Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33605
Title: | มาตรการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียน |
Other Titles: | Regulatory measures of auditors for listed companies |
Authors: | ทิวารักษ์ เจริญทรัพย์ |
Advisors: | สำเรียง เมฆเกรียงไกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Samrieng.M@chula.ac.th |
Subjects: | ผู้สอบบัญชี -- ไทย บริษัท -- การสอบบัญชี บริษัทมหาชน การกำกับดูแลกิจการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ Auditors -- Thailand Corporations -- Auditing Public companies Corporate governance -- Law and legislation |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียนมีบทบาทและหน้าที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่กลุ่มผู้ใช้งบการเงิน ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ธนาคารหรือเจ้าหนี้ และกลุ่มนักลงทุนที่มีต่องบการเงินและการลงทุนในตลาดทุน ดังนั้นจึงมีมาตรการทางกฎหมายและองค์กรต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียนเข้มงวดกว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป แม้จะมีมาตรการทางกฎหมายและองค์กรต่างๆ ทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียนอย่างเข้มงวดแล้ว แต่ก็ยังคงปรากฎปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี ความล้มเหลวในการปฏิบัติงานตรวจสอบของผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียนจากกรณีศึกษาต่างๆ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องของมาตรการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียน ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ Sarbanes – Oxley เพื่อควบคุมกำกับดูแลผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียนให้มีความเข้มงวดมากขึ้นและเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อตลาดทุนกลับคืนมา วิทยานิพนธ์นี้มุ่งที่จะศึกษาถึงบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียน สาเหตุของความล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียน และศึกษาถึงเพียงพอของการควบควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าความล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบของผู้สอบบัญชีในบริษัทจดทะเบียนนั้น ส่วนหนึ่งนั้นมีสาเหตุมาจากการขาดความเป็นอิสระและการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้สอบบัญชี ดังนั้นจึงควรมีมาตรการทางกฎหมายที่กำหนดเรื่องความเป็นอิสระอย่างชัดเจน และควรมีหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีและสำนักงานบัญชีที่ปฏิบัติงานตรวจสอบให้แก่บริษัทจดทะเบียนให้มีความเข้มงวดขึ้นและสามารถตรวจสอบการกระทำผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อป้องกันปัญหาการขาดความเป็นอิสระและการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้สอบบัญชี |
Other Abstract: | Auditors of listed companies have a role in assuring the confidence to the financial statement users including shareholders, banks or creditors and investors. To govern their operations, the legal measures and many organizations have been established. Monitoring of the performance of auditors in listed companies is more stringent than the general auditors. Despite the intensive governing has been used, but the financial certification problems are still occurred. The expression of opinions on the financial statements from the facts, the failure of audit performance of auditors of listed companies reflect the imperfection of the governed measures to the performance of auditors in listed companies. The United States has enacted the Sarbanes - Oxley Act of 2002 to increase the strictness of auditors of listed companies’ regulation and to make the confidence of investors on capital market. The aims of this thesis are to study the roles, duties and responsibilities of auditors in listed companies and the causes of the failure to perform their duties as auditors and to study the adequacy of the regulations relating to the performance of auditors in listed companies in Thailand. The study found that the failure in the performance of the auditing duties has mainly caused by the lack of independence and the existence of conflict of interest. Therefore, it should have legal measures specificly regulating the independence of those auditors and have the agencies that are independent from the accounting profession to make a more stringent regulation of the performance of auditors and audit firms of listed companies and to make an effective fraud inspection as well as to prevent the occurring of the lack of independence and the existence of conflict of interest of auditors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33605 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.431 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.431 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thiwarak_ch.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.