Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32883
Title: | การพัฒนารูปแบบยูเลิร์นนิ่งโดยใช้แนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติและการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม |
Other Titles: | Development of a u-learning model using the concepts of knowledge sharing in a community of practice and project-based learning to develop material science technology innovations for small and medium enterprises |
Authors: | ชรีย์พร ภูมา |
Advisors: | ใจทิพย์ ณ สงขลา เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jaitip.N@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การบริหารองค์ความรู้ การเรียนรู้แบบทุกที่ทุกเวลา การเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน ชุมชนนักปฏิบัติ การเรียนรู้ ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ Knowledge management Ubiquitous learning Project-based learning Communities of practice Learning Instructional systems -- Design |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบยูเลิร์นนิ่งโดยใช้แนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติและการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) พัฒนารูปแบบโดยศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างต้นแบบรูปแบบผ่านกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มของ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้แบบทุกที่ทุกเวลา การพัฒนาเว็บไซต์ การจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ การอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมโดยใช้โครงการเป็นฐาน 2) ศึกษาผลของการใช้งานตามรูปแบบกับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 20 คนในเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เรื่อง “กาวฮิป” เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระยะที่ 3. นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนยูเลิร์นนิ่งฯ เครื่องมือที่ใช่ได้แก่ เว็บไซต์ยูเลิร์นนิ่ง และแบบวัดนวัตกรรมวัสดุศาสตร์แบบโครงการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบยูเลิร์นนิ่ง ฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1)เครือข่ายสมาชิกในชุมชนนักปฏิบัติ 2) องค์ความรู้ผลงานวิจัย หรือกระบวนการเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ 3) เทคโนโลยีการเรียนรู้แบบทุกที่ทุกเวลา หรือยูเลิร์นนิ่ง 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนักปฏิบัติ โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงการ มีระยะการดำเนินการตามร่างรูปแบบ ฯ ประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะ ที่ 1) จัดตั้งชุมชน คิดค้นนวัตกรรม เพื่อการเตรียมการก่อนการเรียนการสอน ระยะ ที่ 2) ถ่ายโอนคลังความรู้สู่ชุมชนโดยใช้เครื่องมือยูเลิร์นนิ่งในการเรียนรู้แบบโครงการ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1) ขั้นการแนะนำ 2) ขั้นมอบหมายงาน 3) ขั้นจัดให้ใช้ทรัพยากร 4) ขั้นกำหนดกระบวนการ 5) ขั้นการชี้นำ หรือฐานการช่วยเหลือ 6) ขั้นการจัดให้มีการระดมสมองกับกลุ่ม 7) ขั้นการสะท้อนกลับ ผลการทดลองรูปแบบพบว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างนวัตกรรมวัสดุศาสตร์แบบโครงการ โดยเกิดชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์ตามรูปแบบได้ในระดับดี ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยการเข้าเรียนรู้และการสนทนาอย่างมีสาระของผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชิ้นงานนวัตกรรมให้มีผลดีขึ้น และผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ตามเนื้อหาโดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
Other Abstract: | The purpose of thesis research study was to develop a U-Learning model for knowledge sharing of community of practice using project-based learning to make an innovation of material science technology of small and medium enterprises (SMEs). The research and development (R&D) process was divided into 3 phases: 1) study, analyze, and synthesize related researches and documents, and develop the prototype and instrument of U-Learning model. Subsequently, interview focus group meeting and verify by experts opinion concerning model; especially U-Learning, Website development, Technology Transfer, Knowledge Management experts; 2) study the effects of the model on 20 SMEs in material science technology “Hip glue” subject for 12 weeks; and 3) propose the U-Learning model. The instruments used in this research consisted of social network learning: U-Learning website and project innovation evaluation form. Quantitative statistics used in this study were frequency, distributions, percentage, mean, standard deviation, correlation and t-test dependent. The research finding indicated that: The U-Learning model consisted of 4 components: 1) communication of practice (CoP) network 2) knowledge, technology or R&D process of material science 3) U-Learning technology and process 4) knowledge sharing in CoP using project-based learning. Process of U-Learning model was divided into 2 phases: 1) CoP initiated and innovation created for pre-learning 2) transfer knowledge asset to CoP by U-Learning website consisted of 7 processes: 1) Introduction 2) Task 3) Resources 4) Motivation process 5) Guidance 6) Brainstorm 7) Reflexive. The subjects were shared and produced material science innovation project and created online communication of practice network in good leverage. Beside the mean of online learning and project-based learning chat in each group related to degree of developing material science innovation project. There was significant difference between learners’ pretest and posttest in material science innovation project learning scores at 0.05 levels. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32883 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1314 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1314 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chareeporn_ph.pdf | 6.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.