Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32971
Title: การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกในหลักสูตรดนตรีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
Other Titles: Proposed guidelines for organizing westren music history course in music curricula in public higher education institutions
Authors: สิทธิพร สวยกลาง
Advisors: ณรุทธ์ สุทธจิตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ดนตรี -- ประวัติและวิจารณ์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
การวางแผนหลักสูตร
Music -- History and criticism -- Study and teaching (Higher)
Curriculum planning
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนและนำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ในหลักสูตรดนตรีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยมีกลุ่มประชากร คือ รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตกและผู้สอนในมหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนหลักสูตรดนตรีมากกว่า 10 ปีโดยรับผู้เรียนจำนวนจำกัด จำนวน 10 สถาบันทั่วทั้งประเทศและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนวิชาประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก 5 ท่าน ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสารและเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบเก็บข้อมูลเอกสารและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล ผลการวิจัยพบว่า 1 ) สภาพของวิชาเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรดนตรีในทุกสถาบัน มีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติศาสตร์และวรรณคดีดนตรีตะวันตกตั้งแต่ยุคกลางจนถึงยุคศตวรรษที่ 20 สอนโดยวิธีบรรยายเป็นหลัก ประเมินผลโดยการสอบวัดความร 2 ) การนำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติดนตรีตะวันตก แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 2.1) การสอนแบบประวัติศาสตร์ทั่วไป 2.2 ) การสอนแบบเรื่องคัดเฉพาะ 2.3) การสอนแบบผสมผสานแบบประวัติศาสตร์ทั่วไปและแบบเรื่องคัดเฉพาะ ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบมีความเหมาะกับสภาพผู้เรียนและผู้สอนที่ต่างกัน โดยมีแนวทางในการจัดการเรียนการสอน คือ (1) การกำหนดจุดประสงค์ ทั้ง 3 รูปแบบควรกำหนดให้ผู้เรียนมีทักษะครบทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัยเกี่ยวกับประวัติและวรรณคดีดนตรีตะวันตก (2) การกำหนดเนื้อหาสาระ ควรประกอบไปด้วยเนื้อหาด้านพื้นฐานสังคม แนวคิด รูปแบบและองค์ประกอบของดนตรีในแต่ละยุคสมัย ผลงานและชีวประวัติของนักประพันธ์เพลงที่สำคัญ แต่การสอนแบบเรื่องคัดเฉพาะเป็นการศึกษาในเชิงลึกของเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ (3) วิธีการสอน ควรใช้การสอนแบบบรรยายประกอบกับการอภิปราย โดยการสอนแบบเรื่องคัดเฉพาะควรสอนในชั้นเรียนขนาดเล็กที่เน้นการอภิปราย และ (4) วัดและประเมินผล ด้วยการสอบวัดความรู้ด้วยข้อสอบแบบปรนัยและอัตนัย รายงานและกิจกรรมการฟังบทเพลง
Other Abstract: The purpose of this research is twofold, firstly, study the organization of instruction, secondly, propose guidelines for the organization for instruction of Western music history courses in music programs in public higher education institutes. This study utilized institutes that have been offering Western music history courses in excess of ten years and that have a limited number of students accepted into their music programs, in addition five respected and experienced music history instructors were interviewed. The research methodologies used were document research and Delphi techniques; the research instruments were questionnaires and data recording units; data was analyzed with content analysis and descriptive statistics: frequency, average, standard deviation, median and interquartile range. The research result shows that: 1) Western music history courses are mandatory in all music programs of every institute participated in this study. The majority of these music programs divide the Western music history and literature content into one to three consecutive courses with lecturing as the mean of instruction. The content concerning music development from the Middle Age to mid-twentieth century is taught through works and lives of mainstream composers of the eras. Students are assessed by examinations. 2) Proposed guidelines for organizing courses are divided into three model; 2.1) General Western music history 2.2) Selected topic in Western music history and 2.3) Combined general Western music history and selected topic Western music history. The three models a condition for differences students and teachers, There are following managements; (1) Objective – three models identified as the learner completed three domains; cognitive domain, psychomotor domain and effective domain about Western music history and literatures. (2) Content - preferably consisted of social background, concept, forms and elements in each era, works and biographies of important composers but the selected topic model to study in specific story. (3) Teaching method - should be lecture and discussion. The selected topics should be taught in small classes that emphasize discussion. (4) Evaluation - testing knowledge and understanding of the learner by paper and pencil tests, including report and listening activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32971
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1319
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1319
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sittiporn_su.pdf15.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.