Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3303
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพันธ์ เดชะคุปต์en_US
dc.contributor.advisorชื่นชนก โควินท์en_US
dc.contributor.authorจินดา ยัญทิพย์, 2500-en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2007-01-05T07:54:47Zen_US
dc.date.available2007-01-05T07:54:47Zen_US
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.isbn9745314757en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3303en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และเมตาคอกนิชัน 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และเมตาคอกนิชัน โดยเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ความสามารถในการคิด และความสามารถในการสรุปย่อความ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจกับนักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครสวรรค์ จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 55 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 53 คน นักเรียนกลุ่มทดลองเรียนโดยใช้กระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมเรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบวัดความสามารถในการคิด และแบบวัดความสามารถในการสรุปย่อความ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ประกอบด้วย 11 ขั้นตอน คือ ก่อนการอ่าน 1) ขั้นการสำรวจ 2) ขั้นการกระตุ้น 3) ขั้นการวางแผน ระหว่างการอ่าน 4) ขั้นการเลือกข้อมูลสำคัญ 5) ขั้นการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิมกับข้อมูลใหม่ 6) ขั้นการค้นหาใจความสำคัญ 7) ขั้นการประเมินผลระหว่างการอ่านหลังการอ่าน 8) ขั้นการตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน 9) ขั้นการขยายความรู้ 10) ขั้นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน 11) ขั้นการประเมินผลหลังการอ่าน กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้นำไปใช้โดยการบูรณาการทักษะการคิดเข้าไปในขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอน ทักษะการคิด มี 11 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการระบุ ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการเรียงลำดับ ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการสรุปอ้างอิง ทักษะการทำนาย ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการขยายความ ทักษะการให้เหตุผล และทักษะการสรุปย่อความ 2. ผลการศึกษาการใช้กระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ พบว่า 1).นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2).นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการคิด หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3).นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการสรุปย่อความหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to develop the process of integrating thinking skills into teaching English reading comprehension to lower secondary school students based on schema and metacognition theories and 2) to study the effectiveness of the process of integrating thinking skills into teaching English reading comprehension to lower secondary school students based on schema and metacognition theories by comparing the students{7f2019} English reading comprehension, thinking skills and summarizing skills learned through this process to those who learned through regular teaching. The samples of this research were the eighth - grade students of Nakornsawan school. They were from two classrooms; and divided into experimental; and control groups ;and there were fifty five students in the experimental group and fifty three students in the control group. The experimental group was instructed through the developed instructional process. The control group was taught through regular teaching. The durationof experiment was ten weeks long. The instruments for collecting data were an English reading comprehension test, a thinking skill test and a summarizing skill test. Data were analyzed by the percentage of average score, standard deviation and t test. The results of this research were as follows : 1. The process of integrating thinking skills into teaching English reading comprehension consisted of eleven steps. Pre reading had three steps; 1) surveying 2) activating prior knowledge 3) planning in reading. Reading had four steps; 4) selecting important information 5) connecting between prior knowledge and new information 6) finding the main idea 7) evaluating. After reading had four steps ; 8) checking reading comprehension 9) extending knowledge 10) discussing and expressing an opinion and 11) evaluating after reading. The developed instructional process was implemented by integrating thinking skills into it. There were eleven thinking skills ; questioning skill, identifying skill, classifying skill, ordering skill, comparing skill, inferring skill, predicting skill, connecting skill, elaborating skill, reasoning skill and summarizing skills. 2. The effect of studying the process of integrating thinking skills into teaching English reading comprehension was: 2.1) Posttest scores of English reading comprehension of the students learning through this process was higher than those learning through the regular teaching at the .05 level of significance. 2.2) Posttest scores of thinking skills of the students learning through this process was higher than those learning through regular teaching at the .05 level of significance. 2.3) Posttest scores of summarizing skills of the students earning through this process was higher than those learning through regular teaching at the .05 level of significance.en_US
dc.format.extent18096878 bytesen_US
dc.format.extent1843 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.format.mimetypetext/plain-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.406-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การอ่านen_US
dc.titleการพัฒนากระบวนการบูรณาการทักษะการคิดในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และเมตาคอกนิชันen_US
dc.title.alternativeA development of the process of integrating thinking skills in teaching English reading comprehension to lower secondary school students based on schema and metacognition theoriesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.406-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jinda.pdf17.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.