Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33314
Title: ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Cultural landscape of Omnon water-based community, Amphoe Bang Yai, Nonthaburi province
Authors: พัชรี อาจสาลี
Advisors: วรรณศิลป์ พีรพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wannasilpa.P@Chula.ac.th
Subjects: ภูมิทัศน์วัฒนธรรม
ชุมชนริมน้ำ
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม -- ไทย -- บางใหญ่ (นนทบุรี)
ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- บางใหญ่ (นนทบุรี)
ชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ (นนทบุรี)
Cultural landscapes
Waterfronts
Cultural landscapes -- Thailand -- Bang Yai (Nonthaburi)
Waterfronts -- Thailand -- Bang Yai (Nonthaburi)
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ 2) ศึกษาคุณค่าของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ 3) ประเมินคุณค่า ความสำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ และ 4) เสนอแนะแนวทางเก็บรักษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ จากการศึกษาพบว่า คุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ เกิดจากองค์ประกอบของภูมิทัศน์วัฒนธรรมทางด้านกายภาพ องค์ประกอบทางด้านสังคมและวัฒนธรรมรวมไปถึงองค์ประกอบด้านประวัติศาสตร์ องค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมเหล่านี้เกิดจากมนุษย์และธรรมชาติกระทำต่อกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของมนุษย์ที่เข้าไปจัดการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติให้เหมาะกับการดำรงชีวิต จนเกิดเป็นรูปแบบของชุมชนริมน้ำ การทำสวนผลไม้ เครือข่ายลำน้ำ วัด ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนริมน้ำ กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ ซึ่งมีคุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมด้านกายภาพ สังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ แนวทางการเก็บรักษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ ประกอบด้วย การเสนอแนะแนวทางการใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุมชน แนวทางการอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรม และองค์ประกอบด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม แนวทางการรักษาสภาพแวดล้อมของคลองและภูมิทัศน์ชุมชน รวมไปถึงแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ชุมชนให้แก่ประชากรในท้องถิ่น
Other Abstract: To 1) study the development of cultural landacape in the communities along Omnon Canal, 2) study value of cultural landacape in communities along Omnon Canal, 3) assess the significances of cultural landscape in the communities along Omnon Canal and 4) propose guidelines for the conservation for the conservation of cultural landscape in the communities along Omnon Canal. According to the study, the significances the cultural landscape in the communities along Omnon Canal have been the result of the combination of physical, social and cultural, and historical elements of cultural landscape caused by interaction between human and nature. Depending on the intensity that human being have managed and changed nature for their living, the patterns of waterside communities, fruit gardening, canal networks, temples, traditions and cultures of waterside communities have been developed the unique characteristic of the communities along Omnon Canal have contributed to their physical, social and cultural as well as historical values. The guidelines for the conservation of cultural landscape in the communities along Omnon Canal consist of suggestions on appropriate land use for the communities, guidelines for the conservation of architecture, and cultural landscape elements, the guidelines for conservation of the environment and community landscape as well as the guidelines for conservation promotion among local people.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33314
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2181
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2181
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharee_ar.pdf11.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.