Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32917
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นันทนา คชเสนี | - |
dc.contributor.advisor | ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ | - |
dc.contributor.author | กุศล เรืองประเทืองสุข | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | จันทบุรี | - |
dc.coverage.spatial | อ่าวคุ้งกระเบน | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-08T08:30:43Z | - |
dc.date.available | 2013-07-08T08:30:43Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32917 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | ความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตประชากรปูม้ากับปัจจัยทางภายภาพ ในแหล่งหญ้าทะเล อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ได้ดำเนินการโดยการศึกษาพลวัตของประชากรปูม้าในระยะที่เป็นแพลงก์ตอน ลูกปูม้าระยะหลังการลงเกาะ และตัวเต็มวัยในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล 2 ชนิด คือ หญ้าทะเลชะเงาใบยาว Enhalus acoroides และหญ้าทะเลผมนาง Halodule pinifolia ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พบว่าความหนาแน่นของประชากรปูม้าในระยะที่เป็นแพลงก์ตอน ลูกปูม้าระยะหลังการลงเกาะ และตัวเต็มวัยมีความแตกต่างกันระหว่างช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลากลางคืน และมีความแตกต่างกันตามฤดูกาล ประชากรปูม้าในระยะที่เป็นแพลงก์ตอนพบในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝน ปูม้าในระยะแพลงก์ตอนพบมากในบริเวณหญ้าชะเงาใบยาวมากกว่าบริเวณที่เป็นหญ้าผมนางและบริเวณที่ไม่มีแหล่งหญ้าทะเล ผลการศึกษาการกระจายและความหนาแน่นของประชากรในแหล่งหญ้าทะเลในช่วงที่มีการปล่อยไข่เป็นจำนวนมาก 2 ช่วง คือ ระหว่างต้นเดือนธันวาคม 2551 ถึงกลางเดือนมกราคม 2552 และระหว่างต้นเดือนเมษายน 2552 ถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2552 พบความหนาแน่นของลูกปูม้าแตกต่างกันในช่วงการเก็บตัวอย่างทั้งสองช่วงที่ทำการศึกษา ในช่วงการศึกษาสามารถประมาณความสำเร็จในการพัฒนาการของปูม้าในระยะที่เป็นแพลงก์ตอน จนถึงระยะที่ลงเกาะเป็นระยะ Megalopa พบว่าความสำเร็จในการพัฒนาของลูกปูม้าจนถึงการลงเกาะมีค่าสูงสุด ในแหล่งหญ้าชะเงาใบยาว รองลงมาคือในแหล่งหญ้าผมนาง ส่วนประชากรปูม้าวัยอ่อนพบหนาแน่นในแหล่งหญ้าผมนาง ส่วนปูม้าตัวเต็มวัยพบมากที่สุดในบริเวณที่ไม่มีแหล่งหญ้าทะเล เมื่อเทียบขนาดของปูม้าที่พบในอ่าวคุ้งกระเบนจะเห็นได้ว่าในสถานีที่เป็นแหล่งหญ้าทะเลพบปูม้าที่มีขนาดความกว้างกระดองที่เล็กกว่าในบริเวณที่ไม่มีแหล่งหญ้าทะเลในส่วนของพลวัตประชากรปูม้าวัยอ่อน และในระยะปูม้าโตเต็มวัย พบว่าอัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียมีค่าเป็น 1 : 0.5 ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างกระดอง (CW) และน้ำหนัก (W) ของปูม้าเพศผู้ คือ W = 0.0963CW2.8264 และปูม้าเพศเมีย คือ W = 0.1005CW2.7859 จากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ FiSAT โดยใช้ข้อมูลการกระจายความถี่ความกว้างกระดอง พบว่าค่าพารามิเตอร์การเติบโตของปู้ม้าเพศผู้ มีค่า L00 เท่ากับ 12.23 เซนติเมตร ค่า K เท่ากับ 0.56 ต่อปี ส่วนปูม้าเพศเมียมีค่า L00 เท่ากับ 11./- เซนติเมตร ค่า K เท่ากับ 1.10 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายรวมของปูม้าเพศผู้และเพศเมียมีค่าเท่ากับ 1.43 และ 0.83 ต่อปี ตามลำดับ ขนาดความยาวแรกจับมีค่า 1.46 เซนติเมตร และมีรูปแบบการทดแทนที่ตลอดทั้งปี โดยมีการทดแทนที่สูง 2 ช่วง คือ ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 และช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปัจจัยทางนิเวศที่มีผลต่อการกระจายความหนาแน่นของประชากรปูม้าระยะแพลงก์ตอนคือ ระดับความลึกที่แสงส่องถึงอุณหภูมิและปริมาณความเค็ม ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงว่าแหล่งหญ้าทะเลในอ่างคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี มีบทบาทในการทดแทนกลุ่มประชากรปูม้า โดยเป็นแหล่งอนุบาลลูกปูม้าในระยะที่เป็นแพลงก์ตอนและลูกปูม้าระยะหลังการลงเกาะ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Relationships between population dynamics of blue swimming crab, Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758), and physical factors of seagrass bed, Khung