Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/332
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาภัสรา ชินวรรโณ-
dc.contributor.authorอภิรดี จริยารังษีโรจน์, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-15T02:44:47Z-
dc.date.available2006-06-15T02:44:47Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741718381-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/332-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาการใช้กลวิธีการรู้คำศัพท์ทางวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ เปรียบเทียบการใช้กลวิธีการรู้คำศัพท์เกี่ยวกับศัพท์ทางวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษาที่ 1 จำนวน 60 คน ทำแบบวัดกลวิธีการรู้คำศัพท์เกี่ยวกับศัพท์ทางวัฒนธรรม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้รับการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดยขณะที่นักเรียนทำแบบวัดกลวิธีการรู้คำศัพท์เกี่ยวกับ ศัพท์ทางวัฒนธรรมนี้ นักเรียนใช้วิธีการแสดงความคิดเป็นถ้อยคำ ผู้วิจัยบันทึกเทปข้อมูล และถอดเทปข้อมูล ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยอีก 2 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์การใช้กลวิธีการรู้คำศัพท์เกี่ยวกับ ศัพท์ทางวัฒนธรรม ผู้วิจัยใช้สถิติทดสอบไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใช้กลวิธีการรู้คำศัพท์เกี่ยวกับศัพท์ทางวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีการรู้คำศัพท์ที่มาจากบทอ่าน กลวิธีการรู้คำศัพท์ปฏิสัมพันธ์ และ กลวิธีการรู้คำศัพท์ที่มาจากผู้อ่าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนใช้กลวิธีการรู้คำศัพท์ที่มาจากผู้อ่านมากที่สุด และใช้กลวิธีการรู้คำศัพท์ปฏิสัมพันธ์น้อยที่สุด 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ใช้กลวิธีการรู้คำศัพท์เกี่ยวกับศัพท์ทางวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีการรู้คำศัพท์ที่มาจากบทอ่าน และกลวิธีการรู้คำศัพท์ที่มาจากผู้อ่านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และใช้กลวิธีการรู้คำศัพท์ประเภทกลวิธีปฏิสัมพัทธ์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeTo study the culture - specific word recognition strategies used by mathayom suksa five students in the educational region one and to investigate the differences among three English reading comprehension abilities groups ; namely, advanced, intermediate, and low reading levels in their strategy use of the culture - specific word recognition. A total of 60 mathayom suksa five students were asked to take the culture - specific word recognition strategies test which was constructed by the researcher and approved by five specialists. The students verbalized their thoughts, using the think-aloud technique. The data were tape recorded, transcribed, then coded by the researcher and two research assisstants. Chi-square analysis and one-way analysis of variance were performed to test the hypotheses. The results of this study were as follows; 1.Mathayom suksa five stidents significantly differed in their text-initiated, interactive, and reader-initated strategy use of the culture-specific word recongnition at the .05 level. the results also indicated that mathayom suksa five students used the reader - intitiated word recognition strategies more frequently than any other strategies. They reported that they used the least interactive word recognition strategies. 2. Mathayom suksa five students with advanced, intermediate, and low English reading comprehension abilities significantly differed in their use of both the text-initiated word recogniting strategies and the reader-initiated word recognition strategies at the .05 level. The result demonstrated that there was no statistically difference in their reported use of the interactive word recognition strategy.en
dc.format.extent845629 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาอังกฤษ--คำศัพท์en
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การอ่านen
dc.subjectการอ่านขั้นมัธยมศึกษาen
dc.titleการศึกษากลวิธีการรู้คำศัพท์เกี่ยวกับศัพท์ทางวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษต่างกันen
dc.title.alternativeA study of word recognition strategies concerning culture-specific words of mathayom suksa five students with different English reading comprehension abilitiesen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorApasara.C@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apiradee.pdf927.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.