Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32788
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารีณา ศรีวนิชย์-
dc.contributor.authorธัญลักษณ์ เจริญศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-04T02:45:47Z-
dc.date.available2013-07-04T02:45:47Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32788-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractกฎหมายศุลกากรเป็นกฎหมายฉบับหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารและตอบสนองเป้าหมายทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายศุลกากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กฎหมายศุลกากรจึงได้กำหนดความผิดและโทษทางอาญาไว้ แต่เนื่องจากความผิดอาญาตามกฎหมายศุลกากรนี้เป็นความผิดทางเทคนิคที่เกิดจากข้อห้าม (mala prohibita) กฎหมายศุลกากรจึงได้กำหนดลักษณะพิเศษเกี่ยวกับการระงับคดีไว้ กล่าวคือสำหรับคดีอาญาทั่วไป โดยปกติคดีจะไปสิ้นสุดในชั้นศาลอันเป็นการใช้อำนาจตุลาการ แต่คดีศุลกากรมีพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ระงับคดีได้โดยพนักงานสอบสวนหรืออธิบดีกรมศุลกากร (มาตรา 102) หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้อง (มาตรา 102 ทวิ) แล้วแต่กรณี เมื่อบุคคลที่ถูกกล่าวหายินยอมและใช้ค่าปรับ หรือได้ทำความตกลง หรือทำทัณฑ์บน หรือให้ประกัน แต่หากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดมิได้ยินยอมและใช้ค่าปรับ หรือมิได้ทำความตกลง หรือทำทัณฑ์บน หรือให้ประกัน อย่างใดๆไว้ แสดงว่าผู้นั้นไม่ประสงค์ให้มีการเปรียบเทียบเพื่อให้คดีระงับไปในชั้นศุลกากร ก็จะมีการนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามทางปกติและสิ้นสุดในชั้นศาล ดังนั้น แม้กฎหมายศุลกากรจะได้วางหลักเกณฑ์ให้ฝ่ายบริหาร คือ อธิบดีกรมศุลกากร หรือคณะกรรมการมีบทบาทในการเปรียบเทียบและงดการฟ้องร้องได้ แต่ก็เป็นเพียงการใช้อำนาจกึ่งตุลาการ (Quasi Judicial Function) เท่านั้น อย่างไรก็ตาม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายศุลกากรไม่เอื้ออำนวยให้ผู้ถูกกล่าวหาเลือกใช้วิธีการดำเนินคดีในศาลซึ่งเป็นองค์กรกลางที่มีความเป็นธรรมเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้เท่าที่ควร เช่น ในเรื่องการกำหนดโทษสำหรับความผิดอาญาศุลกากรที่เคร่งครัดและรุนแรงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับการกำหนดโทษในการระงับคดีในชั้นศุลกากร ประกอบกับมีข้อขัดข้องและอุปสรรคในการดำเนินคดีศุลกากรตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทำให้คดีส่วนใหญ่จบลงในชั้นศุลกากรโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบในชั้นศาลอันเป็นองค์กรตุลาการที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี ดังนั้น จึงเสนอแนะให้พัฒนามาตรการที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสมดุลและความเป็นธรรมในการให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้เลือกใช้วิธีการดำเนินคดีในชั้นศาลหรือวิธีการเปรียบเทียบระงับคดีในชั้นศุลกากรอีกทั้งเพื่อเป็นการขจัดข้อขัดข้องและอุปสรรคต่างๆในการดำเนินคดีศุลกากรตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาen_US
dc.description.abstractalternativeCustoms law is one of the most significant laws to manage including attain economic and financial goals of the country. To efficiently enforce Customs law, it imposes criminal offences and punishment. But since criminal offenses under Customs law are mala prohibita, the laws provide special process for settlement in customs process. Unlike other type of criminal prosecution in which the accused are prosecuted and adjudicated in court, a judicial organization, customs cases may be settled in an internal customs process by the Director-General or an inquiry official or a committee under Customs Act B.E.2469 (section 102 and 102 bis) if the accused pay or make an agreement to pay or provide a bond or security to pay for fine as Director-General may deem fit. On the other hand, if they choose not to settle matter in customs process due to having faith in their innocence, the regular process of criminal procedure will be implemented and the case will be adjudicated by Courts. However, this thesis found that Customs laws and practices do not facilitate the accused to opt for such regular process to prove their innocence. This is due, for example, to the risk of facing higher imposition of punishment by the Court than fines imposed by the settlement in the customs process. In addition, certain obstacles in the convention prosecution of customs cases are also presented. This thesis thus suggested that legal measures under Customs law should be improved for the purpose of fairness and balancing in the options to acceptance settlement with customs or prosecution in criminal court.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1440-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศุลกากร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectการตรวจสอบทางศุลกากรen_US
dc.subjectศุลกากร -- บทบัญญัติทางอาญาen_US
dc.subjectกระบวนการกำหนดโทษคดีอาญาen_US
dc.subjectCustoms administration -- Law and legislationen_US
dc.subjectCustoms inspectionen_US
dc.subjectCustoms administration -- Criminal provisionsen_US
dc.subjectSentences (Criminal procedure)en_US
dc.titleการดำเนินคดีศุลกากร : ศึกษาแนวทางในการกำหนดโทษสำหรับความผิดอาญาศุลกากรen_US
dc.title.alternativeThe customs prosecution : study on ways of imposition for criminal customs offencesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpareena.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1440-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanyalak_Ch.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.