Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32849
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ | - |
dc.contributor.author | สุชาติ อรุณศิริวัฒนา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-05T06:40:37Z | - |
dc.date.available | 2013-07-05T06:40:37Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32849 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | ที่มา โรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นภาวะที่พบได้บ่อย จากการสำรวจเรื่องผลการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานในทวีปเอเซีย 7 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยในปี พ.ศ. 2545 พบว่ามีเพียง 11%ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วยที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย การดื่มน้ำกระเจี๊ยบช่วยลดความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือดได้ หญ้าหวานเป็นพืชที่มีรสหวานโดยไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีใช้กันมามากกว่า 20 ปี และไม่พบผลข้างเคียงในขนาดที่ใช้ในการใช้เป็นสารแทนความหวาน ทางคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำกระเจี๊ยบและหญ้าหวานซึ่งเป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการลดความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบ Randomized Controlled trial ผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย จะหยุดยาลดความดันโลหิต 1 ชนิด (ยกเว้น β-blocker) เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ จากนั้นนำเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติไปวัดที่บ้านโดยวัดวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิคและ/หรือไดแอสโตลิคอยู่ระหว่าง 135/85-160/100 มิลลิเมตรปรอท จะถูกคัดเลือกเข้าสู่การศึกษา โดยจะได้รับการตรวจ ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ค่าการทำงานของไต และค่าเอนไซม์ตับ และสุ่มแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยผู้ป่วยกลุ่มที่หนึ่งจะได้ดื่มกระเจี๊ยบและหญ้าหวานในน้ำร้อน 240 มิลลิลิตร เช้า-เย็นระหว่างมื้ออาหารทุกวัน เป็นระยะเวลา 30 วัน ผู้ป่วยกลุ่มที่สองจะให้ดื่มน้ำร้อน 240 มิลลิลิตร เช้า-เย็นระหว่างมื้ออาหารเป็นระยะเวลา 30 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการวัดความดันโลหิตซ้ำโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติไปวัดที่บ้าน โดยวัดวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และจะได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดค่าการทำงานของไตและค่าเอนไซม์ตับซ้ำอีกครั้ง จากจำนวนผู้ป่วย 46 ราย ผลการวิจัยในกลุ่มดื่มน้ำกระเจี๊ยบและหญ้าหวานความดันโลหิตเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าร่วมโครงงานวิจัยเท่ากับ 145.1±6.56/82.9±8.47 มิลลิเมตรปรอท และ 140.9±9.00/81.4± 8.86 มิลลิเมตรปรอท ส่วนกลุ่มดื่มน้ำร้อน ความดันโลหิตเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าร่วมโครงงานวิจัยเท่ากับ 141.9 ± 5.88/81.8±8.47 มิลลิเมตรปรอท และ 144.8±6.02/83.7±8.49มิลลิเมตรปรอทตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตซิสโตลิคและไดแอสโตลิคระหว่างสองกลุ่มนั้นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001 และ p=0.002 ตามลำดับ) ไม่พบความแตกต่างระหว่างระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม การศึกษานี้พบว่าการดื่มน้ำกระเจี๊ยบและหญ้าหวานมีผลต่อการลดลงของระดับความดันโลหิตซิสโตลิคและไดแอสโตลิค ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาล, โคเลสเตอรอล, ไตรกรีเซอไรด์, เอชดีแอล และแอลดีแอลในเลือด | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: Hypertension is a common global health problem with significant mortality and morbidity in diabetic patients. Roselle (Hibiscus sabdariffa) is a plant known in many countries. Folk medicine, the calyces infusion is used for the treatment of several conditions including high blood pressure (BP). Stevia (Stevia rebaudiana) has been used as a commercial sweetening agent for more than 20 years. Recent data have shown its short-term effectiveness and tolerability in patients with hypertension. The aim of this study was to evaluate the antihypertensive effect of Roselle (Hibiscus sabdariffa) and Stevia (Stevia rebaudiana) in Thai hypertensive and diabetic patients. Methods: Diabetic patients with mild hypertension at outpatient department were included. After informed consents, the patients were randomly allocated to drink 240 ml roselle and stevia infusion or hot water two times a day for 1 month. Their blood pressures were measured by self-monitored blood pressure two-times twice a day for 7 days before and at day 31-37 of the study. The mean systolic and diastolic blood pressure at the baseline and after 1 month were compared. Results: Forty six diabetic patients with mild hypertension were recruited. The mean of systolic blood pressure in the roselle and stevia group decreased from 145.1±6.56 mmHg at baseline to140.9±9.00 mmHg after 1 month (p<0.001), whereas changed from 141.9 ± 5.88 to 144.8±6.02 mmHg in the drinking water group during the same period.The mean of diastolic blood pressure in the roselle and stevia group decreased from 82.9±8.47 mmHg at baseline to 81.4± 8.86 mmHg after 1 month whereas changed from 81.8±8.47 to 83.7± 8.49 mmHg in the drinking water group during the same period (p=0.02). There is no statistically significant effect on blood glucose level and lipid profile in both the roselle and stevia and drinking water group. No significant adverse effect and intolerability were observed. Conclusion: We concluded that roselle and stevia infusions may be an effective modality considered as an alternative or supplementary therapy for Thai diabetic patients with mild hypertension. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1332 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความดันเลือดสูง -- การรักษา | en_US |
dc.subject | เบาหวาน -- ผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | เบาหวาน -- ภาวะแทรกซ้อน | en_US |
dc.subject | กระเจี๊ยบ -- การใช้รักษา | en_US |
dc.subject | หญ้าหวาน -- การใช้รักษา | en_US |
dc.subject | Hypertension -- Treatment | en_US |
dc.subject | Diabetics | en_US |
dc.subject | Diabetics -- Complications | en_US |
dc.subject | Roselle -- Therapeutic use | en_US |
dc.subject | Stevia rebaudiana -- Therapeutic use | en_US |
dc.title | ผลของการดื่มน้ำกระเจี๊ยบและหญ้าหวานต่อภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en_US |
dc.title.alternative | The effects of Roselle (Hibiscus sabdariffa) and Stevia (Stevia rebaudiana) on hypertension in patients with type 2 diabetes at King Chulalongkorn Memorial Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | somkiat.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1332 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suchart_ar.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.