Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33401
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ | - |
dc.contributor.author | วิศวกร ทางทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-25T06:30:31Z | - |
dc.date.available | 2013-07-25T06:30:31Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33401 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบของการออกแบบแสงภายนอกสำหรับอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร ในช่วงปี ค.ศ. 1970-2010 เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการออกแบบสำหรับการนำไปใช้ในการออกแบบแสงให้กับอาคารในอนาคต โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบทางการออกแบบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะทางด้านรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมและรูปแบบของการให้แสงที่มีในปัจจุบัน โดยเลือกกรณีศึกษาที่เป็นอาคารสูงในกรุงเทพมหานครมาเป็นจำนวน 30 อาคาร และมีวิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ออกแบบอาคารและจากการสำรวจอาคารจริง ในการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์รูปแบบทางการให้แสงในอาคารพบว่า รูปแบบขั้นต้นของการให้แสงบนยอดอาคารมีทั้งหมด 12 รูปแบบ เช่น การให้แสงโดยเน้นที่เส้นขอบของอาคาร หรือ การให้แสงโดยเน้นที่โครงสร้างอาคารซึ่งพบว่าการให้แสงแต่ละรูปแบบที่พบในบางรูปแบบ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับอาคารทุกรูปทรง และจากการวิเคราะห์ด้านรูปทรงของอาคารโดยการอ้างอิงจากทฤษฏีการออกแบบเบื้องต้น เช่น การเพิ่มรูปทรงและการลดทอนรูปทรงทางสถาปัตยกรรม พบว่ารูปทรงของอาคารจากกรณีศึกษาแบ่งได้เป็น 5 แบบหลัก เช่น รูปทรงของอาคารที่เกิดจากการลดทอนรูปทรงอย่างเดียว หรือการเพิ่มรูปทรงของอาคาร โดยการออกแบบแสงกับรูปทรงของอาคารในบางประเภทที่พบจะสามารถให้แสงได้กับอาคารบางกลุ่มเท่านั้น และจากวิเคราะห์ถึงรูปทรงของอาคารและรูปแบบการให้แสง ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างอาคารในแต่ละแบบจากทั้ง 5 กลุ่มที่พบ และทำการเสนอทางเลือกในการออกแบบแสงไฟแต่ละอาคาร โดยพิจารณาจากรูปทรงของอาคาร และทำการจำลองการให้แสงโดยใช้โปรแกรม Photoshop ในการนำเสนอแสงที่รวบรวมได้จากอาคารกรณีศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในงานออกแบบแสงที่สามารถเกิดขึ้นได้ งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอถึงแนวทางในการออกแบบแสงบนยอดของอาคารสูง โดยอ้างอิงจากอาคารสูงที่มีในปัจจุบัน และรูปแบบการให้แสงที่พบ ดังนั้น สถาปนิกหรือผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของการออกแบบแสงสามารถนำผลการวิเคราะห์และแนวทางในการออกแบบแสงที่ได้จากการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบแสงให้กับอาคารอื่นในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | The present research studied the patterns of lighting design of Bangkok skyscrapers during 1970-2010. This study was conducted to gather useful information for the future design of skyscrapers. The research examined the elements associated with the design, specifically the styles of architecture and their current lighting configuration. Thirty skyscrapers in Bangkok were selected as case studies. Data collection was conducted through the interviews of architects and the survey of actual sites. Data collection and data analysis suggested that there were 12 basic lighting designs for skyscrapers; for example, a design which highlighted the outline or the structure of the building. It was also found that some of the lighting designs could be adapted to suit any architectural plan. Additionally, an analysis of building design based on fundamental theories suggested that there were five main types of design among the 30 case studies; for example, a design which was derived from elaboration of building structure or from simplification of form only. In this sense, certain types of lighting designs found in this study may only be appropriate for specific types of building. Derived from the analysis of architectural designs and their lighting, the researcher exemplified each of building types from the five main groups and proposed the options for each building. Taking into consideration the building shape, the researcher used Photoshop to create different choices of possible lighting designs for each building. These selections were gathered from those of the case studies so as to show the design possibilities. This research presented the possible lighting designs for skyscrapers based on those presently available. Architects or anyone who is interested in lighting design can therefore apply the findings from this study to other future designs. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1435 | - |
dc.subject | อาคารสูง -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | แสงในสถาปัตยกรรม | en_US |
dc.subject | การให้แสงทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง | en_US |
dc.subject | Tall buildings -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Light in architecture | en_US |
dc.subject | Lighting, Architectural and decorative | en_US |
dc.title | องค์ประกอบทางการออกแบบแสงประดิษฐ์บนยอดอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Architectural lighting design element of skyscrapers in Bangkok | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Vorapat.I@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1435 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
witsawakorn_th.pdf | 29.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.