Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33462
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อารีย์วรรณ อ่วมตานี | - |
dc.contributor.author | สุกัญญา ศิริโสภารักษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-29T04:04:02Z | - |
dc.date.available | 2013-07-29T04:04:02Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33462 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความตามแนวคิดของ Heidegger คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่ได้ รับรางวัลการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ และมีความยินดีในการเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม และการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ นำข้อมูลมาถอดเทปแบบคำต่อคำ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบตีความตามวิธีของ van Manen ได้จำนวนผู้ให้ข้อมูลรวม 13 คน ผลการศึกษาประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ แบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. เริ่มต้นงานด้วยพื้นฐานแรงบันดาลใจ ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) ครอบครัวปลูกฝังและสร้างพลังใจ 1.2) อุดมการณ์ชีวิตที่ยึดมั่น สร้างสรรค์แต่สิ่งดี 1.3) ประสบการณ์ชีวิต สอนให้เห็นอกเห็นใจผู้อื่น 1.4) มีจิตบริการที่หล่อหลอมจากวิชาชีพ 1.5) ยึดแนวปฏิบัติตามหลักศาสนา และ 1.6) ทำงานตามเป้าหมาย ตอบแทนให้กับสังคม 2. ใจมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 3. ดูแลผู้ป่วยด้วยใจ ไม่มีสูตรตายตัว ประกอบด้วย 8 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) รู้จัก รู้ใจ กายสัมผัส 3.2) ทำความหวังครั้งสุดท้ายให้เป็นจริง ไม่ทิ้งสิ่งค้างคาใจ 3.3) ให้ญาติมีส่วนร่วม รับรู้ทุกช่วงของการเปลี่ยนแปลง 3.4) ช่วยแก้ปัญหา ทำอย่างไรให้ชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น 3.5) ทำช่วงทุกข์ให้เป็นช่วงแห่งความสุข 3.6) ใช้หลักศาสนาเยียวยาจิตใจผู้ป่วย 3.7) เป็นสื่อกลางประสานความช่วยเหลือ และ3.8) ช่วยให้ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ 4. คุณค่างานเกิดที่ใจ ไม่ใช่รางวัล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ 4.1) เห็นคุณค่าของชีวิตและงาน 4.2) ภูมิใจกับความสำเร็จ และ4.3) ทำงานอย่างมีความสุข จากผลการศึกษานี้ ทำให้เข้าใจประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลในด้านการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The present study aimed at investigating the experience of being a professional nurse providing humanized care to patients. The phenomenological research methodology was employed based on the concept of Heidegger. Purposive sampling was used to select the informants of the study who were professional nurses who had been awarded for their provision of humanized care to patients and who were willing to participate in the study. Data were collected by means of in-depth interviews, field observation, and compilation of evidence. The audio-recorded interviews were transcribed verbatim, and van Manen’s thematic analysis was utilized to analyze data. The total number of informants was 13. The study findings on experience of being a professional nurse providing humanized care to patients could be divided into four major themes as follows: 1. Starting work with inspiration consisting of six subthemes of 1.1) family and spiritual morale, 1.2) Idealism in life for creation of goodness, 1.3) life experience teaching human compassion, 1.4) professional service-mindedness, 1.5) adherence to religious principles, and 1.6) working to meet the goal to pay back to society. 2. Determination and no surrender to obstacles. 3. Providing care with the heart with no specific pattern consisting of eight subthemes of 3.1) getting to know physically and psychologically, 3.2) fulfilling the last wish, 3.3) family participation to learn about every step of the changes, 3.4) problem-solving to improve patients’ life, 3.5) changing sufferings to happiness, 3.6) using religion for spiritual healing, 3.7) being a medium and coordinator of help, 3.8) helping patients accept what has happened and return to normal life. 4. Value of the work starts with the mind, not a reward consisting of three subthemes of: 4.1) realizing the values of life and work, 4.2) taking pride in success, and 4.3) working with happiness. The study findings shed light on the experience of being a professional nurse providing humanized care to patients, which can be used by nursing administrators to devise a guideline to develop nursing personnel who are able to provide humanized care to patients. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1469 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พยาบาลกับผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | การพยาบาล | en_US |
dc.subject | มนุษยนิยม | en_US |
dc.subject | จรรยาบรรณพยาบาล | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาล -- การบริหารงานบุคคล | en_US |
dc.subject | พยาบาล -- การศึกษา | en_US |
dc.subject | Nurse and patient | en_US |
dc.subject | Nursing | en_US |
dc.subject | Humanism | en_US |
dc.subject | Nursing ethics | en_US |
dc.subject | Hospitals -- Personnel management | en_US |
dc.subject | Nurses -- Education | en_US |
dc.title | ประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ | en_US |
dc.title.alternative | Experiences of being a professional nurse providing humanized care for patients | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การบริหารการพยาบาล | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | areeday@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1469 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sukanya_si.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.