Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33158
Title: | เปรียบเทียบประสิทธิผลของค่าสัมประสิทธิ์ในกระจกและแผงบังแดด |
Other Titles: | The comparison of effective shading coefficient between glazing glass and shading device |
Authors: | จิรเดช เทพพิพิธ |
Advisors: | ธนิต จินดาวณิค |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | cthanit@chula.ac.th |
Subjects: | สถาปัตยกรรมกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ อาคาร -- การระบายอากาศ -- การควบคุม สถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน Architecture and solar radiation Building -- Heating and ventilation -- Control Sustainable architecture |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางการออกแบบวัสดุประกอบช่องเปิดเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนผ่านช่องเปิดอาคาร ระหว่างการใช้กระจกกันความร้อนและการติดตั้งอุปกรณ์บังแดด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อหาประสิทธิผลของค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ของกระจก (SHGC) และค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) ที่ปรากฏอยู่ในสมการหาค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังอาคาร (OTTV) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุม โดยทำการทดลองด้วยห้องทดลองด้านพลังงาน (mockup energy testing) ขนาด 3.00x3.00 เมตร เพื่อวัดอัตราการใช้พลังงานในการปรับอากาศที่เกิดขึ้นจริงในสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย พร้อมทั้งทำการจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer simulation) เพื่อหาผลกระทบของทิศทางช่องเปิดอาคารที่มีผลต่ออัตราการใช้พลังงานในการปรับอากาศในอาคาร การศึกษามีทั้งหมด 3 กรณีศึกษา โดยกำหนดค่าของสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ของกระจก (SHGC) และค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) ที่แตกต่างกัน แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองทั้ง 2 แบบมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปของการวิจัย จากผลการทดลองพบว่าประสิทธิผลการประหยัดพลังงานในการปรับอากาศของอาคารที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ของกระจก (SHGC) ดีกว่าอาคารที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของแผงบังแดด (SC) ในทุกกรณีศึกษา โดยมีแนวโน้มของความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ค่าสัมประสิทธิ์มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเลือกใช้กระจกคุณภาพดีและอุปกรณ์บังแดดที่มีค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดดีขึ้น (ค่า SHGC และ SC ต่ำลง) ในขณะที่ผลกระทบต่อสภาวะน่าสบายของมนุษย์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาคารที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ของกระจก (SHGC) ทำได้ดีกว่าในทุกกรณีศึกษา แต่ในทางกลับกันอาคารที่ติดตั้งอุปกรณ์บังแดด จะมีความสามารถในการนำแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาใช้ในตัวอาคารได้ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33158 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1459 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1459 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jiradet_th.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.