Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33820
Title: การศึกษาความสามารถในการแปรสภาพเป็นเซลล์สร้างเนื้อเยื่อแข็งของเซลล์เนื้อเยื่อในโพรงฟันน้ำนมของ ผู้ป่วยดาวน์ ซินโดรม
Other Titles: Characterization of osteogenic differentiation of deciduous dental pulp cells from down syndrome patients
Authors: อรนุช เตชาธาราทิพย์
Advisors: ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Thipawan.T@chula.ac.th
Subjects: เนื้อเยื่อฟัน
ฟันน้ำนม
กลุ่มอาการดาวน์ -- ผู้ป่วย
Dental pulp
Deciduous teeth
Down syndrome -- Patients
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ดาวน์ ซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้มากทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก นอกจากความพิการทางสติปัญญาแล้ว ผู้ป่วยดาวน์ ซินโดรมยังมีความผิดปกติในพัฒนาการของฟันด้วย อย่างไรก็ดียังไม่มีการศึกษาถึงพฤติกรรมของเซลล์ในช่องปากของผู้ป่วยดาวน์ ซินโดรมว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการแบ่งตัวของเซลล์ และความสามารถในการแปรสภาพเป็นเซลล์สร้างเนื้อเยื่อแข็งของเซลล์เนื้อเยื่อในโพรงฟันน้ำนมของผู้ป่วยดาวน์ ซินโดรมกับเด็กปกติ โดยเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาอัตราการแบ่งตัวโดยใช้วิธีเอ็มทีที ศึกษาระดับการแสดงออกยีนของอาร์เอ็นเอนำรหัสคอลลาเจน ชนิดที่ 1 ออสติโอแคลซิน คอร์บายดิ้งแฟกเตอร์1 และอัลคาไลน์ฟอสฟาเตส โดยใช้วิธีอาร์ที-พีซีอาร์ ศึกษาค่าการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และศึกษาการเกิดตะกอนแคลเซียมด้วยการย้อมสีอะลิซารินเรด ผลการทดลองพบว่าเซลล์ของผู้ป่วยดาวน์ ซินโดรมมีอัตราการแบ่งตัวช้ากว่า แต่สามารถแปรสภาพเป็นเซลล์คล้ายเซลล์สร้างกระดูกเร็วกว่าเซลล์จากเนื้อเยื่อในโพรงฟันน้ำนมของเด็กปกติ โดยมีระดับการแสดงออกของยีนออสติโอแคลซิน คอร์บายดิ้งแฟกเตอร์ 1 อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และค่าการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสสูงกว่า รวมทั้งมีการสะสมตะกอนแคลเซียมได้เร็วและมากกว่าเซลล์ของผู้ป่วยเด็กปกติ จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า เซลล์ของเนื้อเยื่อในโพรงฟันน้ำนมของผู้ป่วยดาวน์ ซินโดรมมีอัตราการเจริญที่ช้า และมีความไวต่อการกระตุ้นการแปรสภาพเป็นเนื้อเยื่อแข็งได้มากกว่าเด็กปกติ ความรู้นี้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาหาวิธีการป้องกันและรักษาฟันของผู้ป่วยดาวน์ ซินโดรมต่อไป
Other Abstract: Down syndrome (DS) is the chromosomal disorder commonly found in Thailand and worldwide. Despite the mental retardation characteristics of the patients, it has been shown that these patients also have the dental abnormalities. The behavior of cells from oral cavity in DS is still unrevealed. The aim of this study is to examine the proliferation rate and the osteogenic differentiation potential of dental pulp cells obtained from deciduous teeth from DS compared to those normal patients. MTT assay was used to examine the proliferation rate, while the RT-PCR technique was used to evaluate the level of mRNA expression of type I collagen, osteocalcin, core binding factor1 and alkaline phosphatase. Osteogenic differentiation was examined by alkaline phosphatase assay and in vitro calcification was determined by alizarin red staining. The results indicated that dental pulp cells from DS patients had slow rate of proliferation compared to cells from normal patients. However, dental pulp cells from DS patients showed high level expression of osteocalcin, core binding factor 1 and alkaline phosphatase. Moreover, increasing rate of alkaline phosphatase activity and in vitro calcification in cells from DS patients was observed. The results suggested that dental pulp cells from DS patients had slow rate of proliferation but high tendency for osteogenic differentiation compared to cells from normal patients. The knowledge may benefit the improvement of dental care and treatment for DS in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33820
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1453
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1453
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
oranuch_te.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.