมอย่างต่อเนื่อง, การเตรียมความพร้อมของกระบวนการก่อนการอนุมัติให้ผลิตผ่านตามเกณฑ์การตรวจประเมิน ,มาตร การที่แนะนำใน FMEA ได้รับการทบทวน , การตรวจสอบของเสียประเภทคุณลักษณะได้รับการวิเคราะห์ระบบการวัดและเป็นไปตามข้อกำหนด, มีการจัดทำฉลากชิ้นงานใหม่ที่เป็นมาตรฐานและมาตรการแนะนำในแผนควบคุมได้รับการทบทวน
Other Abstract: The main objective of this study is to improve the current production part approval process for supplier’s merchandised automotive parts. The many defective parts from supplier are found after they are passed the production part approval process ,so the current production part approval process is studied as follow advance products quality planning (APQP) process. And the problems in these processes are found in (1) Plan and define program, (2) Process design and development, (3) Product and process validation, (4) Mass production preparation, (5) Feedback, assessment and corrective action. After that the causes are analysed and improved each processes by core tools in ISO/TS16949 such as MSA ,FMEA and etc .These improvement requirements are issued in supplier quality manual for use in part approval process. These improvement requirements are implemented with Instrument panel components supplier and found the tendency of quality defective parts are reduced by the conclusion of average defective parts before improvement are reduced from 22.23 PPM since Jan-Dec ’10 to 14.25 PPM after improvement since April – July ’11 (reduction ratio 35.90 %) . Moreover the other better results are the operation as follow advance products quality planning is just in time, there are special characteristics of parts for monitoring problems issues in processes, dimensional of parts are continuously controlled, process preparation before production part approval passed the audit criteria, recommended actions in FMEA are reviewed, measurement system analysis for attribute data is studied and conformed the requirement, new model identification label is made as follow standard, and recommended actions in control plan are reviewed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32637
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.409
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.409
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somyot_ka.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.