Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33159
Title: | การหล่อแบบเจลของแมกนีเซียมอะลูมิเนตสปิเนล |
Other Titles: | Gelcasting of magnesium aluminate spinel |
Authors: | กนิษฐา สันติวงศกร |
Advisors: | สุจาริณี คชวัฒน์ กานต์ เสรีวัลย์สถิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | sujarinee.chula@gmail.com karn.s@chula.ac.th |
Subjects: | การหล่อแบบเจล การทำโพรงแบบ (กรรมวิธีทางเคมี) เซรามิก แมกนีเซียมอะลูมิเนตสปิเนล Gelcasting Molding (Chemical technology) Ceramics Magnesium aluminate spinel |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มุ่งเน้นทำการศึกษาอิทธิพลของสภาวะการหล่อแบบเจลด้วยระบบที่ใช้สารก่อเจลที่มีความเป็นพิษต่ำ เพื่อขึ้นรูปชิ้นงานแมกนีเซียมอะลูมิเนตสปิเนล งานวิจัยเริ่มจากการสังเคราะห์ผงแมกนิเซียมอะลูมิเนตสปิเนลบริสุทธิ์จากผงอะลูมินาและผงแมกนิเซียมไฮดรอกไซด์ ด้วยวิธีการทำปฏิกิริยาที่สภาวะของแข็ง ที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผงสปิเนลที่สังเคราะห์ได้จะถูกนำมาขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อแบบเจลซึ่งแยกศึกษาเป็น 2 ระบบ ได้แก่ การใช้อาการ์เป็นสารก่อเจล และการใช้ไฮดรอกซีเมทาคริเลต (2-Hydroxyethyl methacrylate ; HEMA) เป็นสารก่อเจล โดยทั้งสองระบบใช้เกลือแอมโมเนียของกรดพอลิเมทอคริลิคเป็นสารช่วยกระจายตัวของอนุภาค จากการศึกษาพบว่า การเติมสารช่วยกระจายตัวในปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนักจะช่วยพัฒนาให้อนุภาคในสารแขวนลอยมีการกระจายตัวที่ดี ในระบบที่ใช้อาการ์เป็นสารก่อเจลนั้น เมื่อใช้อาการ์ในปริมาณร้อยละ 2 โดยปริมาตร สเลอร์รีมีพฤติกรรมการไหลตัวที่ดี ชิ้นงานดิบที่ได้จากการหล่อแบบเจลมีความหนาแน่นร้อยละ 40 เทียบกับความหนาแน่นทางทฤษฎี และมีความแข็งแรงดัดโค้ง 786 กิโลพาสคาล สำหรับระบบที่ใช้ HEMA เป็นสารก่อเจลนั้น มีความจำเป็นต้องเตรียมสารแขวนลอยในสภาวะที่เป็นด่าง จากการศึกษาพบว่า HEMA มีสมบัติช่วยกระจายลอยตัวของอนุภาคในระบบ ส่งผลให้ solid loading พัฒนาขึ้นเป็นร้อยละ 47 โดยปริมาตร ชิ้นงานดิบที่ใช้ HEMA ปริมาณร้อยละ 11 โดยน้ำหนัก จะมีความหนาแน่นร้อยละ 45 เทียบกับความหนาแน่นทางทฤษฎี และความแข็งแรงดัด 1075 กิโลพาสคาล โดยเมื่อเพิ่มปริมาณ HEMA แก่ระบบ ความหนาแน่นและความแข็งแรงของชิ้นงานดิบที่ได้ก็จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อปริมาณ HEMA มากกว่าร้อยละ 11 โดยน้ำหนัก ชิ้นงานดิบจะเกิดปัญหาการหลุดร่อนที่ผิวหน้า อันเป็นผลเนื่องมาจาก HEMA ส่วนเกินแยกตัวจากอนุภาคสปิเนล |
Other Abstract: | In this study, the influences of process parameters in gelcasting of magnesium aluminate spinel were investigated. Sub-micron and phase pure magnesium aluminate spinel powder were initially synthesized by solid state reaction of alumina and magnesium hydroxide powders at 1300 °C for 2 hours. The synthesized spinel powders were used as a starting material in this study. Two low toxic systems of gelcasting were focused; using of agar and using of 2-Hydroxymethacrylamide (HEMA) as gelling agents. An ammonium salt of polymethacrylic acid (PMA-NH4) was used as a dispersant in both systems. In agar system, the stable suspension could be obtained when 1 wt% of PMA-NH4 was added. The slurry with 2 wt% agar demonstrated good flow and the dried specimens yielded the relative density of 40% with the flexural strength of 786 kPa. For the HEMA system, it was essential to prepare suspension under basic condition. It was found that HEMA had a property as a dispersant so that the solid loading of the suspension could be improved to 47%. The dried specimens with 11 wt% HEMA had the relative density of 45% with the flexural strength of 1075 kPa. For further HEMA addition, exfoliation at the surface of the dried specimens were observed, which might be caused by the separation of the excess HEMA from the spinel particles. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีเซรามิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33159 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1423 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1423 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanitta_sa.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.