Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33150
Title: ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่
Other Titles: Predicting factors of medication adherence among myocardial infarction patients after underwent Percutaneous Coronary Intervention
Authors: อิสรีย์กร สุรศรีสกุล
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: noraluk@myrealbox.com
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย -- การดูแล
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การดูแล
Myocardial infarction -- Patients -- Care
Coronary heart disease -- Patients -- Care
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มุ่งศึกษาความร่วมมือในการรับประทานยา ความสัมพันธ์และอำนาจทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค ภาวะซึมเศร้า ภาวะโรคร่วม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม กับความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่ จำนวน 154 คน เลือกแบบหลายขั้นตอน แผนกผู้ป่วยนอกโรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันโรคทรวงอก โรงพยาบาลตำรวจ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความร่วมมือในการรับประทานยา การรับรูโอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการรับประทานยา แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ค่าความเที่ยงเท่ากับ .70, .85, .82, .91, .93, .89, .71, และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X bar = 31.50, SD = 4.04) 2. การรับรู้โอกาสเสี่ยง และ ภาวะโรคร่วม ไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่ (r = .153 และ r = .067) 3. การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .187, .306, .171, และ .319 ตามลำดับ) 4. การรับรู้อุปสรรคและภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.341 และ r = -.266) 5. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้โอกาสเสี่ยง การสนับสนุนทางสังคม ภาวะซึมเศร้า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ภาวะโรคร่วม และการรับรู้ความรุนแรง สามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่ร้อยละ 21.0
Other Abstract: The purposes of this predictive correlational study were to describe the medication adherence. To study the relationships and to predict between perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, depression, comorbidity, self-efficacy, social support, and medication adherence. One hundred and fifty-four out-patients with myocardial infarction after underwent PCI aged 18-59 years old, who were recruited in the heart clinic at the Central Chest Institute, the Police General Hospital, Faculty of Medicine Vajira Hospital and Phramongkutklao Hospital by a multistage random selection. Questionnaires were composed of demographic information, medication adherence, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, PHQ-9, social support, and medication adherence self-efficacy scale. All questionnaires were tested for content validities by five panel of experts, and the reliabilities were .70, .85, .82, .91, .93, .89, .71, and .94, respectively. Descriptive statistics (Percentage, mean, and standard deviation), and Hierarchical multiple regression were used to analyze data. The major findings were as follows: 1. Mean score of medication adherence in myocardial infarction after underwent PCI patients was at a high level (X bar = 31.50, SD = 4.04). 2.There were no significant relationships between perceived susceptibility, comorbidity, and medication adherence in myocardial infarction after underwent PCI patients at the level of .05 (r = .153 and r = .067). 3.There were positively significant relationships between perceived severity, perceived benefits, self-efficacy, social support, and medication adherence in myocardial infarction after underwent PCI patients at the level of .05 (r = .187, .306, .171, and .319, respectively). 4. There were negatively significant relationships between perceived barriers, depression, and medication adherence in myocardial infarction after underwent PCI patients at the level of .05 (r = -.341 and r = -.266). 5. The result of hierarchical multiple regression analysis showed that 21.0 (R² = .210, p < .05) percent of the variance in medication adherence for myocardial infarction after underwent PCI patients could be explained by perceived benefits, perceived barriers, perceived susceptibility, social support, depression, self-efficacy, comorbidity, and perceived severity.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33150
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1458
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1458
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
issareegorn_su.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.