Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34288
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพียรพรรค ทัศดร | - |
dc.contributor.author | ปทุมทิพย์ ต้นทับทิมมอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-08-08T07:03:07Z | - |
dc.date.available | 2013-08-08T07:03:07Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746336258 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34288 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดสารอะซาดิแรคตินซึ่งเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจากเนื้อในเมล็ดสะเดาและเทคนิคในการทำให้เข้มข้น ในขั้นแรกสกัดน้ำมันออกด้วยเฮกเซนในอัตราส่วนผงสะเดา 1 กรัมต่อตัวทำละลาย 10 มิลลิลิตร กวนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง กรองและแยกเค้กออกมาสกัดอะซาดิแรคตินต่อด้วยเมทานิลโดยวิธีเดียวกัน ได้สิ่งสกัดเมทานอลซึ่งมีปริมาณอะซาดิแรคติน 0.01 กรัมใน 100 กรัม ของสิ่งสกัดเมทานอล ในขั้นที่สองเป็นการทำให้ผลิตภัณฑ์อะซาดิแรคตินเข้มข้น 3 วิธี วิธีแรกเป็นการระเหยเมทานอลออกจากสิ่งสกัดภายใต้สุญญากาศได้สิ่งสกัดหยาบมีอะซาดิแรคติน 0.27 กรัมใน 100 กรัมของสิ่งสกัดหยาบ วิธีที่สองนำสิ่งสกัดหยาบมาสกัดน้ำมันที่เหลืออยู่ออกแล้วสกัดอะซาดิแรคตินด้วยไดคลอโรมีเทน นำชั้นของไคคลอโรมีเทนไประเหยตัวทำละลายออกได้ผลิตภัณฑ์เป็นของแข็งสีเหลือเขียวมีอะซาดิแรคติน 3.99 กรัม ใน 100 กรัมของผลิตภัณฑ์ วิธีที่สามดูดซับอะซาดิแรคตินจากสิ่งสกัดเมทานอลด้วยถ่านกัมมันต์ในอัตราส่วนถ่านกัมมันต์ 2.33 กรัมต่อสิ่งสกัดเมทานอล 100 มิลลิลิตร ซึ่งมีอะซาดิแรคตินอยู่ 2 มิลลิกรัม พบว่าสามารถดูดซับอะซาดิแรคตินได้ร้อยละ 97 เก็บถ่านกัมมันต์ดังกล่าวในสภาพนี้เป็นเวลา 1 เดือน โดยอะซาดิแรคตินสลายตัวน้อยมาก แต่ถ้าเก็บไว้ 5 เดือน จะเหลืออะซาดิแรคตินร้อยละ 65 เมื่อชะล้างอะซาดิแรคตินออกจากถ่านกัมมันต์นี้ด้วยไดคลอโรมีเทนแล้วระเหยไดคลอโรมีเทนออกจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นของแข็งกึ่งเหลวสีน้ำตาลมีอะซาดิแรคติน 3.16 กรัมใน 100 กรัม ผลิตภัณฑ์ การดูดซับอะซาดิแรคตินจากสิ่งสกัดเมทานอลด้วยถ่านกัมมันต์สามารถแสดงภาวะสมดุลในรูปสมการที่แสดงมิลลิกรัมของอะซาดิแรคตินต่อกรัมถ่านกัมมันต์ (Cs) ที่สัมพันธ์กับไมโครกรัมของอะซาดิแรคตินในกรัมของเมทานอล (C1) ดังนี้ Cs = C10.2 อัตราเร็วเริ่มต้นในการดูดซับอะซาดิแรคตินบนถ่านกัมมันต์ (-RA,โมล/ลิตร.นาที) แสดงในรูปสมการดังนี้ -RA = 0.02CA1.5 WB 2.5 CA คือความเข้มข้นของอะซาดิแรคตินในสิ่งสกัดเมทานิล (โมล/ลิตร) และ WB คือปริมาณกรัมของถ่านกัมมันต์ที่ใช้ต่อลิตรของสิ่งสกัดเมทานอล | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดสารอะซาดิแรคตินซึ่งเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจากเนื้อในเมล็ดสะเดาและเทคนิคในการทำให้เข้มข้น ในขั้นแรกสกัดน้ำมันออกด้วยเฮกเซนในอัตราส่วนผงสะเดา 1 กรัมต่อตัวทำละลาย 10 มิลลิลิตร กวนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง กรองและแยกเค้กออกมาสกัดอะซาดิแรคตินต่อด้วยเมทานิลโดยวิธีเดียวกัน ได้สิ่งสกัดเมทานอลซึ่งมีปริมาณอะซาดิแรคติน 0.01 กรัมใน 100 กรัม ของสิ่งสกัดเมทานอล ในขั้นที่สองเป็นการทำให้ผลิตภัณฑ์อะซาดิแรคตินเข้มข้น 3 วิธี วิธีแรกเป็นการระเหยเมทานอลออกจากสิ่งสกัดภายใต้สุญญากาศได้สิ่งสกัดหยาบมีอะซาดิแรคติน 0.27 กรัมใน 100 กรัมของสิ่งสกัดหยาบ วิธีที่สองนำสิ่งสกัดหยาบมาสกัดน้ำมันที่เหลืออยู่ออกแล้วสกัดอะซาดิแรคตินด้วยไดคลอโรมีเทน นำชั้นของไคคลอโรมีเทนไประเหยตัวทำละลายออกได้ผลิตภัณฑ์เป็นของแข็งสีเหลือเขียวมีอะซาดิแรคติน 3.99 กรัม ใน 100 กรัมของผลิตภัณฑ์ วิธีที่สามดูดซับอะซาดิแรคตินจากสิ่งสกัดเมทานอลด้วยถ่านกัมมันต์ในอัตราส่วนถ่านกัมมันต์ 2.33 กรัมต่อสิ่งสกัดเมทานอล 100 มิลลิลิตร ซึ่งมีอะซาดิแรคตินอยู่ 2 มิลลิกรัม พบว่าสามารถดูดซับอะซาดิแรคตินได้ร้อยละ 97 เก็บถ่านกัมมันต์ดังกล่าวในสภาพนี้เป็นเวลา 1 เดือน โดยอะซาดิแรคตินสลายตัวน้อยมาก แต่ถ้าเก็บไว้ 5 เดือน จะเหลืออะซาดิแรคตินร้อยละ 65 เมื่อชะล้างอะซาดิแรคตินออกจากถ่านกัมมันต์นี้ด้วยไดคลอโรมีเทนแล้วระเหยไดคลอโรมีเทนออกจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นของแข็งกึ่งเหลวสีน้ำตาลมีอะซาดิแรคติน 3.16 กรัมใน 100 กรัม ผลิตภัณฑ์ การดูดซับอะซาดิแรคตินจากสิ่งสกัดเมทานอลด้วยถ่านกัมมันต์สามารถแสดงภาวะสมดุลในรูปสมการที่แสดงมิลลิกรัมของอะซาดิแรคตินต่อกรัมถ่านกัมมันต์ (Cs) ที่สัมพันธ์กับไมโครกรัมของอะซาดิแรคตินในกรัมของเมทานอล (C1) ดังนี้ Cs = C10.2 อัตราเร็วเริ่มต้นในการดูดซับอะซาดิแรคตินบนถ่านกัมมันต์ (-RA,โมล/ลิตร.