Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33853
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของทักษะชีวิตของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดนครราชสีมา: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
Other Titles: The development of a causal model of life skills of ninth grade students in Nakhonratchasima: a multi – group analysis
Authors: ระเบียบ เพราะผักแว่น
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th
Subjects: ทักษะชีวิต
Life skills
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดนครราชสีมา 2)พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดนครราชสีมา 3)ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดนครราชสีมา ที่ศึกษาในสังกัดที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 842 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายใน 4 ตัว คือ การมีทักษะชีวิต ประกอบด้วยการมีทักษะชีวิต ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย ตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัว คือ ปัจจัยภายในตัวบุคคลและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 17 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรตั้งแต่ .550 - .850 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น และการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวแปรต้น 8 ตัวแปร ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มโนภาพแห่งตน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การปรับตัว การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การมีทักษะชีวิตของครู การมีทักษะชีวิตของกลุ่มเพื่อนสนิทและอิทธิพลของสื่อมวลชน ร่วมกันทำนายการมีทักษะชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และตัวแปรทุกตัวสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรทักษะชีวิตได้ร้อยละ 52.80 2. โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดนครราชสีมา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องให้ค่า X2 = 11.421, df = 20, p = .935, GFI = 0.998, AGFI = .992 และ RMR = .003 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการมีทักษะชีวิตได้ร้อยละ 67.40 การมีทักษะชีวิตได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าปัจจัยภายในตัวบุคคล 3. โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดนครราชสีมา มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบของโมเดลระหว่างนักเรียนต่างสังกัดโดยให้ค่า X2 = 33.854, df = 48, p = .939, GFI= .992, NFI =.995, RFI = .989 และ RMR = .016 แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์น้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้ และเมทริกซ์ความแปรปรวน – ความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อน ในการวัดของตัวแปรภายในสังเกตได้
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study factor affecting life skills of ninth grade students in Nakhonratchasima 2) to develop of the causal model of life skills of ninth grade students in Nakhonratchasima 3) to test invariance of the model of life skills of ninth grade students across jurisdictions in Nakhonratchasima.The research sample consisted of 842 ninth grade students. Variables consisted of 4 endogenous latent variables; life skills, cognitive, affective and psychomotor and 2 exogenous latent variables; personal factor and environmental factor. These latent variables were measured by 17 observed variables. The research instruments was questionnaire having reliability for variables ranging from .550 - .850 and analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, multiple regression analysis, confirmatory factor analysis, second order confirmatory factor analysis, linear structural equation model, and multiple group analysis. The major findings were as follows: 1. Eight predictors consisted of achievement motive, self – concept, achievement, adjustment, love and support child rearing practice, teacher’s life skills, friend’s life skills and influence of medias accounted for 52.80 % of life skills. 2. The causal model of life skills of ninth grade students in Nakhonratchasima was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi – square goodness of fit test was 11.421, df = 20, p = .935, GFI = 0.998, AGFI = .992 and RMR = .003 .The model accounted for 67.40 % of life skills. Environmental factor was more effective than personal factor. 3. The causal model of life skills of ninth grade students in Nakhonratchasima indicated invariance of model form, The model indicated that the Chi – square goodness of fit test was 33.854 , df = 48, p = .939, GFI= .992, NFI =.995, RFI = .989 and RMR = .016 , but there was variance the factor loading of observed variables and variance – covariance matrix parameter between the error of measuring internal observe variables.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33853
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.304
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.304
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rabiab_pr.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.