Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34191
Title: | การศึกษาอุณหภูมิที่ผิววัสดุปูพื้นภายนอกอาคารในเชิงความสัมพันธ์ กับมวลสาร สี และพื้นผิววัสดุ |
Other Titles: | A study of surface temperature in relation to the mass, color intensity and texture of outdoor paving materials |
Authors: | นิสรา อารุณี |
Advisors: | สุนทร บุญญาธิการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | วัสดุปูพื้น -- การทดสอบ อุณหภูมิ ความร้อน -- การถ่ายเท การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางการเลือกใช้วัสดุปูพื้นภายนอกที่เหมาะสม ในการใช้งานโดยศึกษาผลของมวลสาร ความเข้มของสี และลักษณะพื้นผิว ที่มีต่ออุณหภูมิที่ผิววัสดุพื้นภายนอกอาคารที่ไม่มีความลาดเอียงและได้รับแสงแดดตลอดวัน วิธีการวิจัยเป็นการวัดอุณหภูมิที่ผิวของวัสดุทดสอบ 3 ชนิด ได้แก่ คอนกรีต โฟมโพลีสไตรีนและไม้ ที่มีพื้นผิวสีดำ สีขาว และผิวขรุขระ ซึ่งวางกลางแจ้งในสภาพที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมเหมือนการใช้งานจริง วัดและบันทึกผลอุณหภูมิที่ผิววัสดุด้วยเครื่อง Data Logger หลังจากนั้นทำการทดลองเช่นเดียวกันกับบล็อกซีแพค บล็อกหญ้าและสนามหญ้า ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างของมวลสารมีผลต่ออุณหภูมิที่ผิววัสดุโดยวัสดุที่มีมวลมากจะมีอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิที่ผิววัสดุช้ากว่าวัสดุที่มีมวลน้อย ทำให้มีวัสดุที่มีมวลมากมีอุณหภูมิต่ำกว่าวัสดุมวลน้อยในช่วงเวลาประมาณ 7.00 น. ถึง 16.00 น. หลังเวลา 16.00 น. จนถึงเวลา 07.00 น. ของวันใหม่ วัสดุที่มีมวลน้อยจึงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าวัสดุที่มีมวลมาก สำหรับความเข้มของสีมีผลต่ออุณหภูมิที่ผิววัสดุแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างวัสดุสีเข้มและสีอ่อนในเวลากลางวันที่มีรังสีดวงอาทิตย์ โดยวัสดุสีเข้มจะมีอุณหภูมิที่ผิววัสดุสูงกว่า ส่วนในเวลากลางคืนที่ไม่มีรังสีดวงอาทิตย์อุณหภูมิที่ผิววัสดุทั้งสองประเภทใกล้เคียงกัน สำหรับวัสดุที่มีพื้นผิวขรุขระจะมีอุณหภูมิที่ผิววัสดุส่วนที่นูนขึ้นสูงกว่าวัสดุที่มีผิวเรียบ แต่สำหรับพื้นผิวขรุขระในส่วนที่เว้าลงจะมีอุณหภูมิที่ผิวใกล้เคียงกับวัสดุผิวเรียบ ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเลือกใช้วัสดุปูพื้นภายนอกอาคารให้มีอุณหภูมิที่ผิวต่ำเพื่อลดความร้อนจากพื้นขณะใช้งานในช่วงเวลาต่างๆ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของวัสดุ ได้แก่ มวลสาร ความเข้มของสี และพื้นผิววัสดุ |
Other Abstract: | This research has the objective to find the design guideline for appropriate outdoor paving materials selection. This study is about the effects of mass, color intensity and texture of materials to the surface temperature of the horizontal outdoor paving materials without shading. The research method concept is to measure and record the surface temperature of the experimental materials, concrete, wood and polystyrene foam, which vary in color and texture by using the data logger. To compare with the real paving materials, c-pac block, turf stone block and living grass are tested by the same method. The results of the research show that different masses effect to the surface temperature. The rate of surface temperature increase of the high mass material is slower than the low mass material. This behavior make the surface temperature of the high mass material lower than the low mass material from 7.00 am. To 16.00 pm. The surface temperature of low mass materials is lower than the high mass material after 16.00 pm. To 07.00 am. On the next day. The different color intensity also has the strong effect to the surface temperature of materials. In the day time when there is the sun radiation the surface temperature of the high color intensity is higher than the light color intensity. But in the night time when there is no sun radiation effect the surface temperature of the two types of materials are not definitely different. The surface temperature of texture material at the raised area is higher than the smooth material but at the sunk area is approximately the same as the smooth material. This research is the design guideline for appropriate outdoor paving materials selection. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34191 |
ISBN: | 9746324411 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nisra_ar_front.pdf | 5.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisra_ar_ch1.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisra_ar_ch2.pdf | 5.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisra_ar_ch3.pdf | 11.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisra_ar_ch4.pdf | 19.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisra_ar_ch5.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisra_ar_back.pdf | 5.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.