Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33214
Title: | รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ |
Other Titles: | A moral and ethical development model for teachers in special purposed basic education institutions |
Authors: | สุรีย์พร สุนทรศารทูล |
Advisors: | นันทรัตน์ เจริญกุล จุมพล พูลภัทรชีวิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nantarat.C@chula.ac.th Chumpol.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ครู -- จรรยาบรรณ จริยธรรม Teachers -- Professional ethics Ethics |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน และปัญหาในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การศึกษาวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ 3) การออกแบบรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ 4) การตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5) การประเมินผลรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ผลการวิจัยพบว่า (1) ในสภาพปัจจุบัน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่วัตถุประสงค์พิเศษมีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครู ในระดับมาก ([mean] = 3.65) เรียงตามลำดับ คือ การกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการพัฒนา ([mean] = 3.83) การดำเนินงานฝึกอบรม การพัฒนา และการส่งเสริมการพัฒนา ([mean] = 3.60) การกำหนดความจำเป็นในการพัฒนา ([mean] = 3.56) และการประเมินผลการฝึกอบรมและการพัฒนา ([mean] = 3.52) (2) ปัญหาในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครู มีระดับปานกลาง ที่มากที่สุด 3 ลำดับ คือ 1) ครูบางส่วนไม่สนใจร่วมกิจกรรมพัฒนา ([mean] = 3.18) 2) การติดตามผลหลังรับการพัฒนายังไม่เป็นระบบ ([mean] = 3.04) และ 3) วิธีการและเทคนิคที่ใช้พัฒนาไม่น่าสนใจ ([mean] = 3.03) (3) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูที่พัฒนาขึ้น คือรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูที่มุ่งเน้นกระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครู 2) การกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรมและการพัฒนา 3) การกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการพัฒนา 4) การดำเนินงานฝึกอบรม การพัฒนา และการส่งเสริมการพัฒนา และ 5) การประเมินผลการฝึกอบรมและการพัฒนา ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ (1) สถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษควรพัฒนาการดำเนินงานขั้นการประเมินผลการฝึกอบรมและการพัฒนา โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นใช้เป็นแนวทางดำเนินงาน (2) สถานศึกษา ขั้นพื้นฐานทั่วไปสามารถนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูในสถานศึกษาให้มีระบบที่ดี |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study current situations, problems of moral and ethical development for teachers and to propose a moral and ethical development model for teachers in special purposed basic education institutions. The study comprised 5 phases starting from 1) literature review to define the research conceptual framework, 2) study of current situations of moral and ethical development for teachers, 3) development of a moral and ethical model, 4) assessment and improvement of the model by educational administrators and personnel administrators 5) evaluation of the model by special purposed school directors, final improvement and proposal of the moral and ethical development model for teachers. The results of the research indicated that, firstly, in current situation, special purposed basic education institutions implemented moral and ethical development at a high level ([mean] = 3.65) as follows, Establishing objectives and methods ([mean] = 3.83), Implementing training, development methods and supporting moral and ethical development for teachers ([mean] = 3.60), Determining training and development needs ([mean] = 3.56), and evaluating training and development programs ([mean] = 3.52) respectively. Secondly, the problems of the moral and ethical development were at a medium level, in terms of 1) the disinterest in the development programs of some teachers ([mean] = 3.18), 2) monitoring unsystematically after development ([mean] = 3.04) 3) uninteresting methods and techniques of development programs ([mean] = 3.03). Lastly the moral and ethical development model for teachers in special purposed basic education institution “PROCESS-ORIENTED MORAL AND ETHICAL DEVELOPMENT Model” was purposed. It included 5 steps as follows : 1) setting the policy, 2) determining training and development needs, 3) establishing special objectives and development methods, 4) implementing training and development methods and supporting moral and ethical development for teachers 5) evaluating the training and development programs. The recommendations are as follow : (1) special purposed basic education institutions should improve the implementation in evaluation of training and development programs by using the developed model, (2) Basic education institutions can take the purposed model for guideline to implement moral and ethical development for teachers systematically. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33214 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1396 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1396 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sureeporn_su.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.