Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33759
Title: การผลิตไทเทเนียมออกไซด์จากแร่อิลเมไนต์
Other Titles: Production of titanium oxide from ilmenite
Authors: เทียนไชย ตันไทย
Advisors: ภิญโญ มีชำนะ
วิกรม วัชระคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยการผลิตไทเทเนียมออกไซด์จากแร่อิลเมไนต์ โดยการนำตัวอย่างแร่อิลเมไนต์ที่เป็นผลแร่พลอยได้จากการแต่งมูลแร่ดีบุกจากโรงแต่งแร่ห้างหุ้นส่วนจำกัด รุ่งอรุณตะกั่วป่า อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา ที่มีส่วนประกอบเคมีคือ TiO₂ = 51.86%, Fe total = 31.98%, FeO – 22.74%, Fe₂O₃ = 20.44% และ MnO = 4.101% ผ่านกรรมวิธีการผลิต 4 ขั้นตอนคือ การเผาออกซิเดชัน การเผารีดักชันการกวนที่มีการพ่นอากาศ และการชะละลายทางเคมี การเผาออกซิเดชัน เป็นการเผาแร่เพื่อออกซิไดส์เฟอรัสไอออนเป็นเฟอริกไอออน สภาวะที่เหมาะสมคือ การเผาที่อุณหภูมิ 100̊ ซ. เป็นเวลานาน 4 ชั่วโมง เฟสของผลผลิตเป็นซูโดบรูคไกต์และรูไทล์ มีส่วนประกอบเคมีคือ TiO₂ = 51.86%, Fe total = 31.98%, FeO = 0.99% Fe₂O₃ = 44.62% และ MnO = 4.10% การเผารีดักชัน โดยใช้แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่จากการเผาคาร์บอนทำการรีดิวซ์เหล็กออกไซด์ในตัวอย่างแร่ที่ผ่านการออกซิเดชันเป็นโลหะเหล็ก สภาวะที่เหมาะสมคือ การเผาที่อุณหภูมิ 1200̊ ซ. เป็นเวลานาน 4 ชั่วโมง เฟสของผลผลิตเป็นซูโดบรูคไกต์ อะนาเทส และโลหะเหล็ก มีโลหะเหล็กที่เกิดขึ้น 23.73% ค่าเปอร์เซ็นต์การเป็นโลหะเท่ากับ 74.20 การกวนตัวอย่างแร่ที่ผ่านการรีดักชันในสารละลายแอมโมเนียมคลอไรด์ที่มีการพ่นอากาศ สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกวนตัวอย่างแร่ 30 กรัม ในสารละลายแอมโมเนียมคลอไรด์ความเข้มข้น 2% ที่เปอร์เซ็นต์ของแข็งในน้ำหนักรวม 40 น้ำหนักต่อน้ำหนัก ณ อุณหภูมิ 60̊ ซ. โดยใช้ความเร็วรอบในการกวน 500 รอบต่อนาที และใช้อัตราการไหลของอากาศ 15 ลิตรต่อนาที เป็นเวลานาน 12 ชั่วโมง เฟสของผลผลิตที่ได้เป็นซูโดบรูคไกต์ และอะนาเทส มีส่วนประกอบเคมีคือ TiO₂ = 84.63%, Fe total = 5.26%, Feo = 3.34%, Fe₂O₃ = 3.80% และ MnO₂ = 5.29% การชะละลาย ตัวอย่างแร่ที่ผ่านการกวนที่มีการพ่นอากาศด้วยกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดซัลฟิวริก การชะละลายมีผลต่อตัวอย่างแร่น้อย การชะละลายด้วยกรดไฮโดรคลอริก เฟสของผลผลิตเป็นอะนาเทสและรูไทล์ มีส่วนประกอบเคมีคือ TiO₂ = 87.61%, Fe₂O₃ = 3.49% และ MnO₂ = 4.90% ที่เปอร์เซ็นต์การเก็บ TiO₂ ได้ = 98.03 สำหรับการชะละลายด้วยกรดซัลฟิวริก เฟสของผลผลิตเป็นอะนาเทส และรูไทล์ มีส่วนประกอบเคมีคือ TiO₂ = 88.13%, Fe₂O₃ = 3.89% และ MnO₂ = 5.07% ที่เปอร์เซ็นต์การเก็บ TiO₂ ได้ = 94.16
Other Abstract: Ilmenite concentrate from a tin dressing plant of Roong-Aroon Takuapa Limited Partnership, Amphoe Takuapa, Phangnga Province, was selected containing 51.86% TiO₂, 31.98% Fe total, 22.74% FeO, 20.44% Fe₂O₃ and 4.10% MnO. The process to produce titanium oxide includes oxidation roast, reduction roast, aeration and chemical leaching. Oxidation roast was done to oxidize ferrous iron to ferric iron. Suitable conditions for oxidation roast were at 1000 ℃ for 4 hours. Phases of the roasted product were pseudobrookite and rutile containing 51.86% TiO₂, 31.98% Fe total, 0.99% FeO, 44.62% Fe₂O₃ and 4.10% MnO. Reduction roast was done by carbon monoxide gas produced by carbon roasting to reduce iron oxide in oxidized ilmenite to be metallic iron. Suitable conditions for reduction roast were at 1200 ℃ for 4 hours. Phases produced were pseudobrookite, anatase and metallic iron. It contained 23.73% metallic iron and percentage of metallisation was 74.20. Aeration stage was done by stirring of reduced ilmenite in ammonium chloride with aeration. Aeration of 30 gram reduced ilmenite in 2% ammonium chloride with 40% solids at 60 ℃ with 500 rpm stirrer speed and flow rate of 15 litres per minute for 12 hours were suitable conditions for aeration. Phases of the product were pseudobrookite and anatase having chemical compositions of 84.63% TiO₂, 5.26% Fe total, 3.34% FeO, 3.80% Fe₂O₃ and 5.29% MnO₂. Leaching stage of the aerated sample was done using hydrochloric acid or sulphuric acid. Leaching had few effect on the sample. For hydrochloric acid leaching, the phases of the leached product were anatase and rutile having chemical composition of 87.61% TiO₂, 3.49% Fe₂O₃ and 4.90% MnO₂ with 98.03% TiO₂, recovery. For sulphuric acid leaching, the leached product were anatase and rutile having chemical composition of 88.13% TiO₂, 3.89% Fe₂O₃ and 5.07% MnO₂ with 94.16% TiO₂ recovery.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเหมืองแร่
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33759
ISBN: 9745782505
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tienchai_to_front.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open
Tienchai_to_ch1.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Tienchai_to_ch2.pdf16.54 MBAdobe PDFView/Open
Tienchai_to_ch3.pdf14.73 MBAdobe PDFView/Open
Tienchai_to_ch4.pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open
Tienchai_to_ch5.pdf11.18 MBAdobe PDFView/Open
Tienchai_to_ch6.pdf11.91 MBAdobe PDFView/Open
Tienchai_to_ch7.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
Tienchai_to_back.pdf18.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.