Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32734
Title: การศึกษารูปแบบการหลั่งโปรตีนของไมโครเกลียเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วย LPS ในระบบเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีธาตุเหล็ก
Other Titles: Profiling of secretory proteins from LPS-stimulated microglia in iron-enriched cultures
Authors: สลีลา เตียวตระกูลศรี
Advisors: พูลลาภ ชีพสุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: poonlarp.c@chula.ac.th
Subjects: ไมโครเกลีย
เหล็ก
ธาตุเหล็กในร่างกาย
โปรตีโอมิกส์
ผนังเซลล์แบคทีเรีย
สมอง -- โรค
Microglia
Iron
Iron in the body
Proteomics
Bacterial cell walls
Brain -- Diseases
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสะสมของธาตุเหล็กอย่างผิดปกติในเนื้อสมองมีความสัมพันธ์กับกระบวนการเกิดพยาธิสภาพของโรคทางระบบประสาทหลายชนิด พยาธิวิทยาในระดับเซลล์พบ microglia ที่ถูกกระตุ้นมีธาตุเหล็กมาสะสมอย่างผิดปกติ ในปัจจุบันโมเลกุลที่ควบคุมการทำงานของ microglia ในสภาวะที่ถูกกระตุ้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเหล็กกับภาวะการถูกกระตุ้นของ microglia เป็นไปได้ว่าธาตุเหล็กอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถควบคุมการทำงานของ microglia ได้ ดังนั้นเพื่อศึกษาผลของธาตุเหล็กที่มีต่อรูปแบบและชนิดของโปรตีนที่หลั่งจาก microglia ที่ถูกกระตุ้น เซลล์เพาะเลี้ยง microglia ได้ถูกกระตุ้นด้วย LPS เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ในสภาวะที่มีและไม่มีธาตุเหล็ก จากนั้นโปรตีนที่เซลล์หลั่งออกมาได้ถูกนำมาแยกตามประจุและมวลโมเลกุลโดยอาศัยเทคนิค 2D-PAGE จุดโปรตีนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 2 เท่าและมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ได้ถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่อง LC-MS/MS และนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของ NCBI ผลการศึกษาพบว่าธาตุเหล็กเปลี่ยนแปลงรูปแบบโปรตีนที่หลั่งมาจาก microglia ที่ถูกกระตุ้น และสามารถแบ่งโปรตีนที่ได้ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นโปรตีนที่มีการหลั่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อมีธาตุเหล็ก ได้แก่ transaldolase1 และกลุ่มที่ 2 เป็นโปรตีนที่มีการหลั่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อมีธาตุเหล็ก ได้แก่ dUTPase และ actin-related protein ผลการศึกษาที่ได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นว่าธาตุเหล็กสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบและชนิดของโปรตีนที่หลั่งออกมาจาก microglia ได้ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนแต่ละชนิดตามที่ได้ระบุไว้จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนเหล่านี้ในระบบเซลล์เพาะเลี้ยงและในสัตว์ทดลองต่อไป
Other Abstract: Abnormal iron accumulation in specific brain regions has been associated with the pathogenesis of many neurodegenerative diseases. At cellular level, unusual iron accumulation is observed in activated microglia. At present, little is known about molecules that control microglial activation. Regarding the relationship between iron and microglial activation, it is possible that iron may have an essential role in regulating microglial activation. Therefore, to study the effect of iron on secretory profile of activated microglia, microglia cell cultures were stimulated with LPS for 6 hours in the presence or absence of iron. Then, secreted proteins were separated by charges and molecular weights using 2D-PAGE technique. Protein spots that were altered at least two- folds with statistic significance between groups were analyzed by LC-MS/MS and the NCBI database search were performed. The results demonstrated that iron altered secretory profiles of activated microglia. These candidate proteins were divided into two groups. The first group was proteins that were significantly increased in the presence of iron. It was identified as transaldolase1. The second group was proteins that were significantly decreased in the presence of iron. They were identified as dUTPase and actin-related protein. These preliminary results demonstrated that the presence of iron altered secretory profile of LPS-activated microglia. However, alteration in expression of each protein described requires further study in both cell culture, as well as an in vivo systems.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32734
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1706
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1706
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saleela_te.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.