Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33897
Title: ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกแผ่นหญ้าสนาม
Other Titles: Costs and return on investment in turf crass sods plantation
Authors: นิลวรรณ เล็กเจริญสุข
Advisors: วิมาน วิรุฬ์จรรย์
วรกัลยา วัฒนสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: หญ้าสนาม -- ไทย
ต้นทุน
การวิเคราะห์และประเมินโครงการ
อัตราผลตอบแทน -- ไทย
การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกแผ่นหญ้าสนาม ผู้วิจัยได้สำรวจข้อมูลจากเกษตรกรจำนวน 30 ราย ในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง ระยะเวลาออกสำรวจตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2530 จากการสำรวจพบว่าเกษตรกรแต่ละรายอาจทำการปลูกหญ้าสนามมากกว่า 1 พันธุ์ โดยพันธุ์หญ้าสนามที่ปลูกเพื่อการค้าได้แก่ หญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่นและหญ้าทิฟกรีน จึงใช้การปลูกหญ้าแต่ละพันธุ์ของเกษตรกรเป็นตัวแทนในการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกหญ้าสนามพันธุ์นั้น การปลูกหญ้านวลน้อยมีจำนวน 30 ตัวอย่าง การปลูกหญ้ามาเลเซียมีจำนวน 13 ตัวอย่าง การปลูกหญ้าญี่ปุ่นมีจำนวน 10 ตัวอย่าง และการปลูกหญ้าทิฟกรีนมีจำนวน 4 ตัวอย่าง จากการศึกษาต้นทุนการปลูกหญ้าสนามแต่ละพันธุ์ รุ่นที่ปลูกในช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม ปีการเพาะปลูก 2529 พบว่าต้นทุนการปลูกหญ้านวลน้อยและหญ้ามาเลเซียจะใกล้เคียงกัน และต้นทุนการปลูกหญ้าญี่ปุ่นจะใกล้เคียงกับต้นทุนการปลูกหญ้าทิฟกรีน โดยต้นทุนการปลูกหญ้าทิฟกรีนสูงที่สุดเฉลี่ยไร่ละ 8,421.02 บาท รองมาได้แก่ ต้นทุนการปลูกหญ้าญี่ปุ่น หญ้ามาเลเซียและหญ้านวลน้อย เฉลี่ยไร่ละ 8,333.80 บาท 7,489.48 บาท และ 7,343.25 บาทตามลำดับ ในส่วนประกอบของต้นทุนการปลูกหญ้าสนาม หญ้าทิฟกรีนมีต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่เฉลี่ยไร่ละ 7,807.36 บาท และ 613.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 92.71 และ 7.29 ของต้นทุนทั้งหมดตามลำดับ หญ้าญี่ปุ่นมีต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่เฉลี่ยไร่ละ 7,667.70 บาท และ 666.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 92.01 และ 7.99 ของต้นทุนทั้งหมดตามลำดับ หญ้ามาเลเซียมีต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่เฉลี่ยไร่ละ 6,843.59 บาท และ 645.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 91.38 และ 8.62 ของต้นทุนทั้งหมดตามลำดับ หญ้านวลน้อยมีต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่เฉลี่ยไร่ละ 6,678.68 บาท และ 664.57 บาท คิดเป็นร้อยละ 90.95 และ 9.05 ของต้นทุนทั้งหมดตามลำดับ ผลผลิตต่อไร่ของการปลูกหญ้าสนามแต่ละพันธุ์เท่ากัน คือ 1,600 ตารางเมตร เนื่องจากเกษตรกรมีการเตรียมแปลงปลูกหญ้าให้มีพื้นที่ราบสำหรับปลูกหญ้าตามขนาดพื้นที่มาตรฐาน คือ 1 ไร่ เท่ากับ 1,600 ตารางเมตร ดังนั้นผลผลิตของการปลูกหญ้าทิฟกรีน หญ้าญี่ปุ่น หญ้ามาเลเซียและหญ้านวลน้อยมีต้นทุนเฉลี่ยต่อตารางเมตรคือ 5.26 บาท 5.21 บาท 4.68 บาท และ 4.59 บาท ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าแรงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในส่วนประกอบของต้นทุนการปลูกหญ้าญี่ปุ่น หญ้ามาเลเซียและหญ้านวลน้อยเฉลี่ยไร่ละ 4,137.34 บาท 3,756.77 บาท และ 3,617.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 49.64 50.16 และ 49.27 ของต้นทุนทั้งหมดตามลำดับ ค่าวัสดุการเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในส่วนประกอบของต้นทุนการปลูกหญ้าทิฟกรีนเฉลี่ยไร่ละ 4,252.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.49 ของต้นทุนทั้งหมด สาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการปลูกหญ้าสนามแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันได้แก่ ลักษณะทางธรรมชาติของหญ้าสนามแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทำให้ค่าแรงในการปลูกและการดูแลรักษาแตกต่างกัน และราคาจำหน่ายพันธุ์หญ้าแต่ละชนิดแตกต่างกัน ทำให้ค่าพันธุ์หญ้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันดับ 1 ในส่วนประกอบของต้นทุนค่าวัสดุการเกษตรของหญ้าสนามแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกัน ราคาจำหน่ายหญ้าสนามนอกจากจะขึ้นกับชนิดของพันธุ์หญ้าแล้ว ยังขึ้นกับภาวะตลาดในแต่ละช่วงฤดูกาลด้วย ช่วงฤดูร้อนราคาจำหน่ายหญ้าสนามจะต่ำกว่าช่วงฤดูหนาว เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้หญ้าสนามของตลาดในช่วงฤดูร้อนจะมีน้อยกว่าในช่วงฤดูหนาว ราคาจำหน่ายเฉลี่ยของหญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่น และหญ้าทิฟกรีน รุ่นที่ปลูกในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ปีการเพาะปลูก 2529 เฉลี่ยตารางเมตรละ 5.70 บาท 6.23 บาท 6.69 บาท และ 8.50 บาท ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกหญ้าสนามแต่ละพันธุ์พบว่าหญ้าทิฟกรีนจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงที่สุด รองมาได้แก่หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่นและหญ้านวลน้อยตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ทุกแบบผลการวิเคราะห์ปรากฏดังนี้ การวิเคราะห์สถานภาพด้านรายได้-ค่าใช้จ่ายของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรที่ปลูกหญ้าทิฟกรีนมีอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อค่าขายสูงที่สุดคือ 0.38 รองมาได้แก่ หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่น และหญ้านวลน้อย มีอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อค่าขาย 0.25 0.22 และ 0.20 ตามลำดับ อัตราส่วนของค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อค่าขายหญ้าทิฟกรีน หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่นและหญ้านวลน้อย คือ 0.62 0.75 0.78 และ 0.80 ตามลำดับ การวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจพบว่า การลงทุนปลูกหญ้าทิฟกรีนมีผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจสูงที่สุด คือมีอัตราผลตอบแทนและอัตรากำไรส่วนเกินต่อต้นทุนทั้งหมด 61.60% และ 68.82% รองมาได้แก่หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่น และหญ้านวลน้อย มีอัตราผลตอบแทนและอัตรากำไรส่วนเกินต่อต้นทุนทั้งหมดคือ 33.12% และ 41.67% 28.41% และ 36.47% 24.18% และ 33.33% ตามลำดับ การวิเคราะห์ปริมาณผลผลิต ณ จุดคุ้มทุนพบว่า ณ ราคาขาย 8.50 บาทต่อตารางเมตรปริมาณผลผลิต ณ จุดคุ้มทุนของหญ้าทิฟกรีนต่ำที่สุด คือ 169.52 ตารางเมตร รองมาได้แก่ หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่น และหญ้านวลน้อย มีปริมาณผลผลิต ณ จุดคุ้มทุนที่ 331.23 ตารางเมตร 350.58 ตารางเมตร และ 4.34.36 ตารางเมตร ณ ราคาขายตารางเมตรละ 6.23 บาท 6.69 บาท และ 5.70 บาทตามลำดับ การวิเคราะห์รายได้-ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดพบว่า เกษตรกรที่ปลูกหญ้าทิฟกรีนมีกำไรที่เป็นตัวเงินสูงที่สุดเฉลี่ยไร่ละ 7,084.79 บาท คิดเป็นร้อยละ 112.24 ของต้นทุนทั้งหมด รองมาได้แก่ หญ้ามาเลเซีย หญ้าญี่ปุ่น และหญ้านวลน้อย มีผลตอบแทนกำไรที่เป็นตัวเงินเฉลี่ยไร่ละ 4,423.83 บาท 4,506.12 บาท และ 3,657.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 75.98 72.93 และ 66.66 ของต้นทุนทั้งหมดตามลำดับ อย่างไรก็ตามในการลงทุนปลูกหญ้าสนามพบว่า เกษตรกรยังประสบกับปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ปัญหาด้านการผลิต โดยเฉพาะเรื่องของระบบการชลประทานและการขาดความรู้ในเทคโนโลยีด้านการผลิตสมัยใหม่ ฉะนั้น เกษตรกรที่ทำการปลูกหญ้าสนามควรร่วมกัน โดยจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าสนามขึ้น ดำเนินงานโดยขอความร่วมมือกับหน่วยงานราชการหรือสถาบันทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการจัดระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเผยแพร่วิชาความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตหญ้าสนามสมัยใหม่ให้แก่เกษตรกร
Other Abstract: The purpose of this research is to study the costs and return on investment of turf grass sods’ plantation. The research is based on a survey of 30 growers at Minbury in Bangkok chosen by random sampling; 30 samples were obtained for Manilagrass, 13 for Carpetgrass, 10 for Japanesegrass and 4 for Tifgreengrass, being the four kinds of turf grass sods’ plantation for commercial purposes. The duration of this survey was between January 1st and February 28th, 1987. It is revealed that each farmer may grow more than one kind of turfs. The costs and return on investment of each kind of turf grass sods’ plantation were studied for this research. During the plantation period from October to December, 1986; it was found that the cost of Manilagrass’s plantation was close to Carpetgrass’s and that of Japanesegrass’s plantation was close to Tifgreengrass’s. The highest average cost of Tifgreengrass was 8,421.02 baht per rai. The average cost of Japanesegrass, Carpetgrass and Manilagrass were 8,333.80, 7,789.48 and 7,343.25 baht per rai, respectively. The composition of plantation costs are the average variable and average fixed cost. The average variable and average fixed cost per rai of Tifgreengrass, Japanesegrass, Carpetgrass and Manilagrass were 7,807.36 and 613.66; 7,667.70 and 666.10; 6,843.59 and 645.89 and 6,678.68 and 664.57 baht or 92.71% and 7.29%; 92.01% and 7.99%; 91.38% and 8.62% and 90.95% and 9.05% of total cost, respectively. The yield obtained from each turf’s plantation per rai