Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34196
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัทนา อารีพรรค-
dc.contributor.authorนิสิตา ปิติเจริญธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-07T09:49:52Z-
dc.date.available2013-08-07T09:49:52Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746336649-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34196-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาและศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินคดีในขบวนการยุติธรรมต่อกรณีกระทำผิดทางเพศ ศึกษาความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางเพศและศึกษาเหตุผลที่ส่งผู้กระทำผิดทางเพศไปตรวจทางจิตเวช โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยหลายรูปแบบคือการศึกษานำร่อง การศึกษาคดีทางเพศ ณ สถานีตำรวจนครบาล 390 ราย และติดตามศึกษาในกลุ่มเดิมอย่างต่อเนื่องเพื่อทราบผลพิจารณาฟ้องคดีของอัยการตลอดจนผลการพิพากษาคดีของศาล นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมสังเกตการณ์สอบสวนคดีทางเพศของพนักงานสอบสวน ตลอดจนศึกษาผู้กระทำผิดทางเพศที่ถูกส่งตรวจ ณ โรงพยาบาลนิติจิตเวช 22 ราย โดยใช้แบบบันทึก 3 ฉบับ เพื่อกำหนดขอบเขตการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละและค่าไคสแควร์ การวิจัยพบว่าคดีทางเพศจำนวนมาก ไม่เข้าสู่ระบบการดำเนินคดีเนื่องจากผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์ประกอบกับตำรวจมักไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีประนีประนอมตกลงจ่ายค่าเสียหายมากกว่าดำเนินคดีในส่วนที่ดำเนินคดีนั้นส่วนใหญ่อัยการจะพิจารณาไม่ฟ้อง คดีที่สั่งฟ้องส่วนใหญ่เป็นคดีทางเพศที่กระทำกับเด็ก หรือในคดีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส มีการใช้อาวุธขู่เข็ญ มีผู้ร่วมกระทำมากกว่า 1 คน และในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ผลพิพากษาคดีของศาลต่อกรณีกระทำผิดทางเพศส่วนใหญ่ศาลกำหนดโทษตามกฎหมายกำหนดและบางรายศาลพิจารณาให้เพิ่มโทษ บรรเทาโทษ และรอการลงโทษ ความผิดทางเพศอาจจัดอยู่ในความผิดทางกฎหมายหลายประเภท เช่น ความผิดเกี่ยวกับเพศโดยตรง ความผิดเกี่ยวกับเพศร่วมกับความผิดอื่น ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง เช่น พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร ในความผิดลหุโทษ เช่น กระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล จากการวิจัยพบว่าบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาส่งผู้กระทำผิดไปรับตรวจทางจิตอย่างเป็นระบบ
dc.description.abstractalternativeThis research was a descriptive and qualitative data study. The objectives were to study the justice process regarding sex crimes, the penal offences concerning sex crimes, and the reasons for sending the sex criminals to get psychiatric diagnosis. Research methodology consists of a pilot study, the study of 390 sexual commissions of offence at the Metropolicetan Police Station, and the continuous study followed to realize the results of the cases issue the public procecutos orders and the judge decisions. Inaddition, the accomplished person were interviewed. Further, the holding on some sex crimes inquiries were observed. Moreover, the 22 sex crime offenders sent to Ntthichittaweat hospital were studied. The statistics were percentage and Chi-square values. According to the research findings, a large number of sex crimes were not brought to the proceeding system because the injured person did not lodge complaints, and the police prefer the indemnity payment compromise of parties more than proceed with case. In the case proceeded the public prosecutors tend to issue the non-prosecution orders. For the issue prosecution order cases, most cases were the sex crimes happening to the children, the injured getting the grievous bodily harm. For the most sex crimes sentences of the judge, the punishments were likely to be those prescribed by law. The sex crime commissions may be classified in to various types of penal offences such as the direct sex crime, the sex crime jointly occurring with offence under other laws, the offence relating to liberty and population such as the indecent act to minor person. The indecent exposure such as exhibitionism. The personnels in the justice process did not have the principles in considering the sending of the wrongdoes to get psychiatric diagnosis.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาชญากรรมทางเพศ
dc.subjectความผิดทางอาญา
dc.subjectความผิดปรกติทางเพศ
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
dc.titleวิเคราะห์ขบวนการยุติธรรมกรณีกระทำผิดทางเพศen_US
dc.title.alternativeAn analysis of justice process regarding sex crimesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตเวชศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisita_pe_front.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_pe_ch1.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_pe_ch2.pdf14.83 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_pe_ch3.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_pe_ch4.pdf11.97 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_pe_ch5.pdf16.66 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_pe_back.pdf7.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.