Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32687
Title: การวิเคราะห์หาค่าตัวคูณลดกำบังสำหรับองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตามสภาพการก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Analysis of capacity reduction factors for reinforced concrete members as constructed in Bangkok metropolitan area
Authors: อัฏฐ์ อมาตยกุล
Advisors: เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิเคราะห์กำลังของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยทฤษฏีกำลังประลัย จะต้องใช้ตัวคูณลดกำลังปรับค่าเพื่อให้สอดคล้องกับความแปรปรวนต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องวัสดุ ขนาด ฝีมือการก่อสร้างและทฤษฏีการคำนวณออกแบบ เพื่อให้ได้ความปลอดภัยที่พอเพียง การศึกษาวิจัยนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรที่มีผลโดยตรงต่อกำลังการรับแรงขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยถือข้อมูลตามสภาพการก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง หลังจากนั้นได้จำลองแบบข้อมูล โดยใช้วิธีการสุ่มของมอนติ – คาร์โล ให้เป็นไปตามรูปแบบการกระจายที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ค่าทางสถิติของกำลังรับแรงประเภทต่าง ๆ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาค่าตัวคูณลดกำลังรับแรงแต่ละประเภท ได้ใช้ทฤษฎีของความน่าเชื่อถือทางโครงสร้าง โดยยึดถือค่าดัชนีความปลอดภัยตามมาตรฐานการออกแบบสากล และยึดเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนและความไม่แน่นอนตามการศึกษาของ Grant, Mirza และ MacGregor ซึ่งได้เสนอแนะเพื่อใช้ในมาตรฐานการออกแบบของ ACI จากการศึกษาวิจัยข้อมูลสำหรับตัวแปรของกำลังการรับแรงพบว่า กำลังคลากของเหล็กเสริมที่ได้จริงมีค่ามากกว่าที่กำหนดประมาณ 15 % - 30 % กำลังอัดของคอนกรีตที่สูงกว่า 200 กก. /ซม². จะมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าที่กำหนดประมาณ 20 กก. /ซม². ขนาดหน้าตัดขององค์อาคารจะมีความเบี่ยงเบนในทางบวกประมาณ 0.2 – 0.5 ซม. ความลึกประสิทธิผลมีค่าน้อยกว่าที่กำหนดประมาณ 0.1 – 1.8 ซม. การวิเคราะห์ตามทฤษฎีความน่าเชื้อถือทางโครงสร้าง ให้ค่าตัวคูณลดกำลังรับแรงดัดตามปริมาณเหล็กเสริมและกำลังวัสดุ โดยมีค่าประมาณ 0.77 – 0.95 ในขณะที่คูณลดกำลังรับแรงอัดและตัวคูณลดกำลังรับแรงเฉือน จะมีค่าประมาณ 0.60 – 0.70 และ 0.75 – 0.85 ตามลำดับ ค่าจากการวิเคราะห์ได้เปรียบเทียบกับผลการศึกษาในสภาพวัสดุ และการก่อสร้างในอเมริกาเหนือ พบว่าให้ค่าที่สอดคล้องกันในทุกกรณีขององค์อาคาร เมื่อพิจารณาประกอบกับแนวโน้มการใช้กำลังวัสดุในการก่อสร้างแล้ว ค่าตัวคูณลดกำลังรับแรงดัด แรงอัด และแรงเฉือน ควรพิจารณาใช้ที่ 0.8, 0.65 และ 0.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ยังมิได้พิจารณาตัวคูณสำหรับน้ำหนักบรรทุกประกอบด้วย
Other Abstract: In analysis of reinforced concrete members using ultimate strength theory, the capacity reduction factors are required to control some variations of materials, sizes workmanship and design method. In this study, the number of variables which would directly affect the strength capacity of reinforced concrete members were collected from several construction sites in Bangkok Metropilitan area. Monte – Carlo simulation method was employed in modeling some major random variables to obtain the statistical values for structural reliability analysis. The safety index and the prediction error as recommended by Grnat, Mirza and MacGregor and adopted by ACI Standard were used in the analysis. The major variables which affect the strength of reinforced concrete members as collected have shown that the actual yield strength of reinforcing steel is 15 30 % higher than the specified value. For concrete compressive strength higher than 200 kh/cm², the average value is about 20 kg/cm² less than the specified value. The member cross – sections tend to about 0.2 – 0.5 cm larger than those shown on the construction drawings. The effective depths are 0.1 – 1.8 cm less than the specified values. The capacity reduction factors obtained from reliability analysis were found to be 0.77 – 0.85 for shear. These capacity reduction factors have shown very good agreement with the study conducted for the materials and construction in North America. By considering the materials and construction qualities in Bangkok area, the capacity reduction factors of 0.80, 0.65 and 0.80 may be appropriate for flexure, compression and shear, respectively, without considering the load factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32687
ISBN: 9745693707
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Att_am_front.pdf14.81 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch1.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch2.pdf14.72 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch3.pdf11.91 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch4.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch5.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch6.pdf6.3 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch7.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch8.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_ch9.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Att_am_back.pdf67.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.