Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3422
Title: | ผลการดัดแปรด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ และปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยหมู่ฟอสเฟต ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย (Maranta arundinaceae L.) และสตาร์ชสาคูจีน (Canna edulis Ker.) |
Other Titles: | Effect of modification by substitution and cross-linking by phosphate groups on the physicochemical properties of Maranta arundinaceae L. and Canna edulis Ker. starches |
Authors: | นพร แซ่เบ๊, 2523- |
Advisors: | กัลยา เลาหสงคราม สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kalaya.L@Chula.ac.th Saiwarun.C@Chula.ac.th |
Subjects: | สาคูไทย สาคูจีน สตาร์ช ปฏิกิริยาการแทนที่ ฟอสเฟต |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอายุการเก็บเกี่ยว และการดัดแปรสตาร์ชด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ และปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยหมู่ฟอสเฟตต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย (Maranta arundinaceae L.) และสาคูจีน (Canna edulis Ker.) พบว่าอายุการเก็บเกี่ยวไม่มีผลต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย และสาคูจีน โดยสตาร์ชสาคูไทย และสาคูจีนที่ผลิตได้มีความบริสุทธิ์สูง (ปริมาณสตาร์ช > 95%) มีองค์ประกอบอื่นๆ อยู่น้อย มีปริมาณอะไมโลสประมาณ 38.45% และ 53.18% ตามลําดับ รูปร่าง แกรนูลของสตาร์ชสาคูไทย ค่อนข้างกลม และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-25 ?m ส่วนสตาร์ชสาคูจีนมีลักษณะเป็นวงกลม และวงรี และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-80 ?m. สตาร์ชทั้งสองชนิดมีการพองตัว และการละลายน้อย จากการศึกษาสมบัติด้านความหนืดของสารละลายสตาร์ชทั้งสองชนิดด้วย RVA พบว่าสตาร์ชสาคูไทย และสาคูจีนมีอุณหภูมิในการเกิดเจลที่ 81.6 และ 75.7 C มีความทนทานต่อแรงเฉือนและความร้อนสูง แต่มีเสถียรภาพของความหนืดลดลงที่ pH 3 และ pH 9 โดยเสถียรภาพของความหนืดที่ pH 9 ต่ำกว่าที่ pH 3 และสตาร์ชทั้งสองชนิดไม่มีความเสถียรต่อการแช่แข็ง-การละลายน้ำแข็ง เมื่อนําสตาร์ชสาคูไทย และสาคูจีนมาดัดแปรด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ โดยแปรความเข้มข้นของโซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต (STPP) ที่ 2, 4, 6% และเวลาในการทําปฏิกิริยา 1, 2, 3 ชั่วโมง พบว่าสตาร์ชสาคูไทยดัดแปรมีโครงสร้างผลึกแบบ A ซึ่งแตกต่างจากสตาร์ชธรรมชาติที่มีโครงสร้างผลึกแบบ C ส่วนสตาร์ชสาคูจีนดัดแปรมีโครงสร้างผลึกแบบ B เหมือนสตาร์ชธรรมชาติ โดยสตาร์ชที่ดัดแปรที่ความเข้มข้นของ STPP และเวลาในการทําปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น มีกําลังการพองตัว และการละลายสูงขึ้น จนถึงระดับการแทนที่หนึ่ง หลังจากนั้นสตาร์ชมีกําลังการพองตัวลดลง สตาร์ชดัดแปรมี pasting temperature ค่า peak viscosity ค่า setback ค่า enthalpy ที่ใช้ในการเกิดเจล และ % retrogradation ต่ำกว่าสตาร์ชธรรมชาติ แต่มีความทนทานต่อแรงเฉือน ความร้อน และมีเสถียรภาพต่อการแช่แข็ง-การละลายน้ำแข็งเพิ่มขึ้น เมื่อดัดแปรสตาร์ชด้วยปฏิกิริยาเชื่อมขวาง โดยแปรความเข้มข้นของโซเดียมไตรเมตาฟอสเฟต (STMP) ที่ 0.05, 0.10, 0.15% และเวลาในการทําปฏิกิริยา 1, 2.5, 4 ชั่วโมง พบว่าสตาร์ชสาคูไทยดัดแปรมีโครงสร้างผลึกแบบ A ส่วนสตาร์ชสาคูจีนดัดแปรมีโครงสร้างผลึกแบบ B โดยสตาร์ชที่ดัดแปรที่ความเข้มข้นของ STMP และเวลาในการทําปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น มีกําลังการพองตัวและการละลายต่ำลง ค่า peak viscosity ค่า setback และ %retrogradation ลดลง และมีความทนทานต่อแรงเฉือน ความร้อน ความเป็นกรด และด่างเพิ่มขึ้น ส่วนค่า enthalpy ที่ใช้ในการเกิดเจลของสตาร์ชสาคูไทยดัดแปรจะลดลง แต่สตาร์ชสาคูจีนดัดแปรไม่เปลี่ยนแปลง |
Other Abstract: | This research aimed to investigate the effects of ages of Maranta arundinaceae L. and Canna edulis Ker. and modification the starches by substitution and cross linking by phosphate groups on the physicochemical properties of these starches. The result showed that age had no effect on the physicochemical properties of Maranta and Canna starches. Maranta and Canna starches were high in purity (starch content > 95%) with small portion of other constituents. The amylose contents of these starches were 38.45% and 53.18%, respectively. The granules of Maranta starch were only spherical having diameter of 10-25 micron while Canna starch granules were spherical and oval in shape having diameter of 20-80 micron. Both starches had low swelling ability and solubility. Gelatinization temperatures of Maranta and Canna starches acquired by RVA were 81.6 and 75.7C. Both were tolerant to high temperature and shear force. From the stability test at pH 3-9, it was found that both starches had low stability at pH 3 and pH 9 with higher sensitivity at pH 9. From the freeze-thaw stability test, it showed that both starches had low freeze-thaw stability. Modification of Maranta and Canna starches by substitution was done at the concentration of sodium tripolyphosphate (STPP) at 2, 4, 6% and reaction time at 1, 2, 3 hours. It was found that the modified Maranta starch granules had the crystalline structure of A while the native starch had the structure of C. The Canna starch granules remained the same crystalline structure of B. The modified starches had a higher swelling ability and solubility up to a certain substitution level, after that the swelling decrease. Modified starches had a lower gelatinization temperature, peak viscosity, setback, gelatinization enthalpy, %retrogradation than the native starches. However, the stability to thermal, shear force and freeze-thaw increased. Cross-linking modification of both starches with sodium trimetaphosphate (STMP) at the concentration of 0.05, 0.10, 0.15% and reaction time at 1, 2.5, 4hours showed that the modified Maranta starch granules had the crystalline structure of A while the Canna remained the same crystalline structure of B. The modified starches showed to have a lower swelling ability, solubility, peak viscosity, setback and % retrogradation but higher stability to thermal (high temperature), shear force, and acidic-basic than the native starches. Gelatinization enthapy of Maranta decreased while Canna remained unchange. Freeze-thaw stability of modified starches was as low as the native starches. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีทางอาหาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3422 |
ISBN: | 9745310522 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Naporn.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.