Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32756
Title: การแก้ไขความแออัดของระบบส่งโดยพิจารณาการซื้อขายไฟฟ้าแบบคู่สัญญา
Other Titles: Transmission system congestion alleviation with consideration of bilateral contracts
Authors: ยุคลธร บรรเทิง
Advisors: กุลยศ อุดมวงศ์เสรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: kulyos.a@eng.chula.ac.th
Subjects: การไฟฟ้า -- การจัดการ
การจ่ายพลังงานไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้ากำลัง
การส่งกำลังไฟฟ้า
Electric utilities -- Management
Electric power distribution
Electric power systems
Electric power transmission
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กิจการไฟฟ้านั้นเป็นสาธารณูปโภคหลักที่สำคัญของประเทศ ซึ่งแต่เดิมภาครัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเพียงผู้เดียว ส่วนผู้ซื้อไฟฟ้าไม่สามารถเลือกซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายอื่นได้ แต่ในปัจจุบันหลายประเทศได้ทำการปรับโครงสร้างและการแปรรูปกิจการไฟฟ้าขึ้น ซึ่งทำให้กิจการไฟฟ้ามีการแข่งขันกันมากขึ้นและมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในการที่จะสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าเพื่อให้ได้คุณภาพและมีบริการที่ดีในราคาที่เหมาะสม โดยทั่วไปกิจการไฟฟ้าหลังจากการเปลี่ยนโครงสร้างจะก่อให้เกิดรูปแบบของการซื้อขายไฟฟ้า 3 รูปแบบหลัก คือ การซื้อขายไฟฟ้าผ่านตลาดกลาง การซื้อขายไฟฟ้าแบบคู่สัญญา และการซื้อขายไฟฟ้าแบบผสมระหว่างการซื้อขายไฟฟ้าผ่านตลาดกลางและการซื้อขายไฟฟ้าแบบคู่สัญญา โดยปกติระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่มีความเสี่ยงที่จะมีอุปกรณ์ทำงานผิดปกติทำให้เกิดปัญหาความแออัดในระบบ เมื่อเกิดปัญหาความแออัดขึ้นในระบบส่ง หากระบบดังกล่าวไม่ได้รับการปัญหาอย่างรวดเร็วและมีความเหมาะสม อาจส่งผลให้ระบบทำงานผิดพลาด สูญเสียเสถียรภาพ ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างได้ สำหรับระบบไฟฟ้าหลังการแปรรูปการแก้ไขปัญหาความแออัดก็จะแตกต่างกันไปตามโครงสร้างการซื้อขายไฟฟ้า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาความแออัดของระบบส่งโดยพิจารณาโครงสร้างการซื้อขายไฟฟ้าแบบคู่สัญญา โดยใช้วิธีการปลดโหลดในคู่สัญญา การปรับแรงดันที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการปรับแท็ปหม้อแปลงของระบบร่วมกัน โดยการแก้ปัญหานี้จะมุ่งเน้นประมาณรูปแบบของฟังชันก์ในการแก้ปัญหาให้เป็นแบบเชิงเส้นเพื่อเพิ่มความเร็วในการคำนวณให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้การปลดโหลด การปรับแรงดันที่บัส และการปรับแท็ปหม้อแปลงที่เหมาะสมที่สุด วิธีการที่นำเสนอได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับระบบ IEEE RTS-79 ผลการทดสอบที่ได้เป็นที่น่าพอใจ
Other Abstract: Nowadays, Power system structures around the world are changed a vertically integrated system, where consumers can only buy electricity from a utility, to a more open market system, where consumers can choose their supplier. Under these new structures, there are three main types of markets structures, i.e. pool-based model, bilateral-contract-based models and hybrid model. Generally, a huge power system may have high risk of equipment failure leading to congestion problems. These problems may cause serious blackout unless proper load shedding scheme is performed in time. The proper load shedding schemes vary depending on the power market structures. This thesis proposes a transmission congestion management by load shedding scheme altogether with adjustment of voltage at generator and adjustment of the transformer’s tap in the bilateral contract market. In this thesis, the linearization technique to transform the nonlinear optimization model to an approximated linearized model is used. With the approximated linear optimization model, it can solve the problem under contingency condition with faster speed while retaining acceptable accuracy; therefore it is suitable to be used in practice. This proposed method has been tested with IEEE RTS-79 system. Satisfactory results were obtained.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32756
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1301
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1301
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yukholthorn_bu.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.