Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33407
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์-
dc.contributor.advisorประวิตร เจนวรรธนะกุล-
dc.contributor.authorพลากร นัคราบัณฑิต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2013-07-25T08:17:34Z-
dc.date.available2013-07-25T08:17:34Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33407-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกความมั่นคงของลำตัวที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอว์ล ในนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำของทีมสโมสรโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 10 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling)เป็นกลุ่มทดลองที่ฝึกความมั่นคงของลำตัวสัปดาห์ละ 3 วัน ควบคู่กับการฝึกซ้อมว่ายน้ำตามปกติ และกลุ่มควบคุมที่ฝึกซ้อมว่ายน้ำตามปกติ โดยใช้เวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 30 เมตร ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One way analysis of variance with repeated measures) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการทดสอบแบบ แอลเอสดี (LSD) หาค่าสหสัมพันธ์ และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (t-test independent) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 30 เมตร มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างของกลุ่มทดลองมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอว์ล ระยะทาง 30 เมตร 3.หลังการทดลอง 4 สัปดาห์และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.หลังการทดลอง 4 สัปดาห์และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอว์ล ระยะทาง 30 เมตร ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการศึกษาได้ว่า การฝึกความมั่นคงของลำตัวทำให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างแข็งแรงขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the effects of core stability training on lower back strength and crawl swimming performance in young male swimmer. The subject were 20 swimmers from Bangkok Christian College by purposive sampling. They were divided equally into two groups by simple random sampling. The experimental group trained by using program core stability training 3 days per week combined with regular training and the control group trained by using regular training. Both groups were trained for 8 weeks. The data of lower back strength and swimming performance of all groups were taken before experiment, after the 4 weeks and 8 weeks. The obtained data were analyzed in terms of mean and standard deviation, one way analysis of variance with repeated measures and multiple comparison by the LSD method, correlation analysis and comparison different mean by t-test independent at the .05 level of significance. The results revealed that : 1.After 4 weeks and 8 weeks of experiment, lower back strength and swimming performance in the experimental groups was significantly better than before training at the .05 level. 2.After 8 weeks of experiment, lower back strength in the experimental groups was significantly correlated with crawl swimming performance. 3.After 4 weeks and 8 weeks of experiment, lower back strength in the experimental groups was significantly better than control group at the .05 level. 4.After 4 weeks and 8 weeks of experiment, 30-meter crawl swimming performance in the experimental group and control group were no significantly different at the .05 level. Conclusion: Core stability training can increase lower back strengthen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1437-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectว่ายน้ำen_US
dc.subjectการฝึกกำลังกล้ามเนื้อen_US
dc.subjectหลังen_US
dc.subjectSwimmingen_US
dc.subjectMuscle strength trainingen_US
dc.subjectBacken_US
dc.titleผลของการฝึกความมั่นคงของลำตัวที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอว์ลในนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนชายen_US
dc.title.alternativeEffects of core stability training on lower back strenngth and crawl swimming performance in young male swimmeren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChaninchai.I@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPrawit.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1437-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
palakorn_na.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.