Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorกันยารัตน์ อุ๋ยสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคใต้)-
dc.date.accessioned2013-08-08T06:32:47Z-
dc.date.available2013-08-08T06:32:47Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34282-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ การมีโรคร่วม การได้รับข้อมูลกับความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศูนย์ในภาคใต้ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ ความเชื่อ การปฏิบัติในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR–20) และใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบราคเท่ากับ.75, .78, .85 และ.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Eta และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เพศ อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. สถานภาพสมรส รายได้ การได้รับข้อมูล การมีโรคร่วม มีความสัมพันธ์กับความรู้โรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. ระดับการศึกษา รายได้ การได้รับข้อมูลมีความสัมพันธ์กับความเชื่อเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4. สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ การได้รับข้อมูลมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวเพื่อลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to 1) study stroke knowledge , belief and practice ; and 2) to study relationships among gender, age, marital status, education level, income, ,co-mobility ,receiving information. and stroke knowledge , belief and practice. The sample consisted of 400 patients diagnosed with hypertension recruited from four hospitals in the southern region. The research instruments comprised of the demographic questionnaire, stroke knowledge,belief , practices, and stroke experience questionnaire. The questionnaires were tested for their validity and reliability. The Kuder-Richardson 20 and Cronbach,s Alpha Coefficients were.75 .78 .85,and .84,respectively. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean,standard deviation,Pearson, s Product Moment coefficient ,Eta coefficient and Spearman Rank Correlation. Major findings were as follows: 1. Gender and age were not significantly correlated with stroke knowledge , belief and practice at p < .05 level. 2. Marital status, income ,receiving information, and co-mobility were significantly correlated with stroke knowledge at p < .05 level. 3. Education level , income, and receiving information were significantly correlated with stroke belief at p < .05 level. 4. Marital status, education level , income, and receiving information were significantly correlated with stroke practice at p < .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.456-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย -- ไทย (ภาคใต้)en_US
dc.subjectหลอดเลือดสมอง -- โรค -- การป้องกันen_US
dc.subjectการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยen_US
dc.subjectHypertension -- Patients -- Thailand, Southernen_US
dc.subjectCerebrovascular disease -- Preventionen_US
dc.subjectPatient educationen_US
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ภาคใต้en_US
dc.title.alternativeFactors related to stroke prevention knowledge, belief and practice in hypertensive patients, in Southern regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.456-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanyarat_ou.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.