Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33036
Title: | พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : วรรณคดีกับการสร้างชาติ |
Other Titles: | The works of King Chulalongkorn and King Vajiravudh : literature and nation-building |
Authors: | อัญชลี ภู่ผะกา |
Advisors: | สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา ใกล้รุ่ง อามระดิษ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suchitra.C@chula.ac.th Klairung.A@Chula.ac.th |
Subjects: | จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453 -- พระราชนิพนธ์ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468 -- พระราชนิพนธ์ วรรณคดีกับประวัติศาสตร์ ชาตินิยม -- ไทย ปริญญาดุษฎีบัณฑิต อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต Chulalongkorn, King of Siam, 1853-1910 Literature and history Nationalism -- Thailand |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับการสร้างชาติ โดยอาศัยกรอบความคิดเรื่องชาติตามแนวคิดอุดมการณ์ชาตินิยมของสำนักชาติพันธุ์-สัญลักษณ์นิยม จากการศึกษาพบว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำวรรณคดีมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ เนื่องจากทรงพิจารณาเห็นคุณค่าของวรรณคดีในฐานะผลงานศิลปะการแต่งหนังสือ ที่มีความงดงามทางภาษา คือมีการใช้ภาษาที่สละสลวยงดงาม สามารถสร้างภาพและอารมณ์สะเทือนใจ ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์และความรู้สึกร่วมไปด้วย ผลงานพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วและร้อยกรองประเภทต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ยอพระเกียรติ ขนบประเพณี พุทธศาสนา สุภาษิต บันทึกการเดินทาง นิทาน บทละครรำ บทละครร้อง บทละครพูด ต่างทำหน้าที่หนุนเนื่องกันสื่อสารพระบรมราโชบายในการสร้างชาติผ่านวรรณศิลป์ในตัวบท บทพระราชนิพนธ์ได้เสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับความเป็นชาติหลายประการ เช่น ความหมายของชาติ หลักสำคัญของชาติ ประวัติความเป็นมา รวมถึงหน้าที่และความภูมิใจของประชาชนที่มีต่อชาติ ทั้งนี้การใช้วรรณคดีเพื่อเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับความเป็นชาติทั้งหมดคือการเสริมสร้าง “ความรู้” และ “ปัญญา” ให้แก่ประชาชนเพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในยุคชาติสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม โดยความรู้และปัญญาที่ประชาชนได้รับถ่ายทอดผ่านบทพระราชนิพนธ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชาติมีความเจริญและมั่นคง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า วรรณคดีมีความสัมพันธ์กับการสร้างชาติในหลายมิติ นอกจากการเสนอสาระสำคัญเรื่องชาติผ่านทางเนื้อหาแล้ว องค์ประกอบวรรณคดี เช่น รูปแบบ กลวิธีการประพันธ์ กลวิธีทางวรรณศิลป์ ฉันทลักษณ์ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ ต่างก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้การสื่อสารพระบรมราโชบายในการสร้างชาติมีพลังอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทั้งพระมหากษัตริย์และกวีที่มีพระปรีชาสามารถด้านการประพันธ์ยิ่งนัก ทั้งสองพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิง ในขณะเดียวกันพระราชนิพนธ์ได้สื่อสารพระบรมราโชบายในการสร้างชาติไว้อย่างแยบคาย |
Other Abstract: | To study and analyze the literary works of King Chulalongkorn and King Vajiravudh to illustrate relationship between their works and their attempt on nation-building. The approach employed in the study was the framework of ‘nation’ in ethno-symbolist approach. The study found that King Chulalongkorn and King Vajiravudh both made use of literature as a vital tool in nation-building since they considered the value of literature as written work of art with literary beauty containing delicate language that could clearly create images and emotions. Thus, readers could share the same feeling while reading the texts. Both of them produced a myriad of writings of both poetry and prose, namely, writings on Thai history and tradition, eulogies, Buddhist proverbs, travelogues, tales, classical dramas, plays, and musical plays. These works were vital tools that could convey the nation-building policy to Thai people through the power of literary language. These works present the ‘essence’ of a nation in various aspects: the meaning, the principle, the historical background, as well as the duty and the pride of the people in the nation. All these aspects are in fact collectively serving as the enhancement of ‘knowledge’ and ‘wisdom’ for the people so that they could adapt themselves to a modern way of life in a modern nation. The knowledge and wisdom gained through these literary works in turn render prosperity and stability to the nation. The study illustrated that literary works of the two kings were related to the nation-building in several dimensions. Aside from the essence of the significance of nation portrayed in the content, other literary components such as forms, narrative techniques, prosody, literary language as well as dissemination techniques played important roles to communicate powerfully the idea on nation-building to the public. Moreover, these works showed that King Chulalongkorn and King Vajiravudh were great kings and poets alike since they did not compose works for the purpose of pure entertainment but they meticulously communicated their policy on nation-building to the readers via their works. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33036 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1326 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1326 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anchalee_pu.pdf | 4.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.