นาที) แสดงในรูปสมการดังนี้ -RA = 0.02CA1.5 WB 2.5 CA คือความเข้มข้นของอะซาดิแรคตินในสิ่งสกัดเมทานิล (โมล/ลิตร) และ WB คือปริมาณกรัมของถ่านกัมมันต์ที่ใช้ต่อลิตรของสิ | - |
dc.description.abstractalternative | In this study, the extraction of azadirachtin and concentration techniques were investigated. Azadirachtin is a natural insecticide extracted from neem seed kernel. Neem oil was first extracted from the seed using hexane at a ratio of 1 g neem seed to 10 ml of solvent by agitation for 1 h. Azadirachtin in the dried cake was subsequently extracted using methanol using similar method. The methanol extract was found to contain 0.01 g in 100 g of methanol extract. Three methods to produce concentrated azadiracht in products were investigated. The first method is the vacuum evaporation of methanol extract to produce a concentrate containing 0.27 g azadirachtin in 100 g of crude extract. The second method starts from defatting of the crude extract followed by extraction using dichloromethane and evaporation to yield a green-yellow solid product containing 3.99 g azadirachtin in 100 g. The third method involves adsorption of azadirachtin from original methanol extract by activated carbon at a ratio of 2.33 g/100 ml of the methanol extract containing 2 mg azadirachtin. It was found that 97 % of azadirachtin was adsorbed on the dried carbon powder. The adsorbed azadirachtin can be kept in a refrigerator for 1 month with negligible degradation. However, after 5 months, the azadirachtin content remained is only 65 %. The azadirachtin can be removed from the activated carbon by leaching with dichloromethane and then evaporation to yield brown semi-solid product containing 3.16 g azadirachtin in 100 g. The equilibrium relationship between azadirachtin adsorbed on activated carbon, Cs (mg azadirachtin/g activated carbon), and azadirachtin in the solution, C1 (µg azadirachtin/g methanol), can be correlated as : Cs = C1 0.2 The initial adsorption rate (-RA, mole/liter.min) can be represented by -RA = 0.02CA1.5 WB 2.5 Where CA is the azazdirachtin concentration (mole/liter) and WB is the weight of activated carbon used (g/liter methanol extract). | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | เทคนิคการทำอะซาดิแรคตินให้เข็มข้นจากสิ่งสกัดโดยวิธีการดูดซับ | en_US |
dc.title.alternative | Concentration technique for crude azadirachtin extract by adsorption | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เคมีเทคนิค | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pathumthip_to_front.pdf | 8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pathumthip_to_ch1.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pathumthip_to_ch2.pdf | 9.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pathumthip_to_ch3.pdf | 6.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pathumthip_to_ch4.pdf | 11.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pathumthip_to_ch5.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pathumthip_to_back.pdf | 11.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.