Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32641
Title: การผลิตฟิล์มบริโภคได้จากผงบุกผสมสารสกัดจากสมุนไพรไทยเพื่อยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ เบอร์ 4
Other Titles: Production of edible film from konjac powder incorporated with Thai medicinal plants extracts for extending shelf life of mangoes CV. Nam Dok Mai # 4
Authors: จุพาพันธุ์ รัตนนิล
Advisors: ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล
รชา เทพษร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Chaleeda.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: มะม่วงน้ำดอกไม้ -- การเก็บและรักษา
สารเคลือบบริโภคได้
บุก (พืช)
Mango -- Preservation
Edible coatings
Konjak
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เป็นเชื้อสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสที่มักพบบนผลมะม่วงน้ำดอกไม้หลังจากการเก็บเกี่ยว งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากสมุนไพรไทยวงศ์ขิง 3 ชนิด ประกอบด้วย กระชาย ข่า และขิง วิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดที่ผสมในฟิล์มบุกเพื่อใช้ต้านเชื้อรา C. gloeosporioides ศึกษาสมบัติเชิงกล และผลการต้านเชื้อราในฟิล์มบริโภคได้จากผงบุกผสมสารสกัดจากสมุนไพรไทย เพื่อนำไปใช้ยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 จากการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากสมุนไพรไทยวงศ์ขิงทั้ง 3 ชนิด สกัดด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ เอทานอล และน้ำกลั่น เพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. gloeosporioides พบว่า สารสกัดจากสมุนไพรทุกชนิดในทุกตัวทำละลาย มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่นำมาทดสอบ โดยสารสกัดจากกระชายและข่าที่สกัดด้วยเอทานอล มีค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถทำลายเชื้อ (MFC) ที่ดีที่สุดต่อเชื้อราดังกล่าวเท่ากัน (MIC = 2,500 µg/ml และ MFC = 2,500 µg/ml) เมื่อนำสารสกัดจากสมุนไพรที่เลือก (กระชาย และ ข่า ที่สกัดด้วยเอทานอล) มาผสมในฟิล์มบุกที่ระดับความเข้มข้น 2,500 - 30,000 µg/ml และศึกษาผลการต้านเชื้อราของสารละลายบุกและแผ่นฟิล์มบุก โดยพิจารณาจากการเกิดบริเวณยับยั้ง (clear zone) พบว่าสารละลายบุกที่ผสมสารสกัดจากกระชาย และ ข่า ความเข้มข้น 10,000 µg/ml เป็นความเข้มข้นต่ำที่สุดที่เกิดบริเวณยับยั้ง ส่วนการยับยั้งของแผ่นฟิล์ม พบว่าฟิล์มบุกผสมสารสกัดจากข่าที่ความเข้มข้น 10,000 µg/ml เป็นความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ในขณะที่ฟิล์มบุกผสมสารสกัดจากกระชายความเข้มข้น 20,000 µg/ml เป็นความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ เมื่อทดสอบสมบัติของฟิล์มบุกผสมสารสกัดจากกระชาย และ ข่า พบว่ามีค่า Tensile Strength และ Elongation ต่ำกว่าฟิล์มบุกที่ไม่ผสมสารสกัด ค่า WVTR ของฟิล์มบุกผสมสารสกัดมีค่าน้อยกว่าฟิล์มบุกที่ไม่ผสมสารสกัด ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำที่ดีกว่า เมื่อนำฟิล์มบริโภคได้จากผงบุกผสมสารสกัดจากข่าความเข้มข้น 30,000 µg/ml ไปใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13±1°C ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% พบว่า สารเคลือบผิวจากบุกช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของมะม่วงได้ โดยสารเคลือบผิวจากบุก และสารเคลือบผิวจากบุกผสมสารสกัดข่าสามารถลดการสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อ ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด ปริมาณกรด และช่วยลดความรุนแรงของโรคแอนแทรคโนสได้ แต่สารเคลือบผิวส่งผลให้มะม่วงเกิดกลิ่นหมัก และแผ่นฟิล์มบุกผสมสารสกัดข่าสามารถลดความรุนแรงในการเกิดโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุม ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 30 วัน
Other Abstract: Colletotrichum gloeosporioides is the cause of anthracnose disease on mango CV. Nam Dok Mai after harvesting. This research was aimed to study the effect of using crude extracts of Thai medicinal plants including Boesenbergia pandurata, Alpinia galanga and Zingiber officinal on prevention of anthracnose disease. Both water and ethanolic extracts of zingiberaceous presented the growth inhibition of C. gloeosporioides, especially the ethanolic extracts of B. pandurata and A. galanga showed the outstanding antifungal activity against C. gloeosporioides. The minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum fungicidal concentration (MFC) values of plant extracts were 2,500 µg/ml. Ethanolic extract of B. pandurata and A. galanga at the concentration ranged from 2,500 - 30,000 µg/ml were incorporated in Konjac solution to form edible film. The antifungal activity of the edible film solution and edible film were tested. It was found that Konjac film solution incorporated with A. galanga and B. pandurata extracts required 10,000 µg/ml as a minimum concentration to inhibit C. gloeosporioides. However, for Konjac film, the minimum concentration of B. pandurata and A. galanga extracts to inhibit C. gloeosporioides were 10,000 and 20,000 µg/ml, respectively. Mechanical properties of Konjac film incorporated with ethanolic B. pandurata and A. galanga extracts were determined. Tensile Strength and Elongation value of incorporated film were lower than the one without B. pandurata and A. galanga extracts. WVTR value of incorporated Konjac film was also lower than the one without B. pandurata and A. galanga extracts which reveals that it has better ability to prevent water vapour. The use of Konjac solution incorporated with A. galangal extract at 30,000 µg/ml for extending shelf life of mangoes storage temperature 13±1°C and relative humidity 90-95% was studied. The results showed that the coating delayed the change of mangoes’s quality. Both Konjac solution and Konjac solution incorporated with A. galanga could significantly retard weight loss, softening, changes of peel color, total solution solid and titratable actidity, and decreases anthracnose disease. But the coating made off-flavor. Konjac film incorporated with A. galanga can retard anthracnose disease when compare with control during 30 days storage.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32641
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.411
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.411
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jupapan_ra.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.