Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33364
Title: | การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา |
Other Titles: | A meta-analysis of research in learning process management innovations for the development of learning achievement in social studies of secondary school students |
Authors: | นฤมล อุดมคุณ |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichai.k@chula.ac.th |
Subjects: | สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) กิจกรรมการเรียนการสอน นวัตกรรมทางการศึกษา การวิเคราะห์อภิมาน Social studies -- Study and teaching (Secondary) Activity programs in education Educational innovations Meta-analysis |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษางานวิจัยด้านนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2. เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่มีผล ต่อค่าขนาดอิทธิพลของนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา 3. เพื่อสังเคราะห์สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในครั้ง นี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 -2549 จำนวน 89 เล่ม โดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยเป็นเครื่องมือในการวิจัย ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย ค่าขนาดอิทธิพลคำนวณตามวิธี ของ Glass จำนวน 165 ค่า และตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยจัดประเภทจำนวน 21 ตัวแปรและตัวแปรต่อเนื่องจำนวน 11 ตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลและการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า 1. งานวิจัยด้านนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีการศึกษามากที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2530 – 2534 (34.8%) โดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผลิต มากที่สุด (43.8%) สาขาวิชาที่ผลิตมากที่สุดคือสาขาวิชาการมัธยมศึกษา (40.4%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยอยู่ ในระดับดีมากโดยมีค่าเฉลี่ย 3.56 2. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนใน ขนาดอิทธิพลได้ 47.1% โดยตัวแปรที่อธิบายค่าขนาดอิทธิพลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การออกแบ งานวิจัยแบบ True control group pre-posttest design และตัวแปรระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า นวัตกรรมที่มีผลต่อค่าขนาดอิทธิพลเรียงลำดับค่าเฉลี่ยของขนาด อิทธิพลจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) นวัตกรรมด้านกิจกรรม:- มีความหลากหลาย มีประโยชน์ คือสามารถพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสามารถพัฒนาทักษะทางสังคม เนื่องจากเน้นการทำงานเป็นกลุ่มเกิดการเรียนรู้การ ทำงานร่วมกับผู้อื่นการวางแผนงานและการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2) นวัตกรรมด้านหลักสูตร:- เป็นการ นำการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาเป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงสาขาวิชาต่างๆ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจใน เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและทำให้เกิดความหวงแหนทรัพย์สมบัติส่วนร่วมในท้องถิ่นของตน 3) นวัตกรรมด้านการ สอน:- มีความหลากหลาย สามารถนำไปปรับใช้ได้ แต่ต้องศึกษาเงื่อนไขและข้อจำกัดของการสอนเพื่อให้ได้ ประโยชน์สูงสุด 4) นวัตกรรมด้านเทคนิคและกลวิธี:- เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิด โดยครู เป็นผู้คอยสนับสนุน ช่วยเหลือและแนะนำ ช่วยจัดกระบวนการเรียนการสอนให้น่าสนใจและสนุกสนาน และ 5) นวัตกรรมด้านสื่อการสอน:- มีความหลากหลาย ควรเลือกใช้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study researches in learning innovations for the development of learning achievement in social studies of secondary school students, 2) to study the characteristics of research affecting the effect sizes of learning innovations for the development of learning achievement in social studies of secondary school students, 3) to synthesize knowledge from learning innovations for the development of learning achievement in social studies of secondary school students. The synthesized researches were experimental researches published during 1987 – 2006, a total of 89 issues. The research tools covered research characteristic record and research quality evaluation. The data was 165 effect sizes calculated by Glass Method, 21 research characteristic variables, and 11 continuous variables. The data analysis included descriptive statistics, difference of average effect size analysis and multiple regression analysis. The results of research synthesis were: 1. Researches in learning innovations for the development of learning achievement in social studies of secondary school students were mostly published during 1987 – 1991 (34.8%), mostly by Srinakharinwirot University (43.8%). The program with the most number of researches was the secondary education (40.4%). The overall quality of the researches was at the highest level (an average of 3.56). 2. From the multiple regression analysis, it was found that research characteristic variables explained 47.1% of effect size. Two variables, namely, true control group pre-post test design and data collection period, were able to explain effect size at the significant level. 3. It was found from the research synthesis that the innovations affecting effect sizes ranked ascendingly by average effect sizes were as follows: (1) Activity innovation which was diversified, useful and able to develop learning achievement and social skills. It focused on teamwork enhancing interpersonal, planning and open-minded skills; (2) Curriculum innovation which applied local resources as teaching materials to interface programs together. It created understanding on natural resources and public awareness on local resources; (3) Teaching innovation which was diversified and adaptable. Teaching conditions and restrictions should be studied to maximize benefit.; (4) Technical and strategic innovation which enhanced students’ thinking process, provided that teachers provided assistance and advice, and set interesting and fun teaching process.; and (5) teaching material innovation which was diversified and should be properly used with students to maximize benefit. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33364 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.714 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.714 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
naruemon_ud.pdf | 3.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.