is equal because farmers cultivated on a standard area of one rai which is equal to 1,600 square meters. So the average production costs per square meter of Tifgreengrass, Japanesegrass, Carpetgrass and Manilagrass are 5.26, 5.21, 4.68 and 4.59 baht, respectively. It was also found that the labour cost was the most important factor in the production costs of Japanesegrass, Carpetgrass and Manilagrass amounting to 4,137.34, 3,756.77 and 3,617.89 baht per rai or 49.64%, 50.16% and 49.27% of total cost, respectively. The agricultural materials are the most important factor for the plantation cost of Tifgreengrass, the average cost per rai being 4,252.48 baht or 50.49% of total cost. The major reason of the difference in turf grass sods’ plantation cost is the different nature of each kind of turf grass which demands different kind of attention and care in the plantation while the selling price of each kind of turf is also different which causes different cost for grass seeds. The selling price of turf grass sods relates not only to the kind of each turf but also the situation of market in each season. In summer, the demand for turf grass sods is less than in winter so the selling price in summer is low. In 1986, between October and December, the average selling price per square meter of Manilagrass, Carpetgrass, Japanesegrass and Tifgreengrass were 5.70, 6.23, 6.69 and 8.50 baht respectively. From the analysis of the rate of return on investment, it was found that the return from Tifgreengrass’s plantation made the most profit, followed by that of Carpetgrass, Japanesegrass and Manilagrass, respectively. The results of the analysis are:- From the analysis of the state of revenue and expense, it is found that the highest profit ratio to sale is from Tifgreengrass’s plantation which is 0.38 while that of Carpetgrass, Japanesegrass and Manilagrass are 0.25, 0.22 and 0.20 respectively. The ratio of operating cost to sale of Tifgreengrass, Carpetgrass, Japanesegrass and Manilagrass were 0.62, 0.75, 0.78 and 0.80 respectively. From the economic analysis, it is found that the return from Tifgreengrass’s plantation is the highest, the profit ratio to total cost and the contribution profit margin ratio to total cost were 61.60% and 68.82% respectively, followed by the returns from the Carpetgrass, Japanesegrass and Manilagrass’s plantation which were 33.12% and 41.67%l 28.41% abd 36.47%; 24.18 and 33.33% respectively. From productivity analysis to arrive at break even point, it is found that at selling price of 8.50 baht per square meter the product’s quantity at break even point of Tifgreengrass was the lowest at 169.52 square meter, while the quantity at break even point for Carpetgrass, Japanesegrass and Manilagrass at the selling price per square meter of 6.23, 6.69 and 5.70 baht are 331.23, 350.58 and 434.36 square meter, respectively. From the analysis of revenue and expense in cash, it is found that Tifgreengrass’s plantation gets the highest profit in cash at 7,084.79 baht per rai or 112.24% of total cost, followed by Carpetgrass, Japanesegrass and Manilagrass at 4,423.83, 4,506.12 and 3,657.89 baht per rai or 75.98%, 72.93% and 66.66% of total cost, respectively. However; there are many problems in turf grass sods’ plantation investment that farmers have faced. The important one is the production’s problem, especially in the irrigation system and inadequate knowledge of modern technology. Therefore; to develop turf grass sods’ plantation, the farmers should establish themselves in groups and coorperate with the government sections or institution concerned to obtain help in efficient irrigation system and knowledge of modern technology to be used in the plantation.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33897
ISBN: 9745680427
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nillawan_le_ch1.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Nillawan_le_ch2.pdf13.3 MBAdobe PDFView/Open
Nillawan_le_ch3.pdf15.8 MBAdobe PDFView/Open
Nillawan_le_ch4.pdf9.61 MBAdobe PDFView/Open
Nillawan_le_ch5.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open
Nillawan_le_back.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.