Krabaen Bay, Chanthaburi Province was determined by the study of population dynamics of blue swimming crab in planktonic stage, post A settlement and adult in two different seagrass beds, Enhalus acoroides and Halodule pinifolia from April 2008 to March 2009. Different densities of planktonic stage, post A settlement and adult were recorded during daytime and nighttime. High densities of planktonic stage were found in dry season. These planktonic stages were found highest in E. acoroides seagrass beds. In respective ranking were the densities in H. pinifolia seagrass beds and bare ground. Results From the distribution and density of crab population in two peaks of spawning season during December 2008 A January 2009 and April 2009 A May 2009, showed the different densities of crab population in planktonic stage during day and night sampling and the two spawning periods. The estimation on the success of planktonic development to settlement was higher in the E. acoroides seagrass beds than H. pinifolia seagrass beds and bare ground. Juvenile blue swimming crab preferred the H. pinifolia beds while the adult crab preferred the bare ground. Carapace width of crabs in seagrass beds were smaller than crabs in bare ground. The sex ratio of male to female was 1 : 0.5. The relationships between carapace width and weight were W = 0.0963CW2.8264 and W = 0.1005CW2.7859 in male and female crabs, respectively. The data on crab population dynamics have been calculated by the FiSAT program based on carapace width and frequency distribution. The growth parameter of male crab were L∞ = 12.23 cm.; K = 0.56 per year while the growth parameter of the female crab were L∞ = 11.23 cm.; K = 1.10 per year while total mortality of male and female crabs were indicated by 1.43 and 0.83 per year, respectively The probability of capture (L50%) was 1.46 cm. The recruitment period occurred all year but with two peaks. The first peak was during June to August 2008 and the second peak was during December 2008 to February 2009. The physical factors of seagrass bed that influenced the distribution and density of planktonic stage are transparency, temperature and salinity. This study revealed the importance of seagrass beds in Khung Krabaen Bay, Chanthaburi Province in the recruitment of blue swimming crab populations as nursery ground for planktonic and post A settlement stages. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.407 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ปูม้า -- ไทย -- อ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี) | en_US |
dc.subject | ประชากรสัตว์ | en_US |
dc.subject | หญ้าทะเล -- ไทย -- อ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี) | en_US |
dc.subject | อ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี) | en_US |
dc.subject | Blue swimming crab -- Thailand -- Kung Krabaen Bay (Chanthaburi) | en_US |
dc.subject | Animal populations | en_US |
dc.subject | Seagrasses -- Thailand -- Kung Krabaen Bay (Chanthaburi) | en_US |
dc.subject | Kung Krabaen Bay (Chanthaburi) | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตประชากรปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) กับปัจจัยทางกายภาพของแหล่งหญ้าทะเล อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี | en_US |
dc.title.alternative | Relationships between population dynamics of Blue Swimming Crab, Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758), and physical factors of Seagrass Bed, Khung Krabaen Bay, Chanthaburi Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สัตววิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | gnantana@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.407 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kusol_ra.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.