Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32897
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิรงรอง รามสูต-
dc.contributor.authorวีณา บารมี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-07-08T04:34:48Z-
dc.date.available2013-07-08T04:34:48Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32897-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการดำเนินธุรกิจสื่อครบวงจรของบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) นโยบายและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจนิตยสารในเครือบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) รูปแบบและการนำเสนอเนื้อหาของนิตยสาร รวมทั้งการนำเสนอสินค้าวัฒนธรรมที่ปรากฏในนิตยสาร และภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมในนิตยสาร ที่ส่งเสริมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรม โดยมีนิตยสารอิมเมจ, นิตยสารมาดาม ฟิกาโร, นิตยสารเฮอร์ เวิลด์, นิตยสารแมกซิม และนิตยสารอิน แมกกาซีน เป็นกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) มีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจสื่อครบวงจร สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองของสื่อมวลชน โดยมีการรวมตัวทางธุรกิจผลิตเพลงอย่างครบวงจรในแนวตั้ง และการรวมตัวของธุรกิจสื่อในแนวนอน ทั้งสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์จนสามารถครอบคลุมสื่อทุกประเภท รวมทั้งมีการกระจายตัวไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจบันเทิงเพื่อกระจายความเสี่ยง 2. นโยบายการดำเนินธุรกิจนิตยสาร เป็นการให้นโยบายตามสถานการณ์การแข่งขันในตลาดสื่อ เช่น นโยบายขายสื่อแบบแพ็คเกจ ทำให้บวกค่าโฆษณาได้สูงขึ้น และเพิ่มศักยภาพของสื่อในเครือ รวมทั้งวางกลยุทธ์ด้านเนื้อหาที่ส่งเสริมให้มีการทำงานข้ามสื่อ กลยุทธ์ทางการตลาดที่เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าสื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง 3. รูปแบบและการนำเสนอเนื้อหาในนิตยสาร สะท้อนให้เห็นถึงการนำเสนอสินค้าวัฒนธรรมในเครือแกรมมี่ โดยนักร้องนักแสดงเป็นสินค้าวัฒนธรรมที่มีการนำเสนอมากที่สุด รองลงมาคือสินค้าเพลง และรายการทางวิทยุถูกนำเสนอน้อยที่สุด โดยนิตยสารอิน แมกกาซีน เป็นนิตยสารที่มีการนำเสนอสินค้าวัฒนธรรมในเครือแกรมมี่มากที่สุด 4. ภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมในนิตยสาร สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมด้านต่างๆ ที่อยู่ในกระแสนิยม เช่น ค่านิยมสุขนิยม, ค่านิยมบริโภค และวัตถุนิยม โดยแกรมมี่ได้นำเสนอภาพของนักร้อง/นักแสดงตามกระแสนิยม เพื่อมุ่งเน้นให้นิตยสารขายได้ และเมื่อนิตยสารขายได้ก็จะทำให้เกิดการบริโภคต่อเนื่องไปยังสินค้าวัฒนธรรมประเภทอื่นๆ ในเครือแกรมมี่en_US
dc.description.abstractalternativeThis qualitative research has the objectives to study the following: the structure of media business integration of GMM (Grammy) Plc.; policy and strategies in the magazine business of GMM; presentation of GMM cultural products under different genres of content and forms in GMM magazines, presentation of cultural products and representations that promote consumption of cultural products. The studied magazines of GMM include Image magazine, Madame Figaro magazine, Her World magazine, Maxim magazine, and In magazine. The research has these findings: 1)GMM Grammy Plc. has a business structure of a fully integrated media conglomerate in line with the media monopoly model posited under the political economy of media perspective. The vertical integration is reflected in the company’s music industry while the horizontal integration is reflected in the cross-media ownership of the company that spans across all types of media as well as other non-media businesses to diversify risks; 2)Policy in managing the magazine business include bundling of media package to increase advertising revenues, cross-media content complementation planning, and marketing strategies to advertise magazine through other media products under GMM; 3)GMM cultural products are varyingly presented in GMM magazines. Singers/entertainers are the most frequently presented product, followed by music and radio programs Among the four studied magazines, In magazine is found to present the most number of GMM cultural products; 4)Cultural representations as found in the selected magazines reflect trendy values such as hedonism, consumerism and materialism. GMM presented these values through their singers/entertainers so that purchasers of the magazines would absorb these values and become consumers of other cultural products under GMM brand.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.660-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการออกแบบนิตยสารen_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับธุรกิจen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมวัฒนธรรมen_US
dc.subjectวารสารen_US
dc.subjectบริโภคศึกษาen_US
dc.subjectกลุ่มบริษัท -- ไทยen_US
dc.subjectบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่en_US
dc.subjectMagazine designen_US
dc.subjectMass media and businessen_US
dc.subjectCultural industriesen_US
dc.subjectPeriodicalsen_US
dc.subjectConsumer educationen_US
dc.subjectConglomerate corporations -- Thailanden_US
dc.subjectGMM Grammy PLC.en_US
dc.titleนิตยสาร เพื่อส่งเสริมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมขององค์กรธุรกิจสื่อครบวงจร : กรณีศึกษา บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)en_US
dc.title.alternativeMagazines to promote the consumption of cultural products of a media conglomerate : a case study of GMM Grammy (PLC.)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPirongrong.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.660-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weena_Ba